แม่ไม่สบาย ไอ เจ็บคอ เป็นห่วงลูกน้อยจัง ทำไงดีนะ?

แม่ไม่สบาย ไอ เจ็บคอ

ในช่วงที่อากาศเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาแบบนี้ อาจทำให้ แม่ไม่สบาย ไอ เจ็บคอ และเป็นไข้หวัดได้ง่าย แต่เพราะว่ากำลังตั้งครรภ์อยู่ การจะกินยาแก้ไอ แก้หวัด ก็ต้องเช็คให้ชัวร์ที่สุดว่าปลอดภัยต่อลูกน้อยหรือไม่  ลองมาดูกันดีกว่าว่า ทำอย่างไร ถึงจะช่วยบรรเทาอาการไอ เจ็บคอ ให้คุณแม่ได้บ้าง…

Solmax ยาละลายเสมหะ เพื่อบรรเทาอาการไอ

แม่ไม่สบาย ไอ เจ็บคอ ระหว่างตั้งครรภ์ ควรทำอย่างไรดี?

เมื่อคุณแม่มีอาการ ไอ จาม เจ็บคอ ในระหว่างที่ตั้งครรภ์ อาจมีผลกระทบต่อลูกในท้องได้ โดยอาการไอนี้ คุณแม่บางคน อาจไอแห้ง ๆ ไม่ยอมหยุด เป็นทั้งตอนกลางวัน และกลางคืน แต่คุณแม่ก็อย่าเพิ่งกังวลจนเกินไป เพราะความเครียดจะส่งผลกระทบเพิ่มไปถึงลูกได้อีก ระหว่างนี้ ไม่ควรหายากินเอง ควรไปปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจดูอาการ และรับยาที่เหมาะสมกับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์

โรคที่ทำให้เกิดอาการ ไอ ไอแห้ง เจ็บคอ ระหว่างตั้งครรภ์

• โรคภูมิแพ้ อาการไอแห้ง เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้อยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่จะบอบบางกว่าเดิม อาการดังกล่าวจึงเกิดง่ายขึ้น แม้ว่าจะมีการป้องกันแล้วก็ตาม

• โรคหืด มักเกิดในคุณแม่ตั้งครรภ์ ที่เคยมีประวัติการเป็นโรคหืด หรือเป็นโรคภูมิแพ้มาก่อน และมักจะแสดงอาการอีกครั้ง เมื่อได้รับสารกระตุ้นการก่อให้เกิดภูมิแพ้ เช่น ขนสัตว์ ฝุ่น หรืออาหารบางชนิด

• โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน อาจเกิดขึ้นจากการที่ คุณแม่บางคนอาจจะสูบบุหรี่จัด ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ หรือได้รับสิ่งกระตุ้นอย่าง ควัน ฝุ่นละออง หรือได้รับเชื้อหวัด เป็นต้น

• โรคจมูก หรือไซนัสอักเสบ ร้อยละ 20-40 ของคุณแม่ตั้งครรภ์ มักพบแพทย์ ด้วยอาการเยื่อบุจมูกอักเสบ ไซนัส และเลือดกำเดาไหล ซึ่งเกิดขึ้นจากอิทธิพลของฮอร์โมนเอสโตรเจน ส่งผลกระตุ้นระบบประสาทที่มาเลี้ยงเยื่อบุจมูก ทำให้เส้นเลือดในเยื่อบุจมูกขยายตัว กระตุ้นการทำงานของต่อมสร้างน้ำมูก ทำให้โรคทางจมูก หรือไซนัสที่เป็นอยู่แล้ว มีอาการแย่ลงได้

วิธีบรรเทาอาการ ไอ เจ็บคอ แบบไม่ต้องง้อยา!

• ดื่มน้ำมาก ๆ พยายามไม่ให้ร่างกายขาดน้ำระหว่างตั้งครรภ์

• พักผ่อนให้เพียงพอ การนอนทำให้ร่างกายได้ซ่อมแซมตัวเอง และเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด ระหว่างที่ป่วย จึงควรพักผ่อนให้มากกว่าปกติ

• รักษาสุขภาพเป็นอย่างดี กินอาหารที่มีประโยชน์

• หากโดนฝน หรือมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว รวมถึงมีอาการเจ็บคอร่วมด้วย ให้ดูแลตัวเองเบื้องต้นก่อน ด้วยการนอนพักผ่อน จิบน้ำอุ่น ๆ ไม่ดื่มน้ำเย็น ไม่ทานของหวาน

• ช่วงที่เจ็บคอ ควรปรับมากินอาหารรสชาติอ่อน ๆ กลืนง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ซุปข้าวโพด หรือแกงจืด เป็นต้น

แม่ไม่สบาย ไอ เจ็บคอ เครื่องดื่มสมุนไพร ช่วยได้!

  • ขิง+น้ำผึ้ง+น้ำมะนาว : ผสมน้ำขิง 1 ช้อนชา น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา กับน้ำร้อน 1 ถ้วยตวง และบีบน้ำมะนาวลงไปครึ่งลูก น้ำผึ้งมีคุณสมบัติคล้ายกับยาปฏิชีวนะ สามารถช่วยกำจัดเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย ที่ก่อให้เกิดความระคายในคอได้ ส่วนวิตามินซีในน้ำมะนาว ทำให้ช่องคอโล่งขึ้น
  • น้ำผึ้ง+น้ำมะนาว : ผสมน้ำผึ้งครึ่งช้อนโต๊ะ กับน้ำมะนาว 1 ลูก ลงในน้ำอุ่น 1 แก้ว สามารถช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นในลำคอได้ หรือสามารถใช้น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา ผสมกับน้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ แล้วค่อยๆ หยดลงในลำคอระหว่างวัน เพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอ และยังช่วยให้ทานอาหารได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
  • น้ำมะนาว+น้ำอุ่น : ผสมน้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ กับน้ำอุ่น 1 แก้ว แล้วดื่มให้หมด วิตามินซีในน้ำมะนาว จะช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัส ที่ทำให้เกิดการระคายเคืองในคอ รวมถึงช่วยบรรเทาอาการไอ ได้เป็นอย่างดี
  • น้ำอุ่น+เกลือป่น : ผสมเกลือป่น ¼ ช้อนชา ลงในน้ำอุ่น 1 แก้ว ใช้สำหรับกลั้วคอในตอนเช้า หรือในช่วงที่ เจ็บคอมาก สูตรนี้จะช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในลำคอ ได้เป็นอย่างดี
  • มะนาว+เกลือป่น : มะนาว 1 ผล นำมาล้างผิวให้สะอาด ผ่านให้เป็นแผ่นบาง ๆ โรยเกลือป่นเล็กน้อย เป็นมะนาวจิ้มเกลือ สำหรับกินระหว่างวัน ทำให้ชุ่มคอ ลดอาการเจ็บคอ และบรรเทาอาการไอแห้ง

หากรักษาอาการในเบื้องต้นแล้ว แต่อาการเจ็บคอยังไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์ ไม่ควรซื้อยามากินเองเด็ดขาด

การดูแลสุขภาพให้ดีอยู่เสมอ ย่อมมีชัยไปกว่าครึ่ง ถึงจะมีอาการเจ็บป่วยบ้าง ก็จะไม่เป็นมากนัก เพราะเราได้สร้างภูมิคุ้มกันไว้ดีแล้ว คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรใส่ใจ ดูแลตัวเองให้ดีที่สุดในช่วงนี้ เพื่อสุขภาพคุณแม่เอง และทารกในครรภ์


ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ยาละลายเสมหะ เพื่อบรรเทาอาการไอ

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GedGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close