โรคกรดไหลย้อน กับ โรคแพนิค สัมพันธ์กันอย่างไร ปรับชีวิตยังไงดี?

โรคกรดไหลย้อน กับ โรคแพนิค

ชาวกรดไหลย้อนเคยสังเกตกันไหมว่า เมื่อมีอาการท้องอืด แสบร้อนกลางอก ก็มักจะรู้สึกหงุดหงิดง่าย ควบคุมอารมณ์ยาก ตื่นตระหนก ทำให้เกิดคำถามว่า “มันเกิดอะไรขึ้นกับเรากันแน่?” สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ อาการของกรดไหลย้อนนั้น สามารถก่อให้เกิด “โรคแพนิค” หรืออาการทางจิตได้เช่นกัน ตกใจใช่ไหมล่ะ? งั้นมาดูคำตอบกันสิว่า โรคกรดไหลย้อน กับ โรคแพนิค สัมพันธ์กันอย่างไร ควรปรับชีวิตอย่างไรดี?

ทำความรู้จักกับ โรคกรดไหลย้อน กับ โรคแพนิค กันสักเล็กน้อย

• โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) – เป็นภาวะที่กรด หรือน้ำย่อยในกระเพาะไหลย้อนกลับมาในหลอดอาหาร จนทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร โดยผู้ป่วยจะรู้สึกแสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว และคลื่นไส้ รู้สึกจุกเสียดแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ และรู้สึกเหมือนมีอะไรติดคออยู่ตลอดเวลา มีน้ำรสเปรี้ยว หรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก

• โรคแพนิค (Panic Disorder) – หรือโรคตื่นตระหนก เป็นโรควิตกกังวลประเภทหนึ่งที่เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติ (Automatic Nervous System) ทำงานผิดปกติ โดยระบบประสาทนี้เป็นระบบที่ควบคุมการทำงานของร่างกายหลายส่วน จึงทำให้เกิดอาการหลายอย่างร่วมกัน เช่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมาก ท้องไส้ปั่นป่วน วิงเวียน ซึ่งอาการจะเกิดขึ้นแบบฉับพลันแม้ไม่มีสาเหตุ หรือมีเรื่องให้ต้องตกใจ

อาการป่วยแพนิค เนื่องจากกรดไหลย้อนเรื้อรัง

  1. มีอาการหายใจไม่อิ่ม หายใจไม่สุด
  2. แน่นหน้าอก รู้สึกใจหวิว ๆ ใจไม่ดี
  3. กลืนอาหารลงไปแล้วเหมือนมันจุก ๆ อยู่ตรงลิ้นปี่
  4. น้ำหนักลด เบื่ออาหาร
  5. บางคนตื่นกลัว (Panic attack) ชอบคิดอะไรไปเอง และเริ่มซึมเศร้า
  6. มีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร และกรดไหลย้อนมาก่อน เช่น ท้องอืด จุกแน่นและแสบร้อนบริเวณกลางอก

โรคกรดไหลย้อน กับ โรคแพนิค

โรคกรดไหลย้อน กับ โรคแพนิค สัมพันธ์กันอย่างไร?

สาเหตุที่ 2 โรคนี้สัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดนั้น ก็เพราะว่า กระเพาะ ลำไส้ และสมอง เชื่อมโยงกัน ถ้ากระเพาะป่วยก็ชวนสมองป่วยไปด้วยกัน ลำไส้เชื่อมโยงถึงไขสันหลังและสมอง เป็นระบบประสาทส่วนกลางที่เชื่อมโยงถึงกัน จึงมีประโยคที่ว่า “อารมณ์แจ่มใสเพราะสุขภาพลำไส้ดี”

NIH หรือ national library of medicine (หอสมุดแห่งชาติด้านการแพทย์) ประเทศอเมริกา ได้เผยว่า โรคกรดไหลย้อนสามารถนำไปสู่ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าไดั และในทางกลับกัน ความผิดปกติทางจิตใจก็สามารถนำไปสู่อาการกรดไหลย้อนได้เช่นกัน และยังมีผลวิจัยอีกว่า ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ามีแนวโน้มที่จะเป็นโรคกรดไหลย้อนมากกว่าผู้ที่ไม่มีภาวะซึมเศร้าถึง 1.7 เท่า

ฉะนั้นถ้าเราสังเกตอาการที่เกี่ยวกับช่องท้องของเราให้ดี เช่น วันไหนที่เรามีอาการท้องอืด ก็จะคิดอะไรไม่ค่อยออก ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ รู้สึกหงุดหงิด ซึ่งส่งผลระยะยาวต่อโรคที่เกี่ยวกับจิตเวช (Mental disorders) ได้อย่างไม่รู้ตัว เช่น โรคซึมเศร้า โรคแพนิค เป็นต้น

9 วิธีรับมือ โรคกรดไหลย้อน และ โรคแพนิค

ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบประสาท มีความสัมพันธ์กับระบบทางเดินอาหารอย่างมาก การดูแลสุขภาพองค์รวม (โดยเฉพาะอาหารการกิน) จึงเป็นสิ่งสำคัญ เริ่มด้วยการฟื้นฟูการทำงานของระบบทางเดินอาหาร การฟื้นฟูอวัยวะที่เสื่อม หรือมีการอักเสบให้กลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีวิธีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. รับประทานอาหารที่สะอาด ปลอดจากสารปนเปื้อน ช่วยป้องกันความเสียหายของเซลล์เยื่อบุผิว

2. ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน จะช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ง่ายขึ้น ย่อยดีขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารที่ย่อยยาก และอาหารปนเปื้อนทั้งจากสารเคมี หรือเชื้อโรค อาหารที่มีแป้ง

3. รับประทานอาหารตามช่วงเวลา และความต้องการของร่างกาย เพื่อไม่ให้ทางเดินอาหารทำงานหนักเกินไป

4. ไม่กินแล้วนอนเลย เราควรเลี่ยงการกินอาหารก่อนนอนสัก 4 ชั่วโมง เพื่อให้ระบบย่อยอาหารได้ทำการย่อยอาหารก่อน ถ้าเรานอนทันทีหลังกิน ก็จะเกิดกรดไหลย้อนขึ้นมาได้

5. การดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว การสวนล้างลำไส้ การอดเพื่อล้างพิษ การรับประทานผักอย่างเพียงพอ ช่วยให้ระบบทางเดินอาหารได้กำจัดของเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6. เลี่ยงอาหารที่ทำให้เราแพ้ เพราะ การแพ้อาหารอาจเป็นสาเหตุสำคัญของระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดการย่อยไม่ดี ไม่สบายท้อง

7. จัดระเบียบวางแผนการใช้ชีวิตใหม่ ถ้ารู้ตัวว่าทำงานหนัก เรียนหนักเกินไป จนทำให้รู้สึกเครียดติดต่อกัน ต้องปรับปรุงใหม่ พักกายพักใจบ้าง ด้วยการทำสมาธิสัก 5-10 นาที ก่อนเข้านอน

8. ออกกำลังกายบ้าง เพราะการออกกำลังกายช่วยกระตุ้นให้ดื่มน้ำมากขึ้น ร่างกายจึงขับสารพิษออกได้ง่าย และการออกกำลังกายยังช่วยกระตุ้นให้สมองหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุข เช่น โดพามีน (Dopamine)

9. อย่าไปกลัว อย่าไปคิดอะไรเอง เพราะโรคแพนิคยิ่งเรากลัว ยิ่งคิดไปเอง ยิ่งเป็นตัวกระตุ้นทำให้ภาวะแพนิคกำเริบได้บ่อย ต้องอย่าไปคิดถึงอาการของโรค พยายามไม่คิดมาก และควรปรับปรุงพฤติกรรมการกินตามที่กล่าวไปข้างต้น

ควรไปหาหมอด้านไหนก่อน ระหว่าง หมอโรคกระเพาะกับหมอจิตเวช?

ก่อนจะเดินทางไปพบแพทย์ แนะนำให้โทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิตที่เบอร์ 1323 (ปรึกษาได้ตลอด 24 ชั่วโมง) เพื่อรับคำแนะนำเบื้องต้นก่อน หรืออาจเริ่มต้นด้วยการไปพบแพทย์ทางเดินอาหาร เพื่อรับคำวินิจฉัย และการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี อย่าลืมว่า เมื่อไหร่ที่อาการกรดไหลย้อนดีขึ้น สุขภาพจิตก็จะดีตาม

 

อ้างอิง : 1. goodlifeupdate 2. sikarin 3. พท.ว.ภ.อุไรศรี 4. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค 5. NIH  6. หมอเฉพาะทางบาทเดียว 7. ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close