ลูกอึแข็ง ถ่ายยาก : สาเหตุ อาการ และวิธีป้องกัน

ลูกอึแข็ง ถ่ายยาก

ลูกอึแข็ง ถ่ายยาก อาจเป็นอาการ สัญญาณของอาการท้องผูก แต่จะรู้ได้ยังไงว่าตอนนี้ลูกเข้าข่ายมีอาการท้องผูกแล้ว สาเหตุ อาการท้องผูกเกิดจากอะไร จะป้องกันได้อย่างไร มาดูกัน

รู้ได้อย่างไรว่าลูก “ท้องผูก”

บางครั้งลูกก็อาจมีอาการถ่ายยากบ้างในบางครั้ง แต่ไม่ถือว่าเป็นอาการท้องผูก แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงของการถ่ายอุจจาระชั่วคราว หากลูกเคยถ่ายอุจจาระทุกวัน แต่เริ่มไม่ถ่ายทุกวัน แต่อุจจาระยังคงเป็นเนื้อนิ่ม และไม่มีอาการอื่นใด กินนมได้ น้ำหนักขึ้นได้ดี ก็ยังถือว่าปกติ ไม่ใช่อาการท้องผูก

ท้องผูก มีอาการอย่างไร ?

จะบอกได้ว่าลูกมีอาการท้องผูกหรือไม่ ต้องดูดังนี้

  • เด็กถ่ายอุจจาระเป็นก้อนแข็ง ต้องออกแรงเบ่งมาก ถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลามากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป
  • ถ่ายยาก ถ่ายลำบาก ต้องเบ่งนาน
  • อึแข็ง ถ่ายยาก ถ่ายเป็นก้อนเล็ก ๆ เหมือนขี้แพะ
  • รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด
  • มีความรู้สึกว่าถ่ายไม่ออก เนื่องจากมีสิ่งอุดกั้นบริเวณทวารหนัก
  • บางครั้งอุจจาระที่แข็งก้อนใหญ่จะถ่างรูทวารหนักจนฉีกขาดเป็นแผลเจ็บ มีเลือดออก เป็นแผลเจ็บ

เด็กควรถ่ายอุจจาระบ่อยแค่ไหน ?

เด็กแรกเกิด อาจถ่ายมากกว่า 4 ครั้งใน 1 วัน สำหรับเด็กที่กินนมแม่ อุจจาระจะมีลักษณะนิ่ม เละ ๆ สีเหลืองท้อง ถ้ากินนมผง จะถ่ายเป็นลำยาว นิ่ม สีเขียวเทา ๆ

อายุ 4 เดือนขึ้นไป อาจไม่ได้ถ่ายถี่เท่าเดิม แต่อาจลดเหลือ 2 ครั้ง ใน 1 วัน
เด็ก

เด็กอายุ 4 ขวบขึ้นไป อาจถ่ายวันละ 1 ครั้ง


สาเหตุอาการท้องผูก ลูกอึแข็ง ถ่ายยาก

อาการท้องผูกในเด็กส่วนใหญ่ร้อยละ 90 ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของลำไส้ หรือสาเหตุอื่นใด แต่เกิดจากสภาพแวดล้อม อาหารการกิน การใช้ชีวิต เช่น

  • กินนมมากเกินไป ทำให้ท้องอืด เพราะนมไม่มีเส้นใยอาหาร
  • กินยาก เลือกกิน ไม่ชอบกินอาหารที่มีใยอาหาร เช่น ไม่กินผัก ผลไม้
  • กลั้นอุจจาระจนเคยชิน เมื่อเริ่มโต เด็กอาจกลั้นอุจจาระ เพราะห่วงเล่น หรือเพราะต้องรีบไปโรงเรียนแต่เช้าจนไม่มีเวลาเข้าห้องน้ำ หรือ ไม่กล้าเข้าห้องน้ำที่โรงเรียน
  • มีประสบการณ์เจ็บก้น เพราะถ่ายอุจจาระแข็งก้อนใหญ่

ลูกอึแข็ง ถ่ายยาก


วิธีป้องกันอาการท้องผูก ลูกอึแข็ง ถ่ายยาก

ดื่มน้ำให้เพียงพอ เด็ก ๆ จะไม่ค่อยดื่มน้ำ การดื่มน้ำดีต่อร่างกาย ระบบขับถ่าย ควรให้เด็ก ๆ ดื่มน้ำอย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน หรือ 1.5-2 ลิตร

กินใยอาหารให้เพียงพอ ใยอาหารมีหลากหลายชนิด แต่ใยอาหารชนิดละลายน้ำจะช่วยการขับถ่ายได้ดี เพราะอุ้มน้ำทำให้อุจจาระนิ่ม เคลื่อนตัวได้ง่าย พบได้ในใยอาหารจากผลไม้ เช่น ลูกพรุน แอบเปิ้ล กล้วย ส้ม ข้าวโอ๊ต เป็นต้น

ออกกำลังกาย เคลื่อนไหวร่างกาย การออกกำลังกาย เดิน วิ่ง หรือ ท่าบริหารหน้าท้อง จะช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ได้ ช่วยป้องกันอาการท้องผูก

ดื่มนมน้อยลง ถ้าดื่มนมมากเกินไป อาจต้องลดปริมาณนมลง เพราะอาจทำให้ท้องผูกได้ ควรให้กินอาหารที่มีเส้นใยมากขึ้น เช่น ผัก ผลไม้

ฝึกนิสัยการขับถ่าย ฝึกวันละ 1-2 ครั้ง เช้าและเย็น ฝึกโดยนั่งถ่ายนาน 5-10
นาที ควรฝึกหลังกินอาหารเสร็จเพราะการกินอาหารจะกระตุ้นให้ล้ำไส้ใหญ่บีบตัว ช่วยให้ถ่ายอุจจาระง่ายขึ้น

ฝึกท่านั่งถ่ายให้ถูกต้อง ท่านั่งถ่ายที่ถูกต้อง คือ ท่าที่เด็กสามารถใช้เท้ายันพื้นได้ ถ้าโถชักโครกสูงมากจนเท้าของเด็กลอยสูงจากพื้น ควรนำเก้าอี้เล็ก ๆ วางเสริมให้สูงจากพื้นจนเท้าเด็กวางได้บนเก้าอี้ ไม่ควรฝึกการขับถ่ายด้วยความเข้มงวด ในเด็กเล็กที่กลัวการนั่งถ่ายมาก ควรเริ่มต้นฝึกโดยนั่งถ่ายบนตักของแม่ และให้แม่อุ้มปลอบ


Nutroplex Oligo Plus วิตามินสำหรับเด็ก มีใยอาหารธรรมชาติ

วิตามินรวม Nutroplex มี Oligofructose เป็นใยอาหารจากธรรมชาติ ช่วยเพิ่มกากใยในระบบทางเดินอาหาร กระตุ้นการทำงาน และการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่ดีในลำไส้ เหมาะมาก ๆ กับเด็กที่มีปัญหาท้องผูก และเด็ก ๆ ที่ไม่ชอบกินผัก เพียงทานวันละช้อน

Nutroplex Oligo Plus ไม่ใช่ยาระบาย คุณแม่สามารถให้ลูก ๆ ทานต่อเนื่องได้ทุกวัน


ลูกอึแข็ง ถ่ายยาก

Nutroplex Oligo Plus ช่วยดูแลระบบขับถ่าย

  • ช่วยแก้ปัญหาท้องผูกเรื้อรัง
  • ช่วยให้อุจจาระนุ่ม
  • ทำให้อึง่าย ถ่ายคล่อง
  • ช่วยให้ระบบขับถ่ายกลับมาเป็นปกติ

ขนาดและวิธีการทาน 

เด็กอายุ 1-3 ปี รับประทานวันละ : ½ ช้อนชา
เด็กอายุ 3-6 ปี รับประทานวันละ : 1 ช้อนชา
เด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป และ ผู้ใหญ่ รับประทานวันละ : 2 ช้อนชา

Nutroplex สามารถทานติดต่อได้เรื่อย ๆ ไม่สะสมของตกค้างในร่างกาย

สั่งซื้อ Nutroplex Oligo Plus ได้แล้ว
แอดไลน์ ID : @nutroplexclub

ที่มา : (1) (2) (3)


ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close