จดแล้วแชร์… 13เคล็ดลับ ระงับกลิ่นปาก!

กลิ่นปาก

กลิ่นปาก นอกจากจะเหม็น จนอาจทำให้คู่สนทนาของคุณเบือนหน้าหนีแล้ว ยังทำให้เสียบุคลิกภาพ และทำให้ขาดความมั่นใจได้อีกด้วย บางคนอาจถึงขั้นตกอยู่ในความเครียดได้เลยทีเดียว เพราะบางครั้ง ปัญหาที่ดูเหมือนจะเล็ก ๆ อย่างนี้ ก็อาจส่งผลกระทบถึงหน้าที่การงาน และความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับคนใกล้ตัวได้เช่นกัน!

“ทดสอบกลิ่นปาก” ปากเหม็นหรือไม่ รู้ไว้ก่อนไปคุยกับคนอื่น

  1. หายใจเข้าเต็มปอด ใช้มือป้องปาก และจมูกเอาไว้ แล้วพ่นลมหายใจออกจากปาก สูดลมหายใจเข้าทางจมูก เพื่อดมกลิ่นดูว่ามีกลิ่นเหม็นหรือไม่
  2. เลียข้อมือแล้วดม หรือจะใช้นิ้วถูเหงือกแล้วนำมาดมทดสอบกลิ่นก็ได้
  3. บ้วนน้ำลายออกมาแล้วลองดมกลิ่น โดยปกติแล้ว น้ำลายจะไม่มีกลิ่น ถ้าน้ำลายมีกลิ่น แสดงว่ามีการปนเปื้อนของเชื้อโรค และเป็นไปได้ว่า น้ำลายนั้นผ่านนิ่วที่ต่อมทอนซิล ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของกลิ่นปาก ออกมา
  4. ขอร้องให้คนใกล้ชิดช่วยบอกว่ามีกลิ่นปากหรือไม่

กลิ่นปาก

กลิ่นปาก มาจากไหน?

กลิ่นปาก สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยแบ่งออกเป็นสาเหตุใหญ่ๆ ได้เป็น สาเหตุที่เกิดขึ้นภายในช่องปาก และสาเหตุที่เกิดขึ้นนอกช่องปาก

  • สาเหตุจาก ภายในช่องปาก
    กลิ่นปาก คือสัญญาณหนึ่งที่บ่งบอกว่า มีความผิดปกติเกิดขึ้นภายในช่องปากของคุณ โดยสาเหตุที่ทำให้มีกลิ่นปากคือ มีแผลในช่องปาก ฟันผุ เป็นโรคเหงือกอักเสบ หรือมีอาการภูมิแพ้ นอกจากนี้ ผู้ที่ต้องใส่เครื่องมือต่างๆ ภายในปาก เช่น เครื่องมือจัดฟัน หรือฟันปลอม หากดูแลรักษาความสะอาดได้ไม่ดี ก็สามารถทำให้เกิดกลิ่นปากได้เช่นกัน
  • สาเหตุจาก ภายนอกช่องปาก
    สาเหตุจากภายนอกช่องปาก เป็นสาเหตุที่เกิดจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ การรับประทานอาหารบางชนิดที่มีกลิ่นแรง ก็ทำให้เกิดกลิ่นปากได้ นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายโรคที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดกลิ่นปากได้เช่นกัน เช่น โรคไซนัสอักเสบ โรคทอนซิลอักเสบ โรคมะเร็งโพรงกระดูก กรดไหลย้อน โรคปอดเรื้อรัง วัณโรคปอด หรือมะเร็งปอด แม้แต่โรคที่เกิดขึ้นในระบบขับถ่าย ที่ทำให้การขับถ่ายผิดปกติ ก็สามารถสร้างกลิ่นปากได้ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มีการควบคุมน้ำตาลที่ไม่ดี ก็จะมีกลิ่นปากเช่นกัน

วิธีดับกลิ่นปาก

การดับกลิ่นปาก สามารถทำได้หลายวิธี มีทั้งการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ และแบบชั่วคราวยามฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเป็น

  • รักษาสุขภาพฟัน และช่องปาก ให้สะอาดเสมอ การแปรงฟันทุกครั้งหลังมื้ออาหาร เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยลดกลิ่นปากได้
  • ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ เพื่อช่วยขจัดเศษอาหาร และกำจัดเชื้อโรค
  • ยาสีฟันผสมเกลือ หรือเกลือเพียงอย่างเดียว สามารถนำมาแปรงฟันได้ เพราะเกลือช่วยระงับกลิ่นปากได้ การใช้น้ำเกลือกลั้วคอ หรืออมน้ำเกลือหลังแปรงฟันเสร็จ ก็ช่วยได้เช่นกัน
  • ใช้ไหมขัดฟันหลังแปรงฟัน เพื่อกำจัดเศษอาหารที่ติดตามซอกฟัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
  • ทำความสะอาดลิ้นทุกวัน ผิวลิ้นที่ขรุขระ จะเป็นที่กักเก็บเศษอาหารต่างๆ ทำให้มีแบคทีเรียที่มีผลต่อกลิ่นปากสะสมอยู่ตามโคนลิ้น ใช้แปรงสีฟันแปรงลิ้น โดยแปรงให้ลึกถึงโคนลิ้น หรือใช้ไม้ขูดลิ้นขูดฝ้าบนลิ้นออก
  • ขูดหินปูนเป็นประจำทุก 6 เดือน หรืออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หินปูน เป็นอีกสาเหตุหลักของการเกิดกลิ่นปากที่ไม่ควรมองข้าม
  • เคี้ยวหมากฝรั่ง หรืออมลูกอมเพื่อดับกลิ่นปาก รวมถึงสเปรย์ระงับกลิ่นปาก สามารถช่วยดับกลิ่นปากได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น
  • รักษาแผลในช่องปาก หากมีแผลในช่องปาก ควรแปรงฟันทันทีหลังกินอาหารเสร็จ ถ้าแปรงฟันหรืออ้าปากไม่ได้ ให้บ้วนปากด้วยน้ำเกลืออุ่น ทุกครั้งหลังการรับประทาน และใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำอุ่นพันนิ้วเช็ดฟัน
  • เลิกสูบบุหรี่ กลิ่นของบุหรี่ที่ตกค้างอยู่ในช่องปาก เมื่อผสมกับกลิ่นอื่นๆ สามารถทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเฉพาะได้
  • หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก
  • ดื่มน้ำเยอะ ๆ (ข้อนี้สำคัญและทำได้ง่ายมาก) อย่าปล่อยให้ปากแห้ง เพราะจะทำให้ความเข้มข้นของแบคทีเรียในช่องปากมีเพิ่มมากขึ้น จนทำให้เกิดกลิ่นปากได้ น้ำลายสามารถช่วยชะล้างสิ่งสกปรกที่เป็นสาเหตุของกลิ่นปากออกไปได้
  • ดื่มน้ำมะนาว เพราะน้ำมะนาวจะช่วยเพิ่มปริมาณของน้ำลายได้ กรดซิตริกในมะนาว มีคุณสมบัติคล้ายกับกรดในน้ำลาย ที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียในช่องปากได้ การนำเปลือกมะนาวหรือเปลือกส้ม ที่คั้นน้ำแล้วมาเคี้ยวก็ได้ผลเช่นกัน แต่หลังจากเคี้ยวแล้วต้องบ้วนปากด้วยน้ำสะอาดทุกครั้ง เนื่องจาก กรดชนิดนี้ หากทิ้งไว้ในปากนานๆ ก็สามารถกัดกร่อนเนื้อฟันได้
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีกลิ่นแรง หากสาเหตุในการเกิดกลิ่นปากของคุณมาจากอาหาร ก็ควรระมัดระวังเรื่องการรับประทานอาหารมากขึ้น และเลี่ยงอาหารที่มีกลิ่นแรง

ขอขอบคุณภาพInfographic เรื่องกลิ่นปาก จาก สสส.

“Expert ดีดี” โควิด-19 ไอ หวัด ปวดท้อง ภูมิแพ้ อย่าปล่อยให้เรื้อรัง ปรึกษาฟรี คลิกเลย!

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close