เสียงแหบ แห้ง หาย… “วิธีบำรุงดูแลเสียง” ให้ใสน่าฟังอยู่เสมอ

วิธีบำรุงดูแลเสียง

อยากใช้เสียง แต่ดันไม่มีสิทธิ์! เพราะ เสียงดันแหบ แห้ง หาย ไปสะอย่างงั้น! งั้นมาดู “วิธีบำรุงดูแลเสียง” กันดีกว่า จะได้กลับมามีสิทธิ์ใช้เสียงใสใสกันถ้วนหน้า

เสียงแหบ แห้ง เสียงหาย เกิดจากอะไร?

เสียงแหบ คือ ภาวะที่เสียงของเราเปลี่ยนแปลงผิดปกติไปจากเดิม เสียงเบาลง เสียงพูดสูง หรือต่ำกว่าปกติ พูดแล้วเสียงไม่ออก เสียงขาด ๆ หาย ๆ

ภาวะเสียงแหบแห้งนี้ เกิดจากความผิดปกติของสายเสียงที่อยู่ในกล่องเสียงของเรา เกิดอาการบวม อักเสบขึ้น ทำให้เสียงเราแหบ หรือผิดปกติไป

สาเหตุที่ทำให้สายเสียงบวม อักเสบ ผิดปกตินั้น เกิดได้จากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้

ใช้เสียงผิดวิธี เป็นสาเหตุหลักที่หลายคนเสียงแหบแห้ง การใช้เสียงผิดวิธี การตะโกน หรือใช้เสียงเป็นเวลานาน ๆ เกินไป เช่น ไปร้องเพลงคาราโอเกะ เชียร์กีฬา ก็ทำให้เสียงแหบเสียงหาย เพราะสายเสียงอักเสบ

วิธีบำรุงดูแลเสียง

เป็นหวัด กล่องเสียงอักเสบ การเป็นหวัดทำให้เสียงแหบได้ เนื่องจากเมื่อเป็นหวัดก็จะมีการอักเสบของบริเวณช่องจมูก และภายในคอ  ซึ่งอาจจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัส

หากเป็นหวัด หรือเจ็บป่วยติดเชื้อไวรัส แล้วดูแลตัวเองไม่ดีพอ การอักเสบนี้อาจลามต่อไปถึงกล่องเสียง และสายเสียงทำให้มีการบวมของสายเสียง การทำงานของสายเสียงเปลี่ยนไป จึงเป็นสาเหตุให้เกิดเสียงแหบ

การได้รับกระแทกบริเวณกล่องเสียง อาจทำให้กระดูกอ่อนของกล่องเสียงแตกหัก อุบัติเหตุต่าง ๆ เช่น ไฟลวกบริเวณใบหน้า หายใจเอาลมร้อนจัดเข้าไปจนไปลวกเยื่อบุของทางเดินหายใจรวมทั้งกล่องเสียงจนทำให้กล่องเสียงเสียหาย

วิธีบำรุงดูแลเสียง

เกิดจากการระคายเคือง ซึ่งอาจเกิดจากมลพิษ ฝุ่น ควันบุหรี่ อากาศแห้ง หรือสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เป็นสาเหตุให้เสียงหายได้เนื่องจากการระคายเคืองจากสิ่งกระตุ้นเหล่านี้ทำให้สายเสียงเกิดบวม อักเสบขึ้น

อาการไอ อาการไอเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ หากมีอาการไอมาก แล้วไออย่างรุนแรงต่อเนื่อง ก็ทำให้มีปัญหาสายเสียงได้ เพราะมีการกระแทกของสายเสียงเวลาไอ พอสายเสียงกระแทกกันก็บวม ทำให้เสียงแหบได้

วิธีบำรุงดูแลเสียง ให้กลับมาใสกิ๊ง

งดใช้เสียงโดยไม่จำเป็น ถ้าอยากให้หายเร็ว ๆ ควรพักการใช้เสียง หรือหยุดพูดไปเลย แต่การห้ามพูดคุยเลยคงเป็นไปได้ยาก ถ้าอยากบำรุงเสียงที่แหบแห้งให้กลับมาดีได้เร็ว ๆ จึงควรงดพูดคุยโดยไม่จำเป็น

เช่น คุยเม้ากับเพื่อน เวลาพูดคุยสื่อสารในชีวิตประจำวันให้พูดเบา ๆ พูดน้อย ๆ เท่าที่จำเป็นพอ หรือใช้การแชตผ่าน App ผ่านมือถือแทน

วิธีบำรุงดูแลเสียง

ดื่มน้ำเปล่ามาก ๆ การดื่มน้ำทำให้คอชุ่มชื่นขึ้น ดื่มน้ำที่อุณหภูมิห้อง คือไม่เย็น หรือร้อนเกินไป

นอกจากน้ำเปล่าจะช่วยบำรุงสายเสียง ยังช่วยทำให้ร่างกายสดชื่น ช่วยการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกายให้เป็นปกติด้วย

ดื่มชาอุ่น ๆ ผสมน้ำผึ้งมะนาว เป็นวิธีสุดคลาสสิคที่ได้ผล และนิยมกันมาก โดยเฉพาะศิลปินนักร้องที่ต้องใช้เสียงเป็นประจำ

หลายคนอาจแนะนำให้กินน้ำผึ้งเพียว ๆ ผสมมะนาว เพราะ ทำให้ชุ่มคอ ช่วยบำรุงเสียงให้สดใสขึ้น

แต่ถ้าไม่อยากกินน้ำผึ้งอย่างเดียวให้ลองหยดน้ำผึ้งใส่ในชาอุ่น ๆ บีบมะนาวลงไปหน่อย จะได้เครื่องดื่มอุ่น ๆ ที่ช่วยให้ชุ่มคอมาก

วิธีบำรุงดูแลเสียง

กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ เมื่อเริ่มรู้สึกเจ็บคอ หรือระคายเคืองในคอ ให้ใช้เกลือ 1 ช้อนชา ผสมกับน้ำอุ่น 1 แก้ว คนให้เกลือละลายเข้ากัน แล้วนำมากลั้วคอ แล้วบ้วนทิ้ง วันละ 2 – 3 ครั้ง

จะช่วยฆ่าเชื้อ บรรเทาอาการระคายเคืองภายในลำคอ ช่วยบำรุงเสียงให้กลับมาเป็นปกติ

กินยาแก้ไอ ถ้ามีอาการไอ ควรรักษาอาการให้หาย อาจจะกินยาแก้ไอละลายเสมหะ เพื่อให้อาการไอทุเลาลง เพราะการไอติดต่อเป็นเวลานาน ๆ อาจทำให้เส้นเสียงบาดเจ็บ ส่งผลให้เสียงแหบแห้งตามไปด้วย

จึงควรรักษาอาการไอให้ถูกวิธี หากไอมีเสมหะ ให้ใช้ยาแก้ไอละลายเสมหะ แทนยาขับเสมหะ เพราะยาขับเสมหะจะยิ่งกระตุ้นให้ไอมากขึ้น แต่ยาละลายเสมหะจะทำให้เสมหะมีขนาดเล็กลง เพื่อให้ร่างกายกำจัดออกมาได้ง่ายขึ้น

อย่านอนดึก พักผ่อนให้เพียงพอ หากพักผ่อนน้อย นอนดึก มีแน้วโน้มที่ร่างกายจะเจ็บป่วยได้ง่าย และทำให้เสียงแหบแห้งได้เมื่อตื่นขึ้นมา และเวลานอนควรทำให้ร่างกายอบอุ่นพอ ไม่เปิดแอร์ หรือพัดลมจ่อที่ตัวโดยตรง

งดอาหารรสจัด อาหารทอด ๆ มัน ๆ หากมีอาการเจ็บคอ เสียงแหบ ไม่ควรทานอาหารที่ร้อนจัด อาหารรสจัด เปรี้ยวจัด เผ็ดจัด หรืออาหารประเภททอด ๆ ที่มีน้ำมันเยอะก็ควรหลีกเลี่ยงด้วย เพราะจะยิ่งทำให้สายเสียงเกิดการระคายเคือง อักเสบมากขึ้น และกระตุ้นให้เกิดอาการไอมากขึ้นด้วย

“Expert ดีดี” โควิด-19 ไอ หวัด ปวดท้อง ภูมิแพ้ อย่าปล่อยให้เรื้อรัง ปรึกษาฟรี คลิกเลย!

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close