แชร์ 3 วิธีกินหมาล่า ไม่ทำร้ายกระเพาะ และไม่เป็นกรดไหลย้อน

วิธีกินหมาล่า

ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า “หมาล่า” กำลังเป็นเมนูยอดฮิตที่คนไทยนิยมกินกันสุด ๆ ณ เวลานี้ โดยเฉพาะ ชาบูหมาล่า หมาล่าสายพาน เป็นต้น เดินไปไหนก็ต้องเจอ แถมคนแน่นสะด้วย! วันนี้ GED good life จึงขอแนะนำ “3 วิธีกินหมาล่า” อย่างถูกต้อง ท้องไส้ไม่แปรปรวน ไม่เกิดกรดไหลย้อน จะมีวิธีอะไรบ้าง มาดูกัน!

รู้จักกับ “หมาล่า” เมนูรสเผ็ดจนลิ้นชา มาจากไหน ทำจากอะไร?

คำว่า หมาล่า” หรือ “หม่าล่า” (麻辣) มาจากการอักษรจีนสองตัว คือ “หมา ()” แปลว่าชา กับ “ล่า ()” แปลว่าเผ็ด ซึ่งสื่อถึงความรู้สึกเผ็ด และ ชาในปากหลังจากรับประทานเข้าไป

ซึ่งทั้งสองรสนี้มาจากเครื่องเทศฮวาเจียว – 花椒 หรือ “พริกไทยเสฉวน” เป็นพืชท้องถิ่นของ มณฑลเสฉวน ประเทศจีน มีลักษณะคล้ายพริกไทยดำ และเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับรสหมาล่า ที่ทำให้เกิดความอร่อยและเผ็ดจนลิ้นชานั่นเอง

โดยเมนูหมาล่าที่คนไทยรู้จัก และกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในตอนนี้ คือ หมาล่าเสียบไม้ ชาบูหมาล่า และล่าสุดที่ฮิตสุด ๆ คือ หมาล่าสายพาน ที่สามารถหากินได้เกือบทุกหัวถนนในกรุงเทพมหานคร ซึ่งแต่ละร้านก็จะมีรสชาติ และราคาที่แตกต่างกันออกไป

สรุปได้ว่า หมาล่า” ไม่ใช่ชื่อพริกแต่อย่างใด แต่เป็นคำเรียกที่สื่อถึงความเผ็ดชา เกิดจากเครื่องเทศหลายอย่างผสมกัน และรสชาติเผ็ดชาที่โดดเด่นนั้นเกิดจากส่วนผสมที่ชื่อว่า “ฮวาเจียว” นั่นเอง

รสหมาล่า มีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร?

  • ช่วยระบบการย่อยอาหาร
  • ช่วยให้ความอบอุ่นกับร่างกาย
  • กระตุ้นความอยากอาหาร
  • มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ต้านอักเสบ

อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถคาดหวังคุณประโยชน์จากรสหมาล่าได้อย่างชัดเจนนัก แต่พอจะหวังในเรื่องของรสชาติที่ถูกปาก ชาลิ้นเป็นเอกลักษณ์ และการกระตุ้นความอยากอาหารได้ในระดับนึง

3 วิธีกินหมาล่า ให้ถูกต้อง ไม่ทำร้ายกระเพาะ ไม่เป็นกรดไหลย้อน!

1. ไม่ซดน้ำซุปหมาล่า

เพราะในน้ำซุปหม่าล่ามีความมันสูง รวมถึงใส่เครื่องปรุงเครื่องเทศต่าง ๆ ลงไปเยอะ โซเดียมก็ค่อนข้างเยอะตามมาด้วย โดยเฉพาะความเผ็ดและความมัน อาจทำให้กระเพาะอาหารระคายเคือง ลำไส้แปรปรวน ท้องเสีย และอาจทำให้เกิด ภาวะกรดไหลย้อนกำเริบจากความเผ็ดได้

2. ไม่กินเผ็ดจนเกินไป

ด้วยความที่หม่าล่า เป็นอาหารที่มีรสชาติเผ็ดร้อนเป็นหลักอยู่แล้ว แต่หลายคนก็นิยมเติมความเผ็ดเพิ่มเข้าไปอีก (โดยเฉพาะกับเมนู หมาล่าเสียบไม้) “สารแคปไซซิน” ในพริก ที่เราเติมเพิ่มเข้าไปนั้น อาจเป็นสาเหตุของอาการปวดท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องเสีย คลื่นไส้ และอาเจียน ซึ่งในกรณีที่เกิดการอาเจียน กรดที่ไหลย้อนกลับมาจากกระเพาะอาหารอาจทำให้หลอดอาหารระคายเคืองได้

ถ้าหากรู้สึกว่าน้ำซุปหมาล่าเผ็ดเกินไป (เช่นเมนู ชาบูหมาล่า) แนะนำให้ใส่น้ำซุปใส หรือน้ำเปล่าเติมเข้าไป เพื่อลดความเผ็ดร้อนจากรสหมาล่านั่นเอง

3. เคี้ยวให้ละเอียด ไม่กินเร็วเกินไป

ค่อย ๆ กิน ไม่ต้องรีบร้อน เนื้อต่าง ๆ ที่ใส่เข้าไปในหม้อหมาล่า พยายามเคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน เพราะถือว่าเป็นด่านแรกที่จะทำให้อาหารมีความละเอียดขึ้น ทำให้กระเพาะไม่ต้องทำงานหนักเกินไป ช่วยให้สารอาหารถูกดูดซึมเข้าสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ง่ายขึ้น และยังทำให้มีระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีเป็นปกติ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการมีสุขภาพที่ดี

แต่ถ้าหากเราเคี้ยวอาหารไม่ละเอียดพอ กระเพาะของเราจะต้องรับภาระในการย่อยอาหารมากขึ้น ยิ่งอาหารที่ย่อยยาก เช่น เนื้อสัตว์ กระเพาะจะต้องหลั่งกรด และมีการบีบตัวที่มากขึ้นกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการแน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ ตามมา

อ่านเพิ่มเติม -> การเคี้ยวอาหารให้ละเอียด ดีต่อลำไส้ และผู้ป่วยกรดไหลย้อนอย่างไร?

2 กลุ่มเสี่ยงที่ควรระวังในการกินหมาล่า

ผศ.ดร.เอกราช บำรุงพืชน์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ ชี้แจงว่า 2 กลุ่มเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ จากรสหมาล่า ได้แก่

  1. กลุ่มผู้สูงวัย เพราะ มีความทนต่อรสชาติเผ็ดร้อนได้น้อย
  2. กลุ่มที่มีปัญหาโรคกระเพาะ โรคความดันโลหิตสูง (โรคกลุ่ม NCDs) เพราะ ความเผ็ดมีผลต่อกระเพาะอาหาร และการได้โซเดียมมากเกินไป เป็นสาเหตุทำให้ระดับความดันโลหิตเพิ่มขึ้นได้

วิธีเลือกเนื้อสัตว์กินกับหมาล่า

  1. เลือกเนื้อสัตว์ที่ติดมันน้อย หรือไม่ติดมัน
  2. เลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น เบคอน แฮม ไส้กรอก เพราะมีไขมันอิ่มตัวเยอะ
  3. ไม่ควรกินเนื้อสัตว์ที่ไหม้เกรียมเกินไป
  4. หากแพ้อาหารทะเล ไม่ควรเลือกกินกุ้ง หอย ปู เพราะอาจทำให้แพ้ได้
  5. ควรกินผักควบคู่ไปกับเนื้อสัตว์ด้วย เช่นกินเนื้อสัตว์ 1 ไม้ ก็ควรกินผัก 1-2 ไม้ด้วย

 

อ้างอิง : 1. สสส. 2. Thai PBS 3. mgronline

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close