7 ทริคส์ “กระตุ้นระบบขับถ่าย” ลูกท้องผูก ถ่ายยาก

กระตุ้นระบบขับถ่าย

ลูกท้องผูก ประสบการณ์ที่แม่เกือบทุกคนต้องเคยเจอกันมา เพราะ อาการท้องผูก ในเด็กเกิดขึ้นได้บ่อย เกิดได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนโต ซึ่งส่วนใหญ่สาเหตุมาจากสภาพแวดล้อม พฤติกรรม อาหารการกิน การเลี้ยงดูนี่เอง ถ้าไม่อยากให้ลูกต้องทุกข์ทรมาน กับการนั่งเบ่งอึหน้าดำหน้าแดงทุกวัน มาดูทริคที่จะช่วยแก้อาการท้องผูก กระตุ้นระบบขับถ่าย ให้ลูก ๆ กัน

ลูกท้องผูก มีอาการอย่างไร?

  • ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ติดต่อกัน 2 สัปดาห์ขึ้นไป
  • ถ่ายอุจจาระลำบาก ต้องนั่งเบ่งนาน
  • อุจจาระแข็ง หรือ อุจจาระเป็นก้อนเล็ก ๆ
  • เวลาถ่ายมีอาการเจ็บทวารหนัก หรือเบ่งจนมีเลือดปนออกมาด้วย

ทำไมลูกท้องผูก สาเหตุที่ทำให้เด็กท้องผูก

– ดื่มนมวัวมากไป เด็กที่เปลี่ยนจากนมแม่ มาเป็นนมวัวธรรมดาอาจเกิดท้องผูกได้ เนื่องจากนมวัวมีอัตราส่วนของโปรตีนต่อคาร์โบไฮเดรตสูงกว่านมแม่

– ดื่มน้ำน้อย ถ้าเด็กกินน้ำน้อย หรืออากาศร้อน ๆ แล้วเสียน้ำ เสียเหงื่อมาก อาจทำให้ท้องผูกได้

– เด็กไม่ชอบกินผักผลไม้ ในผักผลไม้มีไฟเบอร์ หรือ ใยอาหารสูง ถ้าเด็กไม่ชอบกินผักผลไม้ ก็มีโอกาสท้องผูกได้ง่าย

– ห่วงเล่น กลั้นอุจจาระ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยในช่วงวัยอนุบาล เพราะเริ่มมีเพื่อน สนุกกับการเล่นมากขึ้น จนอาจอั้นอุจจาระโดยไม่รู้ตัว หรือเด็กบางคนกลัวที่จะเข้าห้องน้ำที่โรงเรียน หรือนอกบ้าน จนทำให้มีอาการท้องผูกได้

– มีอาการป่วย โรคบางโรค ก็ส่งผลให้เด็กมีอาการท้องผูก เช่น โรคลำไส้ใหญ่ส่วนปลายไม่มีปมประสาท โรคเกี่ยวกับประสาทไขสันหลัง ฯลฯ

7 ทริคส์ “กระตุ้นระบบขับถ่าย” ช่วยลูกท้องผูก ถ่ายยาก

1. อย่านั่งหน้าจอ เล่นแต่มือถือ เล่นมือถือเกี่ยวกับอาการท้องผูกด้วยหรอ หลายคนสงสัย จริง ๆ แล้ว อาจจะไม่ได้เกี่ยวโดยตรง แต่การกระตุ้นให้ลูกได้เคลื่อนไหวร่างกายบ่อย ๆ ได้วิ่งเล่น ออกกำลังกาย แทนที่จะนั่งอยู่เฉย ๆ ดูหน้าจอมือถือ เล่นเกม ดู YouTube เป็นวิธีการกระตุ้นร่างกาย และให้ลำไส้ได้เคลื่อนไหวบ่อย ๆ ส่งผลให้ลูกขับถ่ายได้ดีขึ้น

2. น้ำลูกพรุน ช่วยระบาย ถ้าลูกมีอาการท้องผูก คุณหมอแนะนำให้ดื่มน้ำลูกพรุน ซึ่งมีไฟเบอร์สูง และมีสรรพคุณช่วยระบาย แต่ไม่ควรดื่มมากเกินไป ปริมาณที่เหมาะสม คือ ครั้งละ 15-30 ซีซี แต่ถ้าเด็กเล็กอาจจะใช้น้ำลูกพรุนสกัดเจือจางในน้ำต้มสุกก่อนในสัดส่วน 1:1 ให้ลูกกินครั้งละ 15-20 ซีซี

3. นั่งถ่ายทำมุม 35 องศา ท่านั่งถ่ายที่ถูกต้องคือท่าที่เด็กสามารถใช้เท้ายันพื้นได้ หรือท่าที่ลำตัวกับต้นขาทำมุม 35 องศา ถ้าให้ลูกนั่งชักโครก โถชักโครกสูงมากจนเท้าของเด็กลอยสูงจากพื้น ลองเอาเก้าอี้เล็ก ๆ วางเสริมให้สูงจากพื้นจนเท้าเด็กวางได้บนเก้าอี้ได้ เพราะจะช่วยทำให้ลำใส้ใหญ่ ที่มีหน้าที่ขับของเสียออกมาได้สะดวก

4. โอลิโกฟรุคโตส ช่วยขับถ่ายดี โอลิโกฟรุกโตส (Oligofructose) เป็นใยอาหารจากธรรมชาติ เมื่อกินอาหารที่มีโอลิโกฟรุกโตสเข้าไป ใยอาหารจะผ่านไปที่ลำไส้ใหญ่ และช่วยเพิ่มจำนวนแบคทีเรียสุขภาพ เช่น แลคโตบาซีลัส บิฟิโดแบคทีเรีย ให้มีความสมดุล ช่วยปรับสมดุลระบบทางเดินอาหาร ทำให้ขับถ่ายได้ดี อาหารที่มีโอลิโกฟรุกโตส หรือใยอาหารธรรมชาติสูง เช่น หัวหอม กระเทียม กล้วย ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ผัก ผลไม้ หรือ ในวิตามินเสริมสำหรับเด็ก

5. ขับถ่ายเป็นเวลา ฝึกลูกให้ขับถ่ายเป็นเวลา โดยนั่งถ่ายนาน 5-10 นาที ควรฝึกหลังกินอาหารเสร็จ เพราะการกินอาหารจะกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่บีบตัว ช่วยให้ถ่ายอุจจาระง่ายขึ้น แต่ไม่ควรเร่งรีบ หรือดุจนลูกกลัว เพราะถ้าพ่อแม่ยิ่งกดดัน หรือฝึกเมื่อลูกไม่พร้อม อาจทำให้ลูกเครียด แล้วอั้นอุจจาระมากขึ้น จนท้องผูกได้

6. นวดกระตุ้นลำไส้ ให้ลูกนอนลง ชันเข่าขึ้น แล้วใช้มือนวดที่หน้าท้องของลูก โดยวางมือทั้งสองข้างซ้อนกันบนท้องเหนือสะดือ แล้วนวดเป็นวงกลมตามเข็มนาฬิกา 10-20 ครั้ง ซึ่งเป็นการนวดไล่จากลำไส้เล็กไปยังลำไส้ใหญ่ เพื่อกระตุ้นการทำงานของลำไส้ แต่ต้องระวังอย่านวดทวนเข็มนาฬิกา

7. ดื่มน้ำมาก ๆ เป็นวิธีเบสิค แต่ได้ผลดี และควรทำเป็นประจำ ถ้าลูกมีอาการท้องผูก ควรดื่มน้ำให้มากขึ้น แต่ลดการดื่มนมลง ควรดื่มน้ำให้ได้วันละ 6-8 แก้ว หรือ 1-1.5 ลิตร ต่อวัน ดื่มตั้งแต่หลังตื่นนอน และเอาน้ำใส่กระติกน่ารัก ๆ ให้ลูกคอยจิบทั้งวัน

สำหรับเด็กที่ไม่ชอบกินผัก ผลไม้ กินยาก จนขาดใยอาหารทำให้ท้องผูก อาจเสริมด้วยวิตามินรวม หรือ วิตามินเด็ก เช่น Nutroplex Oligo Plus ซึ่งมีส่วนผสมของโอลิโกฟรุกโตส ใยอาหารจากธรรมชาติ และ วิตามินเกลือแร่ ร่วมกับการทานอาหารมื้อหลักได้ เพื่อให้ลูกได้โอลิโกฟรุกโตสในปริมาณที่เหมาะสม และเป็นประโยชน์ต่อระบบขับถ่าย ช่วยปรับสมดุลระบบทางเดินอาหาร ลดอาการท้องผูก และยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูก และฟัน รวมทั้งเพิ่มภูมิคุ้มกันให้สุขภาพด้วย

“Expert ดีดี” โควิด-19 ไอ หวัด ปวดท้อง ภูมิแพ้ อย่าปล่อยให้เรื้อรัง ปรึกษาฟรี คลิกเลย!

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close