3 ปัญหาการขับถ่ายของเด็ก ที่ไม่ควรปล่อยไว้

ปัญหาการขับถ่ายของเด็ก

อย่าปล่อยให้ ปัญหาการขับถ่ายของเด็ก ขัดขวางพัฒนาการของลูกน้อย หากลูกมีปัญหาการขับถ่ายตั้งแต่เด็ก อาจส่งผลต่อพัฒนาการของลูกในทุก ๆ ด้าน ทั้งร่างกาย อารมณ์ และพฤติกรรมของเด็ก ปัญหาการขับถ่ายของลูกเรื่องอะไรบ้าง ที่พ่อแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจ

3 ปัญหาการขับถ่ายของเด็ก ที่ไม่ควรปล่อยไว้

1. อาการท้องผูก

อาการท้องผูกในเด็ก เป็นหนึ่งใน ปัญหาการขับถ่ายของเด็ก ที่เจอบ่อยที่สุด ท้องผูก คือ อาการถ่ายลำบาก ปวดท้อง อุจจาระแข็ง ต้องใช้แรงเบ่งมาก หรือหลายวัน จึงถ่ายอุจจาระได้ ถ้า 2-3 วัน ถ่ายอุจจาระได้ แต่อุจจาระนิ่ม ถ่ายไม่ลำบาก ยังไม่ถือว่าท้องผูก

สาเหตุของ ท้องผูกในเด็ก

  • ส่วนใหญ่มาจากการกลั้นอุจจาระ
  • ปัญหาการบังคับนั่งกระโถน
  • ขาดสารอาหาร ขาดน้ำ
  • ดื่มนมมากเกินไป
  • กินอาหารที่มีเส้นใยน้อย
  • มีความผิดปกติของลำไส้ เช่น ทวารหนักหรือลำไส้ใหญ่ตีบตัน ลำไส้เล็กตีบแคบ อุดตัน

แก้ปัญหาท้องผูกในเด็กอย่างไร ?

– พยายามให้เด็ก กินอาหารที่มีเส้นกากใยมากขึ้น เช่น ธัญพืช ผักต่าง ๆ ผลไม้สุก เช่น มะละกอสุก ส้ม กล้วยน้ำว้า

– กินวิตามินรวมสำหรับเด็ก สำหรับเด็กที่กินยาก ไม่ค่อยกินผัก ผลไม้ที่มีใยอาหาร อาจจะเสริมด้วย วิตามินเสริมที่่มีใยอาหารธรรมชาติ เช่น นูโทรเพล็กซ์ โอลิโก พลัส ที่มี Oligofructose ซึ่งมีคุณสมบัติเป็น Prebiotic และใยอาหารจากธรรมชาติ ที่ช่วยในการปรับสมดุลย์ด้านระบบทางเดินอาหาร และเพิ่มกากใยให้กับระบบทางเดินอาหาร ป้องกันท้องผูกได้ดี

– ควรฝึกนิสัยการขับถ่ายของลูก โดยฝึกวันละ 1-2 ครั้ง เช้าและเย็น ฝึกโดยนั่งถ่ายนาน 5-10
นาที ควรฝึกหลังกินอาหารเสร็จเพราะการกินอาหารจะกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่บีบตัว ช่วยให้ถ่ายอุจจาระง่ายขึ้น

– ไม่ควรฝึกการขับถ่ายด้วยความเข้มงวด ในเด็กเล็กที่กลัวการนั่งถ่ายมาก ควรเริ่มต้นฝึกโดยนั่งถ่ายบนตักของแม่ก่อน ให้แม่ช่วยอุ้มคอยปลอบ เพื่อลดความกลัว และให้เด็กเกิดความมั่นใจ เมื่อเด็กคุ้นเคยกับการถ่ายในท่านั่งแล้ว จึงฝึกให้นั่งถ่ายบนกระโถนต่อไป

– ดื่มนมลดลง ถ้าให้ลูกดื่มนมมากเกินไป อาจจะต้องต้องลดปริมาณนมลง เพราะนมไม่มีเส้นใยอาหาร และอาจทำให้ย่อยยาก ควรเพิ่มเป็นน้ำผักผลไม้แทน

– ใช้ยาระบาย เมื่อเด็กเริ่มถ่ายอุจจาระแข็ง ควรให้รีบกินยาระบายอย่างอ่อนให้หายตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ควรปล่อยให้ลูกถ่ายอุจจาระแข็งนานไป เพราะอาจทำให้เกิดอาการเจ็บ และกลั้นอุจจาระจนกลายเป็น ปัญหาท้องผูกเรื้อรัง ซึ่งรักษาได้ยุ่งยาก และใช้เวลานาน

2. ท้องเสียในเด็ก

อาการท้องเสียในเด็ก เป็นอีกหนึ่ง ปัญหาการขับถ่ายของเด็ก ที่พ่อแม่กังวล เพราะไม่แน่ใจว่า อาการท้องเสียนั้นเป็นเพียงอาการท้องเสียทั่วไป หรือ ลูกเจ็บป่วยอย่างอื่นด้วยหรือไม่

ปัญหาการขับถ่ายของเด็ก

อาการท้องเสีย

สังเกตว่าลูกท้องเสียหรือไม่ ให้ดูที่ลักษณะและความถี่ของอุจจาระ เช่น อุจจาระเป็นเนื้อเหลว ความถี่ 3 ครั้งขึ้นไป ถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด 1 ครั้ง ถ่ายเป็นน้ำปริมาณมาก 1 ครั้งขึ้นไป ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง ก็เรียกได้ว่ามีอาการท้องเสีย แต่ในเด็กเล็ก เด็กทารกที่กินนมแม่ อาจจะไม่สามารถใช้เกณฑ์ถ่ายเหลวเป็นน้ำมาใช้ได้ เพราะเด็กทารกที่กินนมแม่มักจะถ่ายบ่อย แต่อุจจาระเป็นเนื้อดี และมีน้ำหนักตัวขึ้นได้ตามปกติ ซึ่งถือว่าขับถ่ายปกติ ไม่ใช่อาการท้องเสีย

อาการท้องเสียเฉียบพลัน มักหายได้เองภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์ ถ้านานกว่า 2 สัปดาห์ขึ้น
ไปถือเป็น ภาวะอุจจาระร่วงหรือเรื้อรัง

สาเหตุของอาการท้องเสียในเด็ก

– เกิดการติดเชื้อ ในเด็กเล็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งอายุไม่เกิน 1 ปี พบว่าประมาณ 70% เกิดจากการได้รับเชื้อโรคเข้าไปในร่างกาย ซึ่งมักจะเข้าทางปากโดย การกินอาหาร หรือดื่มนมซึ่งปนเปื้อนเชื้อโรค หรือการหยิบจับของเล่นเอาเข้าปาก หรือแม้กระทั่งมือของเด็กเองซึ่งหยิบจับสิ่งของหรือคลานเล่นและเอาเชื้อโรคเข้าปาก

– มีภูมิต้านทานโรคต่ำ ซึ่งภูมิต้านทานโรคส่วนหนึ่งอาจได้รับมาจากการกินนมแม่และการได้รับวัคซีน อีกส่วนหนึ่งร่างกายสร้างขึ้นโดยการสัมผัสเชื้อโรคตามธรรมชาติ และสร้างภูมิต้านทานจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายซึ่งต้องใช้เวลาในการพัฒนาระบบนี้

– เกิดจากโรคไม่ติดเชื้อ เช่น การแพ้นมวัว หรือผลจากเนื้องอกบางชนิด หรือยาปฏิชีวนะบางตัว ซึ่งเป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นได้น้อย

เด็กท้องเสีย ดูแลรักษาอย่างไร ?

– สอนลูกให้ล้างมือ รักษาสุขอนามัยเป็นประจำ ล้างมือบ่อย ๆ ก่อนหยิบอาหารเข้าปาก

– กินอาหารร้อน ๆ ปรุงสุกใหม่อยู่เสมอ

ให้ลูกกินสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ เพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำและเกลือแร่จากร่างกาย

– กินอาหารอ่อน ๆ เช่น ต้มจืด น้ำซุป โจ๊ก น้ำเต้าหู้ อาหารเหลว ๆ

สังเกตอาการอื่น ๆ ว่าลูกมีอาการอื่น ๆ ด้วยหรือไม่ เช่น มีไข้สูง อาเจียน ชัก ฯลฯ ควรรีบไปพบแพทย์

ฉีดวัคซีน “โรต้าไวรัส” ซึ่งเป็นเชื้อที่พบว่าเป็นสาเหตุของท้องเสียในเด็ก

3. ท้องอืด ท้องเฟ้อ

อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ คือภาวะที่ระบบย่อยอาหารมีลม หรือแก๊สเยอะเกินไปจนทำให้รู้สึกแน่นท้อง สำหรับอาการท้องอืดในเด็ก ทำให้ลูกไม่สบายตัว หากเป็นเด็กเล็กก็ทำให้หงุดหงิด งอแง ร้องโยเยได้

ปัญหาการขับถ่ายของเด็ก

สาเหตุของอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ในเด็ก

  • เด็กดื่มนมที่ย่อยยาก หรือระบบย่อยอาหาร ย่อยนำได้ไม่ดี
  • ทารกดื่มนมจากขวดนมไม่ถูกวิธี ทำให้มีลมในกระเพาะอาหารมาก ไม่ได้ทำการไล่ลมให้ลูก หลังกินนม
  • กินอาหารเยอะมากเกินไป หรือ อาหารที่มีแก๊ส เช่น ถั่ว บรอกโคลี เครื่องดื่มอัดแก๊ส
  • ท้องผูก อาการท้องผูกเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของท้องอืด

วิธีป้องกัน รักษาอาการท้องอืด

  • เลือกกินอาหารที่ย่อยง่าย
  • ไม่ดื่มนม หรือกินอาหารมากเกินไป โดยเฉพาะก่อนนอน
  • ไล่ลมหลังกินนม ในเด็กเล็ก หลังดื่มนมควรจับลูกอุ้มไล่ลม ลูกหลังให้ลูกเรอก่อน
  • ใช้ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร แต่สำหรับเด็กควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้ง

ระบบขับถ่ายของลูก เรื่องใหญ่!

ปัญหาการขับถ่ายของลูกส่งผลต่อร่างกาย สุขภาพ พัฒนาการของลูก ในเด็กที่กินยาก เลือกกิน หรือกินอาหารไม่ครบหมู่ กินอาหารซ้ำ ๆ ทำให้เกิดปัญหากับระบบขับถ่ายมากขึ้น

คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลอาหารการกิน โภชนาการลูกด้วย NUTROPLEX OLIGO PLUS (นูโทรเพล็กซ์ โอลิโก พลัส) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับเด็ก มีส่วนผสมของมัลติวิตามิน ใยอาหารธรรมชาติและธาตุเหล็กสูง กระตุ้นการขับถ่าย เสริมการเจริญเติบโต ซึ่งในวิตามิน นูโทรเพล็กซ์ ยังมี โอลิโกฟรุคโตส (Oligofructose) ที่มีคุณสมบัติเป็น Prebiotic และใยอาหารจากธรรมชาติ ที่ช่วยในการปรับสมดุลย์ด้านระบบทางเดินอาหาร และเพิ่มกากใยให้กับระบบทางเดินอาหาร ป้องกันท้องผูกได้ดีอีกด้วย

“Expert ดีดี” โควิด-19 ไอ หวัด ปวดท้อง ภูมิแพ้ อย่าปล่อยให้เรื้อรัง ปรึกษาฟรี คลิกเลย!

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close