สาเหตุกรดไหลย้อน กรดไหลย้อนกินน้ําอะไรได้บ้างที่ช่วยบรรเทาอาการ

28 มิ.ย. 24

ดร. นิติ สันแสนดี
อาจารย์พิเศษ ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์สุขภาพ

[H2] ทำความรู้จัก โรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน(Gastroesophageal Reflux Disease หรือ GERD) เป็นภาวะที่กรดจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับเข้าสู่หลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการไม่สบายและอาการเจ็บปวดเมื่อกรดสัมผัสกับเนื้อเยื่อในหลอดอาหาร เกิดจากหูรูดส่วนล่างของหลอดอาหารคลายตัวผิดปกติ ทำให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร ซึ่งอาจทำให้เกิดการระคายเคืองและอักเสบของหลอดอาหารได้

การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตสามารถช่วยบรรเทาอาการและป้องกันการเกิดกรดไหลย้อนได้ สำหรับคำถามที่ว่า กรดไหลย้อนกินน้ำอะไรได้บ้าง ควรดื่ม น้ำเปล่า น้ำมะพร้าว หรือสมุนไพรบางชนิด เช่น ขิง ที่ไม่เป็นกรด ซึ่งช่วยบรรเทาอาการได้ ส่วนเครื่องดื่มที่ควรหลีกเลี่ยงคือ กาแฟ น้ำอัดลม และน้ำผลไม้ที่มีกรดสูง

อาการของกรดไหลย้อน เป็นอย่างไร

อาการที่พบบ่อยของกรดไหลย้อนรวมถึงอาการเผาไหม้ที่หน้าอก (Heartburn) และการเรอบ่อย เรอเปรี้ยว (Acid Regurgitation) คลื่นไส้ (Nausea) เจ็บคอ (Sore Throat) ไอเรื้อรัง (Chronic Cough) เสียงแหบ (Hoarseness) อาจมีอาการเสียดแทงในลำคอหรือรู้สึกคล้ายมีอะไรติดอยู่ในคอได้ แสบร้อนกลางอก (Heartburn)

อาหารที่คนเป็นกรดไหลย้อน ไม่ควรกิน

ผู้ที่เป็นกรดไหลย้อนควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ส่งเสริมการสร้างกรดหรือทำให้เกิดการระคายเคืองในหลอดอาหาร เช่น อาหารมันและอาหารรสจัด

  • อาหารไขมันสูง สามารถเพิ่มความดันในกระเพาะอาหารและทำให้กรดไหลย้อนมากขึ้น จะทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวช้าลงและเพิ่มการผลิตกรดในกระเพาะอาหารควรหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ เช่น ชีส และของทอด
  • อาหารที่มีแก๊สมาก เช่น ถั่วและบล็อกโคลี จะทำให้กระเพาะอาหารขยายตัวและเพิ่มแรงดันในกระเพาะอาหารอาจทำให้เกิดอาการท้องอืดซึ่งเสริมสร้างอาการกรดไหลย้อนได้
  • ผลไม้ที่มีกรดสูง เช่น ส้มและมะนาว จะทำให้กระเพาะอาหารขยายตัวและเพิ่มแรงดันในกระเพาะอาหาร อาจทำให้เกิดการระคายเคืองในหลอดอาหารซึ่งไม่เหมาะสำหรับผู้ที่มีกรดไหลย้อน
  • ผักที่มีกรดแก๊สมาก เช่น หัวหอมและกระเทียม ควรหลีกเลี่ยงเพราะอาจทำให้เกิดอาการไม่สบายท้องได้
  • อาหารหมักดอง เช่น กะหล่ำดอง จะมีกรดสูงและมีแก๊สมาก สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่ออาการกรดไหลย้อนได้
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีไขมันสูง เช่น น้ำมันปลา ทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวช้าลงและเพิ่มการผลิตกรดในกระเพาะอาหาร อาจทำให้เกิดกรดไหลย้อนเพิ่มขึ้น ควรเลือกอาหารเสริมที่มีไขมันต่ำ
  • การเคี้ยวหมากฝรั่ง อาจทำให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารขยายตัว ซึ่งอาจทำให้กรดไหลย้อนมากขึ้น

วิธีบรรเทาอาการกรดไหลย้อนให้ดีขึ้น

1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

การรักษาที่สำคัญอยู่ที่ผู้ป่วย คือควรปฏิบัติตน ดังนี้ พฤติกรรมการบริโภค ไม่ควรรับประทานอาหารแต่ละมื้อในปริมาณมากเกินไป ควรรับประทานบ่อยครั้งๆละน้อย รับประทานอาหารมื้อเล็ก ๆ และบ่อยขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารประเภททอด อาหารไขมันสูง อาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด  หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำชา กาแฟ น้ำอัดลม หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารก่อนนอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง ยกศีรษะให้สูงขึ้นขณะนอนหลับ การลดน้ำหนักหากมีน้ำหนักเกิน งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ สวมเสื้อผ้าที่ไม่รัดแน่นบริเวณหน้าท้อง ดื่มน้ำมากๆ ในแต่ละวัน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

2. การรักษาด้วยยา

กรณีปรับพฤติกรรมแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรใช้ยาร่วมด้วย ควรรับประทานยาตามกำหนดอย่างเคร่งครัด และถ้ามีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ปัจจุบันยาที่ได้ผลดีที่สุด คือ ยาลดกรดในกลุ่มยับยั้งโปรตอนปั๊ม (Proton pump inhibitors) นอกจากนี้จะมียายับยั้งการหลั่งกรดชนิดออกฤทธิ์เร็ว ได้แก่ กลุ่มยาลดกรดที่บรรเทาอาการแสบร้อนได้ทันที เช่น ยาลดกรดชนิดน้ำ หรือ ยาลดกรดสูตรผสมชนิดเม็ด ไม่ต้องเคี้ยว

ซึ่งสะดวกกว่าแบบเคี้ยว คือ กลุ่มสูตรผสม อลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (aluminium hydroxide) แมกนีเซียมคาร์บอเนต (magnesium carbonate) และ ไซเม็ททิโคน (simethicone) เสริมประสิทธิภาพในการขับลม ท้องอืด แน่นท้อง หรือผลิตภัณฑ์กลุ่มเจลที่ใช้สารทำให้เกิดเจล (โซเดียมอัลจิเนต) และอาจผสมสารสกัดธรรมชาติ เช่น สารสกัดชะเอมเทศ GLYCYRRHIZA GLABRA (Root)  สารสกัดจากบิลเบอร์รี่ VACCINIUM MYRTILLUS L. (Fruit)

3. การรักษาโดยการผ่าตัด

ใช้ในกรณีที่รักษาด้วยยาไม่ได้ผล หรือมีภาวะแทรกซ้อน อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดซ่อมแซมหูรูด โรคกรดไหลย้อน เป็นความผิดปกติที่เกิดจากการมีกรดในกระเพาะอาหารไหลขึ้นมาสู่หลอดอาหาร เป็นผลมาจากการทำหน้าที่ของกล้ามเนื้อหูรูดส่วนล่างหย่อนตัวลง ทำให้มีน้ำย่อยหรือกรดไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหารเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม เช่น รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา ทานของเปรี้ยว เผ็ด ดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม สูบบุหรี่ และรับประทานอาหารแล้วนอนทันที ไม่ได้รอให้อาหารเคลื่อนตัวลงไปยังกระเพาะ

ซึ่งโดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง การรักษาอันดับแรกคือ ต้องควบคุมอาหาร อาหารจำพวก อาหารเปรี้ยว เผ็ด ชา กาแฟ น้ำอัดลม ของมัน ของทอด ควรงดน้อยลง และเมื่อรับประทานอาหารแล้ว อย่าพึ่งล้มตัวลงนอน ต้องเว้นไว้อย่างน้อย 3 ชั่วโมง ให้อาหารเคลื่อนตัวไปยังกระเพาะให้เรียบร้อยก่อน

คำถามและอาหารที่พบบ่อยของผู้เป็นโรคกรดไหลย้อน (Q&A) 

    1. Q: เป็นกรดไหลย้อนกินน้ำขิงได้ไหม

          A: ได้ น้ำขิงสามารถช่วยบรรเทาอาการได้ในบางคน แต่แนะนำให้บริโภคในปริมาณเล็กน้อยเพราะอาจมีผลกระทบได้เช่นกัน

    1. Q เป็นกรดไหลย้อนกินน้ำเต้าหู้ได้ไหม

         A: ได้ น้ำเต้าหู้เป็นแหล่งโปรตีนที่ดีและมีไขมันต่ำ น้ำเต้าหู้ถือเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่มีกรดไหลย้อน เนื่องจากเป็นแหล่งโปรตีนที่ย่อยง่าย แต่ควรตรวจสอบว่าไม่มีส่วนผสมที่เป็นกรด

    1. Q เป็นกรดไหลย้อนกินไข่ต้มได้ไหม

          A: ได้ ไข่ต้มเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีและมีไขมันต่ำ

    1. Q เป็นกรดไหลย้อนกินถั่วได้ไหม

          A: ได้ ถั่วเป็นแหล่งโปรตีนและใยอาหารที่ดี แต่ควรเลือกถั่วที่ไม่มีไขมันสูง 

เอกสารอ้างอิง

  1. ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยฯ. คู่มือการจัดทำแนวทางเวชปฏิบัติ. 2561.
  2. สมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อนในประเทศไทย พ.ศ. 2563 (Thailand GERD guideline 2020). กรุงเทพฯ: พริ้นท์เอเบิ้ล; 2563.
  3. Aziz Q, Fass R, Gyawali CP, Miwa H, Pandolfino JE, Zerbib F. Functional Esophageal Disorders. Gastroenterology. 2016;1368-79.
  4. Iqbal M, Batch AJ, Spychal RT, Cooper BT. Outcome of surgical fundoplication for extraesophageal (atypical) manifestations of gastroesophageal reflux disease in adults: a systematic review. J Laparoendosc Adv Surg Tech A. 2008;18(6):789-96.
  5. Hong SJ, Park SH, Moon JS, Shin WG, Kim JG, Lee YC, et al. The benefits of combination therapy with Esomeprazole and Rebamipide in symptom improvement in reflux esophagitis: An international multicenter study. Gut Liver. 2016;10(6):910-6.
  6. Moloy PJ, Charter R. The globus symptom. Incidence, therapeutic response, and age and sex relationships. Arch Otolaryngol. 1982;108(11):740-4.
  7. Timon C, O’Dwyer T, Cagney D, Walsh M. Globus pharyngeus: long-term follow-up and prognostic factors. Ann Otol Rhinol Laryngol. 1991;100(5 Pt 1):351-4.
  8. Vakil N, van Zanten SV, Kahrilas P, Dent J, Jones R, Global Consensus G. The Montreal definition and classification of gastroesophageal reflux disease: a global evidence-based consensus. Am J Gastroenterol. 2006;101(8):1900-20; quiz 43.
  9. Yamasaki T, Fass R. Noncardiac chest pain: diagnosis and management. Curr Opin Gastroenterol. 2017;33(4):293-300.

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save