ยาขับเสมหะ VS ยาละลายเสมหะ เมื่อลูกมีอาการไอ เลือกกินยาแบบไหน?

เห็นลูกไอบ่อยๆ เป็น ๆ หาย ๆ ไอเรื้อรัง อาจเกิดจากการมีเสมหะคั่งค้างในหลอดลม ผลเสียจากการมีเสมหะคั่งค้างมีมากกว่าที่คิด เพราะเสมหะเป็นแหล่งเพาะเชื้อ บางรายไอมากจนปวดท้อง ถ้าลูกมีอาการไอมีเสมหะจนต้องกินยา ยาขับเสมหะ กับ ยาละลายเสมหะ ต่างกันยังไง คุณแม่ควร เลือกยาแก้ไอแบบไหนให้ลูก

ยาละลายเสมหะ

ยาแก้ไอสำหรับอาการไอมีเสมหะ

ยาแก้ไอสำหรับอาการไอแบบมีเสมหะ อาจแบ่งย่อยออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

1. ยาขับเสมหะ (Expectorants) ที่ออกฤทธิ์โดยทำให้ร่างกายสร้างสารน้ำออกมาหล่อเลี้ยงทางเดินหายใจมากขึ้น

2. ยาละลายเสมหะ (Mucolytics) ที่ออกฤทธิ์ต่อเสมหะโดยตรง และทำให้เสมหะข้นเหนียวน้อยลง

ซึ่งยาทั้งสองจะช่วยให้เด็ก หรือ คนที่มีอาการไอขับเสมหะออกมาได้ง่ายขึ้น แต่คุณแม่มักสงสัยว่า แล้วยาสองอย่างต่างกันอย่างไร


ยาแก้ไอขับเสมหะ และ ยาละลายเสมหะ ต่างกันอย่างไร?

ยาแก้ไอขับเสมหะ หรือ ยาขับเสมหะ (Expectorants)

การออกฤทธิ์ ยาขับเสมหะ คือ กระตุ้นต่อมสร้างน้ำ และของเหลว ที่มีอยู่ในระบบทางเดินหายใจ (ปกติ น้ำและของเหลวเหล่านี้ ทำหน้าที่หล่อลื่นทางเดินหายใจ และดักจับสิ่งแปลกปลอม) ทำให้มีการหลั่งสารน้ำ และของเหลว ออกมาในระบบทางเดินหายใจมากขึ้น

ดังนั้นในช่วงแรกที่กินยา บางคนอาจรู้สึกว่า เสมหะกลับมีเพิ่มมากขึ้นได้ แต่ลักษณะความเหนียวของเสมหะนั้น ลดลง จึงช่วยทำให้การกำจัดเสมหะ ทำได้ง่ายมากขึ้น หลังจากนั้น เสมหะจะค่อยๆลดลง

ยากลุ่มนี้มีหลายตัว แต่มักอยู่ในรูปของยาสูตรผสมกัน มากกว่า เช่น Potassium guaiacolsulphonate, Ammonium chloride/carbonate (Ammon carb), Guaifenesin , ชะเอมเทศ , มะขามป้อม, มะแว้ง เป็นต้น

ยาละลายเสมหะ (Mucolytics)

กลไกออกฤทธิ์ยาละลายเสมหะ คือ ทำปฏิกิริยากับเสมหะ ทำให้การยึดจับกันของเสมหะลดลง จึงแตกตัว ทำให้ความเหนียวของเสมหะลดลง เสมหะก็ถูกขับออกมาได้ง่าย ตัวอย่างกลุ่มยาละลายเสมหะ ได้แก่

– คาร์โบซีสเทอีน (Carbocysteine) สำหรับตัวยานี้ ตัวยาจะไปออกฤทธิ์ทำให้โมเลกุลของเสมหะมีขนาดเล็กลง ความเหนียวข้นของเสมหะลดลง ทำให้ผู้ป่วย หรือ เด็ก ๆ ไอเอาเสมหะออกมาง่ายขึ้น

– แอมบรอกซอล (Ambroxol) ยาจะกระตุ้นทำให้ enzyme ที่มีฤทธิ์ทำให้เสมหะแตกตัวได้ หลั่งออกมามากขึ้น ช่วยลดการยึดเกาะของเสมหะ กับผนังหลอดลม ทำให้การกำจัดเสมหะทำได้ดีมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

– บรอมเฮกซีน (Bromhexine) เป็นยาที่มีผลการออกฤทธิ์เหมือน Ambroxol อาจพบผลข้างเคียงได้บ้างเล็กน้อย หากใช้ยาไปแล้ว มีอาการบวมที่ผิวหนัง หรือคัน ต้องหยุดยาทันที แล้วรีบไปพบแพทย์

– อะเซทิลซิสเทอีน Acetylcysteine (N-AcetylCysteine หรือ NAC) ออกฤทธิ์โดยตรงต่อเสมหะ ยาจะเข้าไปทำลายการจับยึดเกาะกันของโมเลกุลเสมหะ ทำให้เสมหะอ่อนตัว จึงถูกขับออกมาได้ง่าย

ติดตามบทความสุขภาพของลูกน้อยจากเพจ Nutroplex —> คลิกเลย ที่นี่

ยาละลายเสมหะ


สรุปความแตกต่างของยาขับเสมหะ และ ยาละลายเสมหะ

ลักษณะของยา ยาขับเสมหะ  ยาละลายเสมหะ 
การใช้ ใช้บรรเทาอาการไอที่มีเสมหะ ใช้บรรเทาอาการไอที่มีเสมหะ
การออกฤทธิ์ ทำให้ร่างกายสร้างน้ำ และของเหลวมากขึ้น สารน้ำทำให้เสมหะหนืดลดลง สามารถไอเอาเสมหะออกได้ง่ายขึ้น ออกฤทธิ์กับเสมหะโดยตรง ทำลายโครงสร้างของเสมหะส่วนที่ทำให้เสมหะเหนียว แต่ไม่ได้ไปเพิ่มปริมาณของเสมหะ
ปริมาณเสมหะขณะใช้ยา มีปริมาณเสมหะ และ มีอาการไอมากขึ้นในช่วงแรก ไม่มีเสมหะมากขึ้นขณะใช้ยา
อาการข้างเคียง อาการข้างเคียงที่อาจเกิดจากยา คือ คลื่นไส้ อาเจียน ปั่นป่วน ไม่สบายกระเพาะอาหาร อาการข้างเคียงน้อยมาก แต่ก็เคยมีรายงานว่าเกิดมีเลือดออกในทางเดินอาหาร

เรียบเรียงจาก : ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


เมื่อลูกมีอาการไอมีเสมหะ เลือกยาแก้ไอแบบไหนดี?

เลือกใช้ยาละลายเสมหะ เด็กที่มีอาการไอ ไอมีเสมหะ การให้ยาแก้ไอชนิดกดการไอ จะยิ่งมีผลเสียเพราะเสมหะคั่งค้าง แต่ยาแก้ไอที่มีฤทธิ์ขยายหลอดลม หรือ ยาละลายเสมหะ จะได้ผลดี แต่การใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกรเพื่อการใช้ยาที่เหมาะสม

เลือกยาแก้ไอสำหรับเด็ก ยาแก้ไอสำหรับเด็ก ช่วยให้เด็กกินยาง่ายขึ้น เพราะในยาแก้ไอมักแต่งกลิ่นผลไม้ มีรสหวาน กินง่าย เพราะเด็กเล็กส่วนใหญ่จะไม่ยอมกินยา หรือกินไม่ต่อเนื่อง ทำให้หายช้า แต่ต้องระวังเก็บยาไว้ให้พ้นมือเด็ก ไม่ให้เด็กแอบหยิบมากินเล่นได้เอง

เลือกกินยาแค่ชนิดเดียว ระวังไม่ใช้ยาหลายขนาน เช่น เมื่อใช้ยาละลายเสมหะ ไม่ควรใช้ร่วมกับยาแก้ไอที่มีฤทธิ์กดศูนย์ควบคุมการไอ หรือยาแก้ไอที่มีฤทธิ์ลดสารคัดหลั่งในหลอดลม

สิ่งสำคัญ นอกจากการใช้ยาแก้ไอ ละลายเสมหะช่วยแล้ว วิธีการที่ดีที่สุดในการรักษาอาการไอ คือ การดื่มน้ำ น้ำจะช่วยทำให้เสมหะไม่เหนียว และร่างกายขับออกได้ง่ายขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารทอด ๆ มัน ๆ และ พักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยให้อาการไอหายเร็วขึ้น

ที่มา: (1) (2) (3) (4)


ถามหมอออนไลน์ ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close