ปวดท้องตรงนี้ ป่วยโรคไหน? และปวดแค่ไหน ที่ต้องรีบไปหาหมอด่วน!

27 มิ.ย. 24

ปวดท้องตรงนี้ ป่วยโรคไหน

 

เมื่อมีอาการปวดท้อง อย่าละเลย ให้รีบสังเกตตัวเองว่าปวดมากน้อยแค่ไหน ปวดมานานหรือไม่ เพราะ อาจบ่งบอกถึงโรคร้ายภายในบริเวณท้องได้ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่า… ปวดท้องตรงนี้ ป่วยโรคไหน? วันนี้ Ged Good Life มีคำตอบมาฝากแล้ว ใครที่ปวดท้องบ่อย ๆ ต้องอ่าน!

อาการปวดท้อง

สาเหตุของอาการปวดท้อง

ปวดท้อง อาจแค่ปวดไม่มากเดี๋ยวเดียวก็หาย หรือปวดมาก และรุนแรงมาก อาการปวดมักจะไม่จำเพาะเจาะจง อาจจะสัมพันธ์กับอวัยวะในช่องท้องโดยตรง เช่น กระเพาะปัสสาวะ รังไข่ อาการปวดท้องทั่วไป เกิดจากอวัยวะในระบบทางเดินอาหารผิดปกติ  เช่น ไส้ติ่งอักเสบ ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ เป็นต้น ลักษณะของอาการปวดท้องตำแหน่งที่ปวด ความรุนแรงของอาการปวดท้อง และช่วงเวลาที่เกิด


ปวดท้องตรงนี้ ป่วยโรคไหน?

1. ปวดชายโครงขวา เป็นจุดของตับ และถุงน้ำดี หากกดแล้วเจอก้อนแข็ง ๆ บวกกับอาการตัวเหลือง ตาเหลือง หมายถึง ความบกพร่องของตับ หรือถุงน้ำดี หากปวดมากควรพบแพทย์

2. ปวดใต้ลิ้นปี่ หรือกลางตัวเรา ตรงซี่โครงซี่ล่างสุด (กลางตัว) กระเพาะอาหาร ตับอ่อน ตับ และกระดูกลิ้นปี่

  • ลองสังเกตตัวเองหากปวดเป็นประจำเวลาหิว หรืออิ่ม อาจเกี่ยวกับโรคกระเพาะ หากปวดรุนแรงร่วมกับคลื่นไส้อาเจียน อาจเป็นตับอ่อนอักเสบ
  • หากคลำเจอก้อนเนื้อขนาดใหญ่ และค่อนข้างแข็ง อาจหมายถึงตับโต
  • หากคลำได้ก้อนสามเหลี่ยมแบนเล็ก ๆ อาจเป็นกระดูกลิ้นปี่ ควรพบแพทย์

3. ปวดชายโครงขวา จะตรงกับตำแหน่งของม้าม ไม่ต้องรีรอ ไปปรึกษาแพทย์ทันที

4. ปวดบั้นเอวขวา ตรงตำแหน่งของท่อไต ไต ลำไส้ใหญ่

  • อาการปวดมาก : ลำไส้ใหญ่อักเสบ
  • อาการปวดร้าวถึงต้นขา  : เริ่มต้นเป็นนิ่วในท่อไต
  • อาการปวดร่วมกับปวดหลัง มีไข้ หนาวสั่น ปัสสาวะขุ่น : กรวยไตอักเสบ ควรรีบไปพบแพทย์
  • เมื่อคลำเจอก้อนเนื้อ : ควรรีบไปพบแพทย์

5. ปวดรอบสะดือตรงกับตำแหน่งลำไส้เล็ก หากกดแล้วปวดมาก คืออาการไส้ติ่ง ปวดมากจนทนไม่ได้ควรพบแพทย์ หากปวดแบบมีลมในท้องด้วย  อาจแค่กระเพาะลำไส้ทำงานผิดปกติ

6. ปวดบั้นเอวซ้าย เป็นตำแหน่งท่อไต ไต ลำไส้ใหญ่

  • ปวดมาก : ลำไส้ใหญ่อักเสบ
  • ปวดร้าวถึงต้นขา : อาจเป็นนิ่วในท่อไต
  • ปวดร่วมกับปวดหลัง มีไข้ หนาวสั่นด้วย ปัสสาวะขุ่น : กรวยไตอักเสบ ให้รีบไปพบแพทย์
  • คลำเจอก้อนเนื้อ : ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ควรรีบพบแพทย์

7. ปวดท้องน้อยขวา เป็นตำแหน่ง ไส้ติ่ง ท่อไต และปีกมดลูก

  • หากปวดเกร็งเป็นระยะ ๆ แล้วร้าวมาที่ต้นขา : กรวยไตอักเสบ ควรพบแพทย์
  • ปวดเสียดตลอดเวลา กดแล้วเจ็บมาก : ไส้ติ่งอักเสบ
  • ปวดร่วมกับมีไข้สูง หนาวสั่น มีตกขาว  : ปีกมดลูกอักเสบ
  • คลำแล้วเจอก้อนเนื้อ : ก้อนไส้ติ่ง หรือรังไข่ผิดปกติ

8. ปวดท้องน้อย ตรงตำแหน่งกระเพาะปัสสาวะ และมดลูก

  • ปวดเวลาถ่ายปัสสาวะ หรือถ่ายกะปริบกะปรอย : กระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
  • ปวดเกร็งเวลามีประจำเดือน ผู้หญิงที่แต่งงาน ไม่มีลูกแล้วมีอาการปวดเรื้อรัง : อาการมดลูกผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์

9. ปวดท้องน้อยซ้าย ตำแหน่ง ปีกมดลูก และท่อไต

  • ปวดเกร็งเป็นระยะ และร้าวมาที่ต้นขา : นิ่วในท่อไต
  • ปวดร่วมกับมีไข้ หนาวสั่น ตกขาว : มดลูกอักเสบ
  • ปวดร่วมกับถ่ายอุจจาระผิดปกติ : ลำไส้ใหญ่อักเสบ
  • คลำพบก้อนร่วมกับอาการท้องผูกเป็นประจำ : เนื้องอกในลำไส้
อวัยวะบริเวณหน้าท้อง

อาการปวดท้อง ที่ควรไปพบแพทย์ทันที

  • ปวดท้องโดยมีอาเจียนร่วมด้วย
  • ปวดท้องเปลี่ยนรูปแบบ เช่น จากที่เคยปวดแสบกลายเป็นปวดบีบ ปวดเกร็ง ปวดรุนแรงขึ้น
  • ปวดนานมากกว่า 6 ชั่วโมงแล้วอาการเป็นมากขึ้น
  • ปวดจนกินอาหารไม่ได้ นอนไม่หลับ
  • มีภาวะโลหิตจาง อาจเกิดจากการเสียเลือดในกระเพาะอาหาร
  • ตาเหลือง
  • ปวดที่บริเวณท้องน้อยด้านขวา
  • มีไข้เรื้อรัง 37.5 – 38 องศาตลอดเวลา
  • น้ำหนักลดเกินร้อยละ 10 ภายใน 1 – 2 เดือน
  • รับประทานยาลดกรดด้วยตัวเองแล้ว 1 – 2 สัปดาห์แต่ไม่ดีขึ้น ยังปวดท้องอยู่หรือมีอาการอื่นเพิ่มเติม

คำแนะนำ

  1. กินยาตามแพทย์สั่ง
  2. เลือกกินอาหารที่ย่อยง่าย งดนม อาหารรสจัด น้ำผลไม้
  3. หากยังมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องน้อยด้านขวามากขึ้น หลังทานยาแก้ปวดไปแล้ว 2 ชม. ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
  4. ไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจตามที่แพทย์นัดทุกครั้ง

อาการปวดท้อง ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย แม้ว่าจะปวดนิดเดียว ก็ไม่ควรละเลย รักสุขภาพ รักตัวเอง ต้องคอยหมั่นสังเกตร่างกายของเราอยู่เสมอ หากเกิดอาการผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์  ถ้าปล่อยเรื้อรังอาจจะสายเกินแก้ได้นะคะ


ถามหมอออนไลน์ ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : gedgoodlife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : gedgoodlife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save