ตัดพ้อ หดหู่… ภาวะซึมเศร้า ของผู้สูงวัย ควรดูแลอย่างไรดี?

ภาวะซึมเศร้า

ภาวะซึมเศร้า เป็นโรคที่พบได้มากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน โรคที่ทำร้ายทั้งร่างกาย และจิตใจของผู้ป่วยนี้ ต้องใช้ความใส่ใจอย่างมากจึงจะสามารถสังเกตเห็นได้ ข้อมูลของกรมสุขภาพจิตระบุว่า คนไทยป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามาถึง 1.5 ล้านคน โดยส่วนใหญ่เป็นวัยทำงาน 62% ส่วนอันดับที่ตามมาอีก 26.5% นั้นเป็นวัยชรา หรือผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยมีแนวโน้มว่าอัตราผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นมากกว่าคนในกลุ่มอายุอื่น ๆ เนื่องจากผู้สูงอายุมีปัจจัยในการเกิดโรคซึมเศร้าได้ง่ายกว่ากลุ่มอายุอื่นมาก

ทดสอบอาการซึมเศร้าได้ที่ —> แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม

ซึ่งสาเหตุของโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุมักเกิดจาก…
• โรคทางกายในผู้สูงอายุ เช่น ภาวะสมองเสื่อม หลอดเลือดสมองอุดตัน เป็นต้น
• ผลข้างเคียงจากยาที่ใช้เพื่อรักษาโรคต่าง ๆ
• สารสื่อประสาทในสมองบางชนิดลดน้อยลง
• มีเหตุการณ์ร้ายแรงกระทบกระเทือนจิตใจ เช่น การสูญเสียคนที่รัก เป็นโรคร้ายแรง มีปัญหาด้านการเงิน ขาดการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัวและคนรอบข้าง

1415-ภาวะซึมเศร้า-คนแก่

รู้ได้อย่างไรว่าผู้ใหญ่ในบ้านมี ภาวะซึมเศร้า?

ผู้สูงอายุที่เป็นโรคซึมเศร้า มักมีอาการดังต่อไป

• เบื่อหน่าย สนใจสิ่งต่าง ๆ น้อยลง หรือหมดความสนใจ หมดอาลัยตายอยากในชีวิต รู้สึกหดหู่
• เศร้าเสียใจง่าย น้อยใจง่าย ร้องไห้ง่าย รวมถึงความรู้สึกท้อใจด้วย
• นอนไม่หลับ หลับ ๆตื่น ๆ ตื่นเช้ากว่าปกติ หรือนอนมากขึ้น หลับทั้งวันทั้งคืน
• เบื่ออาหาร ไม่ค่อยหิว หรืออาจกินจุขึ้น ไม่อยากกินของที่เคยชอบ หรืออาจอยากกินของที่ปกติไม่กิน
• เคลื่อนไหวช้าลง หรือเคลื่อนไหวมากขึ้น กระวนกระวาย
• อ่อนเพลียง่าย รู้สึกไม่ไม่ค่อยมีแรง อาจบ่นเกี่ยวกับอาการทางร่างกายที่ตรวจไม่พบสาเหตุ หรือมีอาการของโรคนั้น ๆ มากกว่าปกติ
• รู้สึกไร้ค่า รู้สึกผิด หรือรู้สึกแย่กับตัวเอง คิดว่าตนเองเป็นภาระของลูกหลาน ไม่มีความสามารถเหมือนเคย ความภาคภูมิใจในตัวเองลดน้อยลง
• หลงลืมบ่อย โดยเฉพาะลืมเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้น ใจลอย คิดอะไรไม่ค่อยออก มักลังเลหรือตัดสินใจผิดพลาด
• ทำร้ายตัวเอง หากผู้สูงอายุมีอาการซึมเศร้ารุนแรง อาจรู้สึกไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป นึกอยากตาย อาจคิดหรือพูดถึงความตายบ่อย ๆ และวางแผนทำร้ายร่างกายตนเองได้ เช่น สะสมยาไว้จำนวนมาก เพื่อให้กินยาเกินขนาด หรืออาจไม่ยอมกินยาประจำตัวเพื่อปล่อยให้อาการทรุดลงจนเสียชีวิต

1415-ภาวะซึมเศร้า-คนแก่-2

ผู้ใหญ่ในบ้านซึมเศร้า ควรทำอย่างไร?

1. สังเกต และติดตามพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เช่น สนใจสิ่งต่าง ๆ น้อยลง น้อยใจง่าย ดูเศร้า รู้สึกเบื่อมากหรือนานกว่าปกติ อ่อนเพลียง่าย รู้สึกไร้ค่า เป็นภาระต่อลูกหลาน บางรายอาจมีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง

2. ครอบครัว และผู้ดูแลควรมีความเข้าใจที่ถูกต้องต่อภาวะโรคซึมเศร้าก่อน กระตุ้นให้ผู้สูงอายุหันมาสนใจดูแลตัวเองมากขึ้น ด้วยการทำกิจกรรมต่าง ๆ และพยายามเป็นผู้ฟังที่ดี

3. ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง ในช่วงเริ่มแรก อาจจะยังไม่พาผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยไปเอง แต่เริ่มปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาแนวทางแก้ไขในเบื้องต้น

4. เปิดใจคุยกับผู้สูงอายุว่าโรคนี้ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ใคร ๆ ก็เป็นได้ แต่เป็นแล้วต้องรีบรักษาให้หาย

5. พาผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง

6. ผู้ดูแลควรพยายามกระตุ้นให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง เพื่อลดความรู้สึกเป็นภาระให้ลูกหลาน โดยอาจเริ่มจากกิจกรรมดูแลตัวเองง่ายๆ เช่น ให้ทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ด้วยตัวเอง

7. ครอบครัว และผู้ดูแลต้องแข็งแกร่ง มีจิตใจที่เข้มแข็ง มีความอดทนในการดูแลอย่างเพียงพอ เพราะผู้สูงอายุบางรายอาจโวยวายอาละวาด เอาแต่ใจ กลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง ควรพูดคุยด้วยท่าทีที่อ่อนโยน และควบคุมอารมณ์ของตัวเองให้ได้

หากผู้สูงอายุภายในบ้านมีอาการที่เข้าข่ายภาวะ ซึมเศร้า ให้รีบพาไปพบจิตแพทย์เพื่อทำการรักษา ควรสังเกตและเอาใจใส่ความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุให้มากขึ้นกว่าปกติ ทั้งนี้ ครอบครัวและผู้ดูแลสามารถเข้ารับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญได้

ถามหมอออนไลน์ ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close