8 โรคเด็กที่มากับการเล่นน้ำ และวิธีเสริมภูมิลูกก่อนไปเล่นน้ำสงกรานต์

โรคเด็กที่มากับการเล่นน้ำ

เทศกาลสงกรานต์ทั้งที เด็ก ๆ ก็อยากออกไปสนุกสนานเล่นน้ำกับเพื่อน ๆ ส่วนคนเป็นพ่อเป็นแม่ก็อาจจะรู้สึกเป็นห่วงว่าลูกจะป่วยกลับมาบ้านหรือเปล่า และจะเสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง? วันนี้ GED good life ขอให้คุณพ่อ คุณแม่ระวัง! 8 โรคเด็กที่มากับการเล่นน้ำ พร้อมแนะวิธีเสริมภูมิลูกรักก่อนออกไปสาดน้ำช่วงสงกรานต์นี้

8 โรคเด็กที่มากับการเล่นน้ำ

1. โรคไข้หวัด (Common Cold)

โรคที่เด็ก ๆ เป็นกันบ่อยที่สุด มักเกิดจากเชื้อไวรัสที่ลอยอยู่ในอากาศเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ยิ่งไปเล่นน้ำในสถานที่แออัด ยิ่งเสี่ยงเป็นหวัดได้มากขึ้น ประกอบกับอากาศร้อนในช่วงเดือนเมษายน อาจกระตุ้นให้ลูก ๆ มีไข้ตัวร้อนได้ง่าย

อาการหวัด

  • คัดจมูก น้ำมูกไหล
  • มีไข้
  • เจ็บคอ
  • เบื่ออาหาร

การรักษา

  • กินยาลดไข้บรรเทาหวัด เช่น ยาพาราเซตามอล หรือยาแก้หวัดสูตรผสม สำหรับเด็กที่มีอายุ 7-12 ปี
  • นอนพักผ่อนให้มาก ๆ
  • หากผ่านไป 3-4 วัน อาการลูกยังไม่ดีขึ้น ควรพาไปพบแพทย์

อ่านเพิ่มเติม -> โรคไข้หวัด โรคยอดฮิตตลอดปี มีอาการยังไง เป็นกี่วันหาย กินยาอะไรดี?

2. หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน (Acute Otitis Media)

เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของหูชั้นกลางซึ่งอยู่ระหว่างหูชั้นนอกกับหูชั้นใน พบบ่อยในเด็กเล็ก โดยพบมากที่สุดในช่วงอายุ 6-20 เดือน

อาการหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน

  • มีไข้ร่วมกับตรวจพบเยื่อแก้วหูแดง และบวม
  • มีน้ำหนอง เลือด หรือหนองปนเลือดไหลออกจากหู
  • บางรายอาจมีอาการปวด และกดเจ็บบริเวณกระดูกกกหู

การรักษา

  • มีการรักษาทั้งการให้ยาหรือผ่าตัด จึงควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย และการรักษาที่ถูกต้อง

3. คออักเสบ (Pharyngitis)

เป็นภาวะอักเสบของเนื้อเยื่อในลำคอที่อยู่บริเวณหลังช่องปาก พบได้บ่อยโดยเฉพาะในเด็ก อาการของโรคอาจไม่รุนแรงเท่าไหร่ และสามารถหายได้เองภายในไม่กี่วันถ้าเกิดการติดเชื้อไวรัส แต่ถ้าเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียอาจทำให้มีอาการนานกว่า (คออักเสบส่วนใหญ่กว่า 90% เกิดจากเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัด)

อาการคออักเสบ

  • มีอาการเจ็บคอเล็กน้อยถึงปานกลาง
  • มีไข้ต่ำ ๆ ปวดศีรษะเล็กน้อย
  • เป็นหวัด น้ำมูกใสไหล
  • หากการอักเสบมาจากเชื้อแบคทีเรีย จะทำให้กลืนน้ำ กลืนอาหารลำบาก มีไข้สูง และอาจพบต่อมน้ำเหลืองโต

การรักษา

  • พักผ่อนให้เพียงพอ และดื่มน้ำให้มาก ๆ หรือจิบน้ำอุ่นผสมน้ำผึ้งมะนาวได้ทั้งวัน
  • รับประทานอาหารอ่อน ๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก น้ำซุป เป็นต้น
  • กลั้วคอด้วยน้ำเกลือวันละ 2-3 ครั้ง เพื่อให้ช่องปากสะอาด และชุ่มชื้น
  •  ถ้ามีไข้สูงให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว หลีกเลี่ยงการอาบน้ำเย็น และกินยาแก้ปวด ลดไข้
  • พบแพทย์ หากมีเสมหะเป็นสีเหลืองเขียว หายใจหอบเหนื่อย มีไข้สูง

4. ปอดบวม (Pneumonia)

เป็นโรคที่มีการติดเชื้อหรืออักเสบของปอด เกิดได้จากเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรืออาจเป็นโรคแทรกซ้อนที่เกิดตามหลังไข้หวัดได้เช่นกัน

อาการโรคปอดบวม

  • มีไข้ น้ำมูกไหล
  • ไอมีเสมหะ
  • หายใจเร็ว หายใจลำบาก
  • เด็กบางคนอาจมีอาการ ปวดท้อง อาเจียน ถ่ายเหลว

การรักษา

  • มีอาการไข้สูง ไอ หายใจเร็ว ควรพาไปรับการรักษาจากแพทย์ อาจให้ยาปฏิชีวนะติดต่อกัน 5-7 วัน
  • หากเด็กหายใจแรงจนชายโครงบุ๋ม ออกซิเจนในเลือดต่ำ ควรได้รับการรักษาในโรงพยาบาล

5. โรคตาแดง จากเชื้อไวรัส (Hemorrhagic Conjunctivitis)

โรคตาแดงมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งทำให้เยื่อบุตาอักเสบ และน้ำที่ใช้เล่นกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ก็อาจไม่ได้สะอาดแบบน้ำดื่ม หรือน้ำอาบ ทำให้มีโอกาสติดเชื้อไวรัส เป็นโรคตาแดงได้สูง โดยเฉพาะในเด็กมีภูมิคุ้มกันน้อย ร่วมกับการดูแลตนเอง หรือการป้องกันการติดเชื้อไม่ดีพอ จึงทำให้เป็นโรคตาแดง ได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่

อาการตาแดง

  • เยื่อบุตาและตาขาวอักเสบ
  • เคืองตาน้ำตาไหล
  • มักจะเริ่มเป็นที่ตาข้างหนึ่งก่อน แล้วจึงติดต่อมาอีกข้างหนึ่ง
  • บางรายอาจมีไข้

การรักษา

  • ใช้ยาหยอดตา หรือป้ายตากลุ่มยาปฏิชีวนะ ตามคำแนะนำของแพทย์ หรือเภสัชกร

6. ท้องร่วง ท้องเสีย (Diarrhea)

ในช่วงอากาศร้อน ๆ มีโอกาสติดเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียซึ่งทำให้ท้องร่วงได้ง่าย และหากลูกไปเที่ยว สงกรานต์ กินอาหาร ดื่มน้ำไม่สะอาดเข้าไป ยิ่งทำให้เสี่ยงกับโรคท้องร่วงได้มากขึ้น อาการท้องเสียเฉียบพลันมักหายได้เองภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์ ถ้านานกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป ถือเป็นภาวะอุจจาระร่วงยืดเยื้อ หรือเรื้อรัง

อาการท้องร่วง

  • อาเจียน
  • ถ่ายเหลวมากหลายครั้ง
  • มีไข้
  • อาจมีอาการหวัด อาการไอร่วมด้วย

การรักษา

  • ให้ดื่มน้ำเกลือแร่ ORS เมื่อเด็กถ่ายอุจจาระทุกครั้ง
  • ให้อาหารและนมตามปกติ ไม่จำเป็นต้องงดอาหาร
  • เด็กโตให้อาหารอ่อน ย่อยง่าย ไม่ต้องให้ยาเพื่อรักษาท้องร่วง
  • ถ้าอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน ควรพาเด็กไปพบแพทย์

อ่านเพิ่มเติม -> เด็กท้องเสีย มีสาเหตุจากอะไร พ่อแม่รับมือยังไงดี?

7. โรคผิวหนังอักเสบจากแสงแดด หรือ โรคแพ้แสงแดด (Photodermatoses) 

กรมการแพทย์ เตือน! แสงแดดที่จ้า และมลภาวะต่าง ๆ เป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคผิวหนังได้ง่าย การเล่นสาดน้ำในช่วงเทศกาลสงกรานต์จึงมีความเสี่ยงที่ได้รับอันตรายจากแสงแดดได้ ซึ่งหากรักษาไม่ถูกวิธีจะส่งผลให้เกิดปัญหาผิวอื่น ๆ ตามมา

อาการโรคผิวหนังอักเสบจากแสงแดด

  • ผิวจะเปลี่ยนเป็นสีแดง
  • มีอาการแสบผิวเป็นอย่างมาก
  • ผิวจะกลายเป็นสีคล้ำ และเริ่มมีอาการคันเมื่อผ่านไปหนึ่งวัน

การรักษา

  • ไม่ควรทำทรีตเมนต์ หรือทาไวเทนนิง หลังผิวหนังไหม้แดดในช่วงแรก เพราะจะเกิดการระคายเคืองและทำให้ผิวดำกว่าเดิม
  • ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังโดยตรง

อ่านเพิ่มเติม -> 6 โรคผิวหนังหน้าร้อน ที่คนไทยต้องระวัง! พร้อม 10 วิธีดูแลผิวหนังโดยกรมการแพทย์

8. โรคลมแดด (Heatstroke)

คือภาวะที่อุณหภูมิในร่างกายสูงเกิน 40.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไป และไม่สามารถระบายความร้อนออกได้ทันท่วงที ฉะนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการเล่นน้ำในช่วงกลางวัน

อาการโรคลมแดด

  • อุณหภูมิร่างกายสูงเกินกว่า 40.5 องศาเซลเซียส
  • มีอาการสับสน กระสับกระส่าย พูดอ้อแอ้ หงุดหงิด
  • ระยะต้น ๆ มักมีเหงื่อออกมาก
  • อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ
  • หายใจเร็ว
  • หัวใจเต้นเร็ว ชัก

การรักษา

  • ย้ายลูกมานอนราบในที่ร่ม ถอดเสื้อผ้าออก ยกเท้าสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
  • ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น หรือน้ำแข็งประคบตามซอกตัว คอ รักแร้ เชิงกราน ศีรษะ ร่วมกับใช้พัดลมช่วยเป่า หรือเทน้ำเย็นราดลงบนตัว หรือเปิดแอร์เพื่อลดอุณหภูมิของร่างกายให้ต่ำลงโดยเร็วที่สุด
  • รีบนำส่งโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษา
  • ในผู้ที่มีอาการไม่มาก ควรให้ดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ

อ่านเพิ่มเติม -> ฮีทสโตรก (Heatstroke) ภัยร้ายหน้าร้อน อันตรายถึงชีวิตได้! สาเหตุ อาการ วิธีปฐมพยาบาล

เคล็ดลับ! เด็ก ๆ ควรเตรียมพร้อมอย่างไรก่อนออกไปเล่นน้ำสงกรานต์

  • ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงก่อนไปเผชิญกับผู้คนที่แออัด
  • พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรพาเด็ก ๆ ไปเล่นน้ำในช่วงเย็น เพราะอากาศไม่ร้อนมากเท่าช่วงบ่าย
  • เด็ก ๆ ไม่ควรเล่นน้ำนานเกิน 1 ชั่วโมง ส่วนผู้ใหญ่ไม่ควรเกิน 4 ชั่วโมง
  • เด็ก ๆ ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่เบา สบาย และรองเท้าแตะควรเลือกใส่แบบปิดหน้าเท้า
  • ป้องกันน้ำไม่ให้เข้าตาเด็ก ๆ ด้วยการสวมแว่นตากันน้ำ
  • หลังเล่นน้ำเสร็จควรรีบกลับบ้านมาอาบน้ำ เพื่อชำระล้างเชื้อโรคที่อาจติดตัวเด็ก ๆ มา
  • พักผ่อนให้เพียงพอ

นูโทรเพล็กซ์ โอลิโก พลัส เสริมภูมิต้านทานเด็ก

นูโทรเพล็กซ์ โอลิโก พลัส เสริมภูมิต้านทานเด็ก

NUTROPLEX OLIGO PLUS ( นูโทรเพล็กซ์ โอลิโก พลัส ) วิตามินรวมสำหรับเด็ก ที่มีส่วนผสมของมัลติวิตามิน ใยอาหารธรรมชาติ กระตุ้นการขับถ่าย เสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย นูโทรเพล็กซ์ โอลิโก พลัส มี ไลซีน ช่วยเพิ่มความอยากอาหารของเด็ก สำหรับเด็กที่กินน้อย กินยาก ไม่ได้กินอาหารครบหมู่ หรือ ไม่กินผักผลไม้เป็นประจำได้ทุกวัน

นูโทรเพล็กซ์ โอลิโก พลัส เป็นวิตามินรวมสำหรับเด็กตัวเดียวที่มี “ธาตุเหล็ก” ซึ่งมีส่วนเสริมสร้างและพัฒนาสมอง

นูโทรเพล็กซ์ โอลิโก พลัส มี Oligofructose ซึ่งมีคุณสมบัติเป็น Prebiotic และใยอาหารจากธรรมชาติ ที่ช่วยในการปรับสมดุลย์ด้านระบบทางเดินอาหาร และเพิ่มกากใยให้กับระบบทางเดินอาหาร ป้องกันท้องผูกได้ดี

สั่งซื้อ NUTROPLEX OLIGO PLUS ได้ที่นี่

• แอดไลน์ ID : @nutroplexclub
• Inbox Facebook : https://www.facebook.com/nutroplexclub

หรือสั่งซื้อตามร้านขายยาชั้นนำ เช่น Boots, Health up, Fascino, P&F, Pure, Save Drug, D Chain, Tesco (แผนกร้านขายยา), Drug Core, I Care, Drug Square, Ameditec และทาง ออนไลน์ Konvy.com

 

อ้างอิง : 1. สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย 2. รพ. แมคคอร์มิค 1/2 3. รพ. สินแพทย์ 4. รพ. ราชวิถี 5.

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close