แค่หายใจก็ติดได้… เชื้อร้าย “วัณโรค”

วัณโรค

วัณโรค (Tuberculosis) ในสมัยโบราณเรียกกันว่า ฝีในท้อง (ซึ่งในสมัยก่อน วัณโรค ถือว่าเป็นโรคติดต่อที่น่ารังเกียจมาก ถึงขั้นไร้ญาติขาดมิตรเลยทีเดียว) เป็นโรคติดเชื้อเรื้อรัง ที่เกิดจากเชื้อวัณโรค และสามารถแพร่ให้คนที่อยู่ใกล้ชิดได้อย่างง่ายดาย ในสมัยโบราณ ผู้ที่ป่วยเป็นวัณโรค มักจะเสียชีวิต แต่ในปัจจุบัน โรคนี้สามารถรักษาจนหายขาดได้ แต่ก็ถือว่า เป็นโรคติดต่อที่พบได้บ่อย และมักพบในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเอดส์ ผู้ที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำ และผู้ที่มีฐานะยากจน หรืออยู่กันอย่างแออัด

สาเหตุของ วัณโรค

เกิดจากการติดเชื้อไมโครแบคทีเรียมทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium Tuberculosis) ที่มีการเจริญเติบโต หรือแบ่งตัวช้ากว่าแบคทีเรียชนิดอื่น ๆ มีหลายสายพันธุ์ ที่ก่อให้เกิดวัณโรคได้ แต่สายพันธุ์ที่พบได้บ่อย และก่อปัญหาให้กับมนุษย์มากที่สุดคือ เชื้อ ไมโครแบคทีเรียมทูเบอร์คูโลซิส หรือ เชื้อเอเอฟบี ซึ่งสามารถแพร่กระจายในอากาศ และติดต่อจากคนสู่คนได้

การติดต่อของเชื้อวัณโรค มักจะติดเชื้อผ่านทางการหายใจ สูดเอาเชื้อในฝอยละอองเสมหะขนาดเล็ก ที่ผู้ป่วยปล่อยออกมา จากการไอ จาม พูด หัวเราะ ร้องเพลง หรือหายใจ เชื้อจะเข้าไปภายในปอด และต่อมน้ำเหลืองที่ขั้วปอด และอาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะอื่น ๆ ได้ทั่วร่างกาย แต่พบที่ปอดได้บ่อยที่สุด และมีความสำคัญมากที่สุด เนื่องจากเชื้อจะสามารถแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้ โดยการ ไอ และเชื้อจะสามารถอยู่ในอากาศได้นานหลายชั่วโมงผู้ที่จะรับเชื้อได้ ในปริมาณที่มากพอจนติดโรคได้ คือผู้ที่ต้องอยู่ใกล้ชิด หรือสัมผัสกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อวัณโรคเป็นเวลานาน โดยผู้ที่ร่างกายอ่อนแอ จะสามารถติดเชื้อวัณโรค ได้ง่ายกว่าผู้ที่ร่างกายแข็งแรงมาก


อาการของวัณโรค

เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อวัณโรคแล้ว โดยส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการทันที เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันจะทำหน้าที่ป้องกันการจู่โจมของเชื้อในร่างกาย จึงทำให้เชื้อค่อย ๆ พัฒนาอย่างช้า ๆ อาจใช้เวลานานหลายสัปดาห์ ไปจนถึงหลายปี กว่าอาการของโรค จะเริ่มแสดงอาการออกมาให้เห็น ซึ่งอาการของวัณโรค สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระยะใหญ่ ๆ คือ

• วัณโรคระยะแฝง (Latent TB) คือ ระยะที่เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อแล้ว แต่ยังไม่มีอาการแสดงใด ๆ เนื่องจากเชื้อยังไม่ได้รับการกระตุ้น แต่เชื้อยังคงอยู่ในร่างกาย และสามารถก่อให้เกิดอาการป่วย จนเข้าสู่ระยะแสดงอาการได้ โดยผู้ป่วย 90% จะไม่มีอาการแสดง และไม่สามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ แต่อีกประมาณ 10% ที่เหลือจะป่วยเป็นวัณโรค

ผู้ป่วยกลุ่มนี้ ครึ่งหนึ่งจะมีอาการของโรค ภายใน 2 ปี และอีกครึ่งหนึ่ง จะเกิดอาการหลังจากติดเชื้อภายใน 10 ปี และหากไม่ได้รับการรักษา ผู้ป่วยมากกว่าครึ่ง จะเสียชีวิตภายใน 2 ปีวัณโรค

• วัณโรคระยะแสดงอาการ (Active TB) คือ ระยะที่เชื้อวัณโรค ได้รับการกระตุ้นจนแสดงอาการออกมา ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่วงสัปดาห์แรก ๆ จนถึงหลายปีหลังได้รับเชื้อ โดยส่วนใหญ่แล้ว วัณโรคจะแสดงอาการที่ปอด หรือวัณโรคปอด โดยผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคปอด จะมีอาการแสดงที่สำคัญคือ มีไข้ และ ไอเรื้อรัง นานหลายสัปดาห์ ถึงหลายเดือน

เริ่มแรก ผู้ป่วยจะมีอาการคล้าย ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หรือหลอดลมอักเสบ โดยที่มีอาการไอเป็นหลัก ระยะแรกจะไอแห้ง ๆ ก่อนจะไอมีเสมหะสีเหลืองหรือเขียว มักมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้ต่ำ ๆ ในช่วงบ่าย อ่อนเพลีย หรือเบื่ออาหารร่วมด้วย และอาจมีอาการเหงื่อออกชุ่มในตอนกลางคืน

ผู้ป่วยจะมีอาการเรื้อรังเนื่อง 2-3 สัปดาห์ ก่อนที่อาการไอจะถี่ขึ้น ความอยากอาหารลดลง และน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว โดยไม่ทราบสาเหตุ อาจไอออกมาเป็นเลือดได้ แต่มักจะออกมาในปริมาณไม่มาก


ภาวะแทรกซ้อนของวัณโรค

มักเกิดขึ้นจากการรักษาที่ล่าช้า หรือการรักษาที่ไม่ต่อเนื่อง เมื่อเกิดขึ้น จะมีอาการตั้งแต่ไม่รุนแรง ไปจนถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ โดยภาวะแทรกซ้อน ที่มักพบในผู้ป่วยวัณโรค ได้แก่

  • ภาวะมีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด
  • ภาวะมีลมในโพรงเยื่อหุ้มปอด
  • ถุงลมปอดโป่งพอง
  • ฝีในปอด
  • ไอออกเป็นเลือดมากจนช็อก

นอกจากนี้ เชื้อวัณโรคอาจกระจายผ่านกระแสเลือด หรือระบบน้ำเหลือง จนทำให้กลายเป็นวัณโรคอวัยวะต่าง ๆ ได้ เช่น วัณโรคเยื่อหุ้มสมอง วันโรคต่อมน้ำเหลือง วัณโรคกล่องเสียง วัณโรคเยื่อหุ้มหัวใจ วัณโรคลำไส้ วัณโรคไต วัณโรคกระดูก เป็นต้น

วัณโรค

การป้องกันวัณโรค

• ฉีดวัคซีนบีซีจี หรือวัคซีนป้องกันวัณโรค โดยฉีดให้ทารกตั้งแต่แรกเกิดทุกราย จะเกิดภูมิคุ้มกันหลังได้รับวัคซีนประมาณ 4-6 สัปดาห์ และอยู่ไปได้นาน 10-15 ปี สามารถ ป้องกันวัณโรค ได้สูงถึง 60-90%

• รักษาสุขภาพให้แข็งแรง กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ งดสูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ใช้ยาเสพติด หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงเชื้อเอชไอวี และตรวจสุขภาพและเอกซเรย์ปอดทุกปี

• หากมีอาการผิดปกติ ที่สงสัยว่าจะเป็นวัณโรค เช่น ไอเรื้อรัง ไอเกิน 2 สัปดาห์ ไอมีเลือด มีไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด หอบ เหนื่อยง่าย เจ็บหน้าอก เหงื่อออกมากตอนกลางคืน ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อตรวจร่างกาย ถ้าพบว่าเป็นวัณโรค จะได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆสามารถป้องกันไม่ให้โรคลุกลาม และแพร่เชื้อไปให้ผู้อื่นได้วัณโรค• ผู้ที่ป่วยเป็น วัณโรค เมื่อกินยาแล้วอาการดีขึ้น ไม่ควรหยุดยาเอง เพราะการกินยาไม่สม่ำเสมอ หรือกินยาไม่ครบตามที่แพทย์สั่ง อาจทำให้เชื้อดื้อยา ทำให้รักษาให้หายได้ยากกว่าเดิม และอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงตามมาได้

• ขณะที่ผู้ที่ป่วยไอ หรือจาม ควรใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชู่ปิดปากทุกครั้ง ควรบ้วนเสมหะลงในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด และถ้าเป็นไปได้ ควรนำเสมหะไปเผาไฟหรือฝังดินเพื่อกำจัดเชื้อวัณโรค

• ถ้าอยู่บ้านเดียวกับผู้ป่วยวัณโรค ควรดูแลให้ผู้ป่วย ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ในช่วงที่ผู้ป่วยกินยารักษาวัณโรค ได้ไม่ถึง 2 สัปดาห์ หรือยังไม่หายจากอาการไอ ให้หลีกเลี่ยงการนอนในห้องเดียวกับผู้ป่วย ถ้าจำเป็นต้องดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ก็ควรสวมหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อเสมอ

• สำหรับผู้ปกครองที่ป่วยเป็นวัณโรค ควรแยกออกห่างจากลูก ไม่กอดจูบลูก สำหรับคุณแม่ไม่ควรให้ลูกดูดนมตัวเอง จนกว่าจะตรวจไม่พบเชื้อ

• หากผู้ป่วยมีแผนย้ายที่อยู่ ระหว่างทำการรักษา ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อที่แพทย์จะได้วางแผนการรักษา ให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

ข้อควรรู้ ! 24 มีนาคม  คือวัน “วัณโรคสากล”


ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ยาละลายเสมหะ เพื่อบรรเทาอาการไอ

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : gedgoodlife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : gedgoodlife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close