8 อาการเสี่ยง! “มะเร็งโพรงจมูก” รู้ให้ทัน รีบรักษา ก่อนสาย

มะเร็งโพรงจมูก

มะเร็งเป็นโรคร้ายที่ทุกคนคุ้นหู รู้จักกันเป็นอย่างดี แต่มีมะเร็งบางชนิดที่เราไม่ค่อยรู้จัก หรือคุ้นหูนัก เช่น “มะเร็งโพรงจมูก” ซึ่งถึงแม้จะไม่ได้ยินมะเร็งชนิดนี้บ่อยนัก แต่มะเร็งโพรงจมูก นั้นมีโอกาสเกิดขึ้นได้บ่อยไม่แพ้มะเร็งในบริเวณอื่น ๆ

มะเร็งโพรงจมูก (Nasopharyngeal carcinoma) สามารถเกิดขึ้นกับคนที่ร่างกายแข็งแรงปกติดี ไม่ได้สูบบุหรี่ สิ่งสำคัญ คือ ต้องคอยหมั่นสังเกตความผิดปกติของตัวเอง ถ้าเจอเร็ว ในระยะแรก ๆ ก็ทำให้มีโอกาสรักษาหายได้ง่ายกว่า รักษาได้ทันเวลา ก็มีโอกาสหายได้รวดเร็วกว่า

ดีคอลเจน

มะเร็งโพรงจมูกเกิดขึ้นบริเวณไหน?

มะเร็งในโพรงจมูกจะเกิดบริเวณหลังโพรงจมูก โดยโพรงจมูกจะมีลักษณะเป็นโพรงกว้าง อยู่ทางด้านหลังของจมูก เป็นทางผ่านของอากาศไปยังผนังคอ

อาการเริ่มแรกของมะเร็งในโพรงจมูก

ระยะ หรือ อาการเริ่มแรก จะมีอาการหูอื้อข้างเดียว ชาที่บริเวณใบหน้าบางส่วน และมีก้อนนูนอยู่ตรงต้นคอใต้ติ่งหู มีเลือดกำเดาไหล คัดจมูกข้างเดียว หรือบางครั้งเห็นภาพซ้อน ซึ่งจะมีอาการแตกต่างจากไข้หวัดทั่วไป หากมีอาการเหล่านี้นอกเหนือจากไอ เจ็บคอ และน้ำมูกไหล ควรรีบพบแพทย์

มะเร็งโพรงจมูก

สาเหตุของมะเร็งโพรงจมูก

พันธุกรรม สาเหตุมะเร็งโพรงจมูกอาจจยังไม่ทราบชัด แต่หากมีพ่อแม่ ญาติพี่น้อง เป็นมะเร็งโพรงจมูก อาจมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นได้มาก โดยเฉพาะคนจีน หรือ คนไทยเชื้อสายจีน ยิ่งมีโอกาสสูง เพราะ พบว่ามะเร็งหลังโพรงจมูกมีความชุกสูงเฉพาะในประเทศจีนตอนใต้

มลพิษ เช่น ฝุ่นละออง ควันบุหรี่ ควันพิษ ท่อไอเสีย สารเคมีต่าง ๆ อาจเป็นปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเกิดมะเร็งหลังโพรงจมูก

เชื้อไวรัส ไวรัสเอปสไตน์บาร์ (Epstein-Barr virus – EBV) อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิด มะเร็งหลังโพรงจมูก โดยศึกษาพบว่าผู้ป่วยมะเร็งหลังโพรงจมูกจะมีสารภูมิคุ้มกันต่อไวรัสชนิดนี้ ในปริมาณที่สูงกว่าคนทั่วไป

อาหาร พบว่าในมณฑลกวางตุ้งซึ่งมีอุบัติการณ์ของมะเร็งหลังโพรงจมูกในอัตราสูงนั้น ประชาชนนิยมบริโภคปลาหมักเค็มกันมากกว่าจีนส่วนอื่น


8 อาการเสี่ยง มะเร็งโพรงจมูก

หากมีอาการเหล่านี้ นานมากกว่า 2 สัปดาห์ กินยา หรือรักษาทั่ว ๆ ไปแล้วยังไม่หาย อาจเป็นสัญญาณอันตรายของมะเร็งโพรงจมูก ควรไปพบคุณหมอหูคอจมูก เพื่อซักประวัติ และตรวจรักษาอย่างละเอียด

1. มีอาการคล้ายเป็นหวัด ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล มะเร็งโพรงจมูก อาจมีอาการเบื้องต้นคล้าย เป็นหวัด มักมีอาการไอ เจ็บคอ และน้ำมูกไหล

2. คลำเจอก้อนที่คอ เป็นอาการที่พบเจอได้บ่อยที่สุด โดยส่วนใหญ่จะคลำเจอก้อนเล็ก ๆ ที่คอด้วยตัวเองก่อน อาจเจอได้ข้างเดียว หรือทั้งสองข้างก็ได้

3. เสียงแหบ กลืนอาหารลำบาก รู้สึกว่าขากรรไกรแข็ง ไม่สบายตัว กลืนอาหารไม่ได้ น้ำหนักลดลง

4. หูอื้อข้างเดียว มีเสียงดังในหู ปวดหู มีของเหลวไหลออกจากหู ซึ่งเกิดจากการทำงานผิดปกติของท่อเชื่อมหูชั้นกลาง เนื่องจากมะเร็งหลังโพรงจมูก เริ่มกระจายตัวมาถึง

5. มีน้ำมูกปนเลือด สั่งน้ำมูกออกมามีเลือดปน เสมหะเป็นเลือดบ่อย อย่าคิดว่าแค่เส้นเลือดฝอยแตก นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนสำคัญ

6. มีน้ำมูกไหลลงคอเรื้อรัง แน่นจมูกหายใจไม่ค่อยสะดวก มีน้ำมูก แต่ไม่หายสักที กินยาลดน้ำมูก รักษาไซนัสอักเสบแล้วก็ยังไม่หาย

7. ปวดศีรษะ มองเห็นภาพซ้อน เริ่มมีอาการที่สมอง

8. มีอาการอัมพาตของกล้ามเนื้อใบหน้า 

ขั้นตอนการตรวจ มะเร็งโพรงจมูก

  • ส่องกล้อง หากมีอาการที่เสี่ยงกับมะเร็งโพรงจมูก คุณหมอจะส่องกล้องดูภายในจมูก ดูที่หลังโพรงจมูกว่ามีความผิดปกติไหม
  • เก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อ หากพบความผิดปกติ หมอจะเก็บชิ้นเนื้อนั้นออกมาตรวจ
  • การตรวจแสกนต่าง ๆ เพื่อหาขนาด และการลุกลาม ทั้ง CTscan การตรวจ MRI การตรวจ bone scan และการตรวจอัลตราซาวด์ตับ (liver ultrasound) เป็นต้น

การรักษามะเร็งโพรงจมูก

  • การฉายรังสี เป็นวิธีการที่ใช้รักษามะเร็งโพรงจมูกเป็นหลัก การฉายรังสีจะใช้แสงรังสีที่มีพลังงานสูงไปทำลายเซลล์มะเร็ง
  • การให้เคมีบําบัด การให้เคมีบำบัด หรือ ทำคีโมฯ​ คุณหมอมักทำควบคู่ไปพร้อมกับการฉายรักษี เพื่อประสิทธิภาพในการรรักษา
  • การผ่าตัด โดยปกติจะไม่ผ่าตัดเพื่อรักษามะเร็งหลังโพรงจมูก เพราะการผ่าตัดอยู่ใกล้อวัยวะสำคัญ ทั้งเส้นเลือดแดงใหญ่ที่เลี้ยงคอและสมอง ฐานกะโหลกศีรษะ แต่อาจจะผ่าตัดได้หากรักษาและควบคุมมะเร็งได้แล้ว แต่ยังมีก้อนที่คอ

ถามหมอออนไลน์ ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ดีคอลเจน

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close