ธาตุเหล็ก สำคัญกับวัยเด็กอย่างไร?

ธาตุเหล็กเป็นแร่ธาตุสำคัญในการเจริญเติบโตของเด็ก เนื่องจากช่วยเสริมสร้างพัฒนาการต่าง ๆ ทั้งยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเม็ดเลือดแดงในการนำพาออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ทำให้ร่างกายเกิดความสมดุล มีพัฒนาการที่ดี

แหล่งอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง

เด็กทารกสามารถรับธาตุเหล็กจากครรภ์มารดาตอนแรกเกิด โดยน้ำนมแม่มีธาตุเหล็กอยู่ 0.35 mg/L ถ้าน้ำนมแม่ผลิตได้ 800 ml ต่อวัน ทารกจะไดรับธาตุเหล็ก 0.27mg ต่อวัน  ดังนั้นในทารก 6 เดือนแรก ได้รับธาตุเหล็ก 0.27 mg ต่อวันจากนมแม่ รวมกับธาตุเหล็กสะสม เหล็กจากการแตกตัวของฮีโมโกลบิน ก็เพียงพอแล้ว

นอกจากธาตุเหล็กที่ได้จากนมแม่แล้ว ยังมีอาหารอื่น ๆ ที่ให้ธาตุเหล็กสูงสำหรับเด็ก ได้แก่

  • เนื้อสัตว์ เนื้อแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู
  • ไข่แดง เด็กวัยเรียนควรกินเป็นประจำ เพื่อไม่ให้ขาดธาตุเหล็ก
  • ผักใบเขียว เช่น ผักโขม คะน้า ตำลึง บรอกโคลี และควรกินร่วมกับ ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงจะช่วยให้การดูดซึมธาตุเหล็กดียิ่งขึ้น
  • ไม่ควรกินอาหาร พร้อมกับนมวัว นมถั่วเหลือง เพราะแคลเซียมในนม และไฟเตทในนมถั่วเหลืองจะทำให้การดูดซึมธาตุเหล็กลดลง

ธาตุเหล็ก

Nutroplex Oligo Plus อาหารเสริมที่มีทั้งธาตุเหล็ก และโอลิโกในขวดเดียว

อาหารเสริมที่มีธาตุเหล็ก จำเป็นที่ต้องมีวิตามินอื่น ๆ ร่วมด้วย ทั้งการเสริมสร้างระบบประสาท และมีสมดุลการขับถ่ายด้วย ตัวอย่างผลิตภัณฑ์คือ NUTROPLEX OLIGO PLUS (นูโทรเพล็กซ์ โอลิโก พลัส) ที่มีธาตุเหล็กเป็นส่วนเสริมสร้าง และพัฒนาสมอง ช่วยให้มีสมาธิ

โอลิโกฟรุคโตส (Oligofructose) เป็นส่วนประกอบ ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นพรีไบโอติก (Prebiotic) และใยอาหารจากธรรมชาติ ที่ช่วยในการปรับสมดุลระบบทางเดินอาหาร และเพิ่มกากใยให้กับระบบทางเดินอาหาร ป้องกันท้องผูกได้ดี

มี “ไลซีน” เป็นกรดอะมิโนจำเป็นชนิดหนึ่ง ช่วยสร้างโปรตีนที่สำคัญต่อร่างกาย ร่างกายจึงต้องการกรดอะมิโนนี้เพื่อช่วยในการเจริญเติบโต และเสริมสร้างภูมิต้านทาน

มี “วิตามินบี 12” เป็นวิตามินที่สำคัญต่อสมอง มีหน้าที่ในการบำรุงเนื้อเยื่อประสาท ช่วยให้สมองรู้สึกกระปรี้กระเปร่า เหมาะกับเด็กที่อยู่ในวัยเรียน

การที่ได้รับธาตุเหล็กอย่างเพียงพอ จะช่วยให้ป้องกันภาวะขาดธาตุเหล็กได้ โดยการขาดธาตุเหล็กจะทำให้เกิดภาวะซีด โลหิตจาง หรือมีภาวะเบื่ออาหารได้ ทั้งนี้หากมีอาการดังกล่าว หรือมีอาการรุนแรงควรปรึกษากุมารแพทย์โดยตรง

บทความโดย ภญ. ธร อำนวยผลวิวัฒน์
ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์สุขภาพ

 

อ้างอิง : 1. สสส. 2. กรมอนามัย

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close