GEDไว้แก้จุกเสียด ท้องอืดก่อนเป็นประจำเดือนทำอย่างไรดี?

อาการท้องอืด แน่นท้อง ก่อน เป็น ประจำเดือน

บทความโดย เภสัชกร ธร อำนวยผลวิวัฒน์

อาการก่อนเป็นประจำเดือนมีหลายอาการ ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล และบางครั้งอาการที่เกิดขึ้นในคนเดียวกันแต่ละเดือนก็อาจไม่เหมือนกันได้ โดยอาการที่พบได้บ่อย สามารถจำแนกกลุ่มอาการดังนี้

อาการก่อนเป็นประจำเดือนทางด้านร่างกาย สิวขึ้น น้ำหนักเพิ่ม ความอยากอาหารเพิ่มขึ้น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ  คัดตึงเต้านม  มือบวม เท้าบวม ปวดท้อง ท้องอืด ท้องผูก หรือท้องเสีย

อาการก่อนเป็นประจำเดือนทางด้านพฤติกรรม อาจมีอาการเหล่านี้ เช่น  รู้สึกเหนื่อยง่าย ขาดสมาธิ หลงลืมบ่อย อารมณ์ทางเพศลดลง

อาการก่อนเป็นประจำเดือนทางด้านอารมณ์ เช่น รู้สึกเครียด เหงา สับสน กังวล หดหู่ เศร้า อยากร้องไห้ อารมณ์แปรปรวน ควบคุมอารมณ์ลำบาก หงุดหงิด

สาเหตุของอาการก่อนมีประจำเดือน

  • จากสารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมน ชื่อว่า โพรสตาแกลนดิน (prostaglandin)  ระหว่างมีประจำเดือน โพรสตาแกลนดินทำให้กล้ามเนื้อบีบตัวและหดเกร็ง
  • การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน จากระดับฮอร์โมนลดลงประมาณ 1 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน ซึ่งอาจทำให้มีอาการปวดท้องน้อย หงุดหงิดง่าย
  • การเปลี่ยนแปลงสาร เซโรโทนิน (Serotonin) เป็นสารสื่อประสาทที่ส่งผลต่อสภาวะทางอารมณ์ อาจทำให้เกิดอาการก่อนเป็นประจำเดือนได้ หากพบว่าระดับเซโรโทนินต่ำ มีแนวโน้มทำให้นอนไม่หลับ  รู้สึกหงุดหงิด ความรู้สึกอยากอาหารเพิ่มขึ้น แต่หากระดับเซโรโทนินสูง มีแนวโน้มทำให้เกิดอาการครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดศีรษะ ท้องเสีย เป็นต้น

วิธีช่วยลดโอกาสการเกิดอาการก่อนมีประจำเดือน มีด้วยกันหลายวิธี เช่น

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยลดอาการก่อนมีประจำเดือน  รวมถึงช่วยลดอาการท้องอืดลง
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน
  • ลดการทานอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี เช่น ข้าวขาว น้ำตาล ขนมปัง เนื่องจากเมื่อทานแล้วจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกายหลั่งอินซูลินมาก ส่งผลให้ไตขับโซเดียมออกจากร่างกายได้ลดลง นำมาซึ่งอาการบวมน้ำและท้องอืดตามมา
  • ลดโซเดียม ลดอาหารรสเค็ม เช่น เกลือ น้ำปลา อาหารแช่แข็ง อาหารกึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น

วิธีรับมือเมื่อเกิดอาการมีหลายวิธี เช่น

  • ใช้ยาบรรเทาตามอาการที่เกิดขึ้น เช่น ยากลุ่ม ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS) เพื่อบรรเทาอาการปวดท้องน้อย ,ยาลดกรด-ขับลม แก้จุกเสียด เพื่อลดอาการท้องอืด แน่นท้อง โดยสามารถปรึกษาแพทย์ เภสัชกรก่อนเริ่มทานยา
  • ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม เพื่อปรับระดับฮอร์โมนในร่างกายให้สมดุล โดยสามารถปรึกษาแพทย์ เภสัชกรก่อนเริ่มใช้ยา
  • รู้เท่าทันทางด้านอารมณ์ หากรบกวนการใช้ชีวิตควรเข้าพบแพทย์
  • ประคบอุ่นบริเวณท้องน้อยเมื่อมีอาการปวดท้อง เป็นต้น

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close