5 เรื่องใกล้ตัว ดูแลอาการหวัด ให้ดีขึ้นได้อย่างไม่คาดคิด!

ดูแลอาการหวัด

โรคหวัด หรือ common cold เป็นโรคทั่วไปชนิดหนึ่งที่พบได้ตลอดทั้งปี พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย ทุกพื้นที่ ในเวลาที่เราเป็นหวัด ลักษณะของอาการโดยทั่วไปที่พบบ่อย คือ มีน้ำมูก คัดจมูก แสบจมูก จาม เจ็บคอ คันคอ ระคายคอ ไอ คอแดง รวมถึงการ มีเสมหะมาก เสียงแหบ เสียงเปลี่ยน ซึ่งในทางการแพทย์เรียกกลุ่มอาการลักษณะดังกล่าวว่า เป็นการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน… แล้วเราจะ ดูแลอาการหวัด อย่างไรให้ได้ผลไวไว ตามมาดูกันเลย!

ดีคอลเจน

อาการหวัดที่เกิดจากเชื้อไวรัส ต่างจากหวัดที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียอย่างไร ?

ก่อนที่ไปพูดถึงวิธีการดูแลตัวเองจากโรคหวัด สิ่งแรกที่อยากชวนทุกท่านสำรวจ อาการหวัดของตนเองในเบื้องต้นก็คือการ แยกลักษณะของเชื้อหวัดที่เราได้รับอย่างคร่าวๆ ว่าหวัดที่เราเป็นครั้งนี้ มีตัวการสาเหตุจากไวรัส หรือหวัดแบคทีเรีย

ลักษณะอาการของหวัดจาก เชื้อแบคทีเรีย

มีอาการเจ็บ ๆ คอเล็กน้อย มีน้ำมูกเล็กน้อย ไอจามเล็กน้อย เพลีย ๆ เล็กน้อย ประมาณ 2 – 3 วัน ซึ่งโดยทั่วไปอาการจะค่อย ๆ ทุเลา ดีขึ้น หากได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ

แต่หากมีอาการของเสมหะร่วมด้วย และสีของเสมหะ เปลี่ยนสีจากใส หรือสีขาวเป็นสีเหลืองสีเขียว บางครั้งเป็นสีน้ำตาลหรือมีปนเลือดบ้างเล็กน้อย ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อขอคำแนะนำในการใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Antibiotic หรือยาปฏิชีวนะ) ที่เหมาะสมกับอาการ

ลักษณะอาการของหวัดจาก เชื้อไวรัสในอากาศ

หวัดที่มาสาเหตุจากเชื้อไวรัสในอากาศจะมีลักษณะอาการคล้ายคลึงกับหวัดแบคทีเรีย แต่สิ่งที่แตกต่างเด่นชัดคือ อาการเจ็บคอจะไม่รุนแรง คอไม่แดง ซึ่งหวัดจากไวรัสนั้นไม่มียารักษาโดยตรง (ยกเว้นไวรัสไข้หวัดใหญ่) วิธีการรักษาจึงใช้ยารักษาตามอาการ หมั่นดูแลสุขภาพ ทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และรอให้หายเอง

หวัดจากไวรัสเป็นกลุ่มที่พบมากที่สุด ถึง 70 – 80% ของจำนวนคนไทยที่เป็นหวัดเลยทีเดียว ยิ่งในสภาพแวดล้อมปัจจุบันที่มีปัญหามลภาวะสูง ทำให้เราได้รับเชื้อไวรัสหวัดที่อยู่ในอากาศได้ง่าย และอาจแสดงอาการตามมาหากร่างกายขาดภูมิต้านทานที่ดี


สิ่งเล็ก ๆ ใกล้ตัวที่ช่วยคุณ ดูแลอาการหวัด ให้พลิกดีขึ้น อย่างที่หลายคนไม่คาดคิด

แม้โดยธรรมชาติโรคหวัดจะสามารถหายเองได้ เมื่อร่างกายมีภูมิต้านทานที่แข็งแรงขึ้น แต่ก็กินเวลายาวนานบางครั้งอาจนานถึง 2-3 สัปดาห์ และสร้างความไม่สบายกาย ไม่สบายใจให้กับผู้ป่วยและคนรอบข้างเป็นอย่างมาก วันนี้

เราจึงมีคำแนะนำ และทริคดี ๆ ในการดูแลรักษาอาการหวัด ที่ทุกคนสามารถทำได้ง่าย ๆ แถมยังเห็นผลความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นทันตา

ดูแลอาการหวัด

1. แค่มีเกลือกับน้ำเปล่าอุ่น ๆ ก็ช่วยคุณให้พ้นจากอาการเจ็บคออันแสนบาดใจ

ใครที่เคยเป็นหวัดแล้วมีอาการเจ็บคอ ระคายคอ กลืนแล้วเจ็บ แสบบาดที่คอคงทราบดีว่า มันทุกทรมานมากแค่ไหน ซึ่งสิ่งที่อยากแนะนำให้คุณทำคือ ใช้เกลือ 1 ช้อนชา ผสมน้ำอุ่น 1 แก้ว อมบ้วนปาก นานสัก 2-3 นาที ราวๆวันละ 3 – 4 ครั้ง โดยเฉพาะช่วงหลังรับประทานอาหารที่มีเศษอาหารเคลือบติดอยู่ในช่องปากและบริเวณลำคอ  เพื่อกำจัดเชื้อโรค และลดการสะสมของแบคทีเรีย

2. เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ด้วยไอน้ำจากสมุนไพร

ความอึดอัดคับข้องช่วงเป็นหวัดอีกอย่าง ที่เรียกว่าเป็นสิ่งน่ารำคาญมากกว่าความเจ็บปวดนั้ คือ อาการคัดจมูก มีน้ำมูกไหล หายใจไม่สุด ซึ่งแก้ได้ไม่ยาก เพียงคุณ นำสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย มาเติมด้วยสมุนไพรที่ผ่านความร้อน อย่าง การบูร หรือพิมเสน ตั้งไว้อยู่บริเวณจุดต่าง ๆ ตามมุมห้อง หรือหัวเตียงนอน ซึ่งจะช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลายหลับสบาย ตื่นขึ้นมาอย่างสดชื่นขึ้นด้วย

กลิ่นหอมของสมุนไพร ที่ส่งออกมาอยู่เป็นระยะ ๆ ยังช่วยเครียระบบทางเดินหายใจให้โล่งขึ้น บรรเทาอาการหวัดคัดจมูกให้หายอย่างรวดเร็ว เพราะการปล่อยให้จมูกคุณมีน้ำมูกไหลอยู่นาน ๆ นั้นอาจเสี่ยงต่อการเป็นไซนัสอักเสบตามมาอีกด้วย

3. พืชผักสวนครัว ภูมิต้านทานจากธรรมชาติที่มาพร้อมความอร่อย

สมุนไพรพื้นบ้าน ที่เป็นส่วนผสมของอาหารจานโปรดของคุณ เป็นแหล่งขุมทรัพย์ภูมิต้านทานโรคหวัดชั้นเลิศที่หลายคนมองข้าม พืชผักกลิ่นรสเผ็ดร้อน อย่างพริกไทย หัวหอมแดง กระเทียม ขิง กะเพรา มีสรรพคุณที่พิสูจน์แล้วว่าช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส และแบคทีเรียได้ดีไม่ด้อยไปกว่ายาเลยทีเดียว ซึ่งการทานสมุนไพรเหล่านั้นเป็นประจำยังทำให้คุณมีภูมิต้านทานโรคหวัดที่ดีเยี่ยมกว่าคนอื่นๆ ฉะนั้นแล้ว อาหารมื้อหน้าหากเจอ หอมแดง กระเทียม พริกไทยสดแล้วก็อย่าเผลอเขี่ยทิ้ง

4. เครื่องดื่มต้านหวัดตำรับยาจีน  ดื่มง่าย ทำเองได้ที่บ้าน

ชนชาติจีนเป็นอีกหนึ่งชนชาติที่มีภูมิปัญญาทางการแพทย์ที่ล้ำเลิศ ชาวจีนมักแนะนำให้ลูกหลานหรือคนที่เป็นหวัดให้ทานลูกสาลี่สีเหลืองทอง ที่มีฤทธิ์เย็น รสหวานหอม ใช้รักษาผู้ที่มีอาการร้อนใน มีไข้อ่อน ๆ เรียกความสดชื่นกระปรี้กระเปร่า ชุ่มคอ แก้กระหาย

โดยน้ำผลสดปอกเปลือกมาคั้นน้ำสาลี่สด ดื่มทุกวันจะช่วยป้องกันหวัด ลดเสมหะ ลดอาการไอ ได้อย่างชะงัก หรือ อีกตำราหนึ่ง ให้นำ ‘ไช้เท้า’ สดมาคั้นน้ำ เติมน้ำตาลทรายแดงเล็กน้อยดื่มแก้ไอ แก้เจ็บคอได้ด้วย วันละ 2-3 แก้ว เนื่องจากไช้เท้ามีสรรพคุณในการกระจายตัวของสิ่งหมักหมมในร่างกาย (เชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ) ช่วยละลายเสมหะ แก้พิษ และลดความดันโลหิตได้ดี เป็นสูตรเครื่องดื่มประจำบ้านบำรุงสุขภาพช่วงหน้าหนาว ขจัดปัดเป่าอาการไอให้หมดไปจากบ้านได้อย่างทันตา

5. ขยับร่างกายอยู่อย่างเสมอ เพื่อให้เลือดลมหมุนเวียน ไม่ว่าจะร้อน หรือหนาวก็พร้อมรับมือสบาย

ประโยชน์สำคัญของการออกกำลังกายนั้นเป็นที่ประจักษ์ชัดอยู่แล้วว่า ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานได้เป็นอย่างดี หากแต่คนส่วนใหญ่มักมีคำถามว่า ในเวลาที่มีอาการป่วยเป็นหวัดนั้นควรออกกำลังกายดีหรือไม่ ซึ่งคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวไว้ว่า

ออกกำลังกายเป็นประจำนั้น ส่งผลให้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ได้เคลื่อนไหว เมื่ออวัยวะในร่างกายได้ขยับเขยื้อน ก็จะสามารถควบคุมระดับอุณหภูมิในร่างกายได้ดีขึ้น และทำให้เลือดลมไหลเวียนได้ดีเช่นกัน ทำให้ร่างกายพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ไม่ว่าจะร้อน หรือหนาวได้ทันที

ซึ่งท่าออกกำลังกายเบา ๆ ที่แนะนำให้ทำได้ในช่วงที่มีอาการหวัดไม่รุนแรง ได้แก่ การยืนแกว่งแขน เซตละ 10 ครั้ง วันละ 5-6 เซต หรือการเดินย่ำขาขึ้นลงอยู่กับที่ ตลอดจนการพลิกแพลงโดยการเดินขึ้น และเดินลงบันไดเป็นเวลา 5-10 นาที ก็ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ทำให้ร่างกายรักษาอุณหภูมิให้คงที่

นับเป็นวิธีป้องกันโรคไข้หวัดได้ดีอีกทางหนึ่ง ที่นำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน ทำเป็นประจำร่างกายจะรู้สึกกระปรี้กระเปร่า พร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงจากสภาพอากาศลมฝน ภายนอกได้อย่างไม่ต้องกังวลใจว่าจะติดหวัดจากใคร ๆ กลับมาบ้าน

 

ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องราวสาระน่ารู้เรื่องใกล้ตัวที่หลายคนอาจไม่เคยทราบ หรือทราบแล้วอาจจะยังไม่ได้ลองทำอย่างจริงจัง โรคหวัดแม้จะเป็นสิ่งที่พบได้เป็นประจำทั่วไป และโดยส่วนใหญ่ไม่ได้มีอาการรุนแรง แต่ก็ถือเป็นโรคที่บั่นทอนความสนุกความสุขสดชื่นในชีวิตของคนเราได้มาก

คงไม่มีใครอยากนอนซมอยู่กับบ้านในวันหยุดที่ใคร ๆ ก็ต่างออกไปทำกิจกรรมที่ชอบกันได้อย่างสบายใจ ดูแลด้วยทริคเล็ก ๆ ง่าย ๆ ที่เรานำมาบอกนี้ แล้วเตรียมบอกลาโรคหวัดกันได้เลย!

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close