แบบไหนที่เรียกว่า “สปอยลูก” คุณกำลังตามใจลูกเกินไปหรือเปล่า?

ตามใจลูก

ใคร ๆ ก็อยากให้ลูกเราเป็นเด็กที่น่ารักสำหรับทุกคนที่พบเจอ แต่การเลี้ยงลูกไม่ใช่เรื่องง่ายเลย สิ่งที่เราคิดว่าทำไปเพื่อลูกด้วยความรัก แต่จริง ๆ อาจจะกำลังทำร้ายลูก ตามใจลูก เกินไปโดยไม่รู้ตัว

อย่าให้ใครมาว่าได้ว่าเราเป็นพ่อแม่ที่สปอยล์ลูกจนเสียคน มาเช็กกันว่าคุณเลี้ยงลูกแบบตามใจมากเกินไปหรือเปล่า?

ตามใจลูก

4 นิสัยที่พ่อแม่กำลัง ตามใจลูก จนเกินไป

• ไม่เคยให้ลูกหยิบจับทำงานบ้านเลย พ่อแม่สมัยนี้มีพี่เลี้ยง มีแม่บ้านอยู่ และคิดว่าลูกมีหน้าที่คือเรียนหนังสือ จึงไม่เคยให้ลูกได้หยิบจับทำงานบ้านเลย แม้จะเป็นงานเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่การมอบหมายงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ นั้น เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างทักษะชีวิตให้ลูกเมื่อเติบโตขึ้นไป ให้ลูกรู้จักรับผิดชอบต่อตัวเอง ต่อคนอื่น และฝึกฝนสร้างระเบียบวินัย

• อยากได้อะไรต้องได้ เป็นธรรมดาที่เวลาออกไปเที่ยว ลูกจะงอแง ร้องไห้อยากได้โน่นได้นี่ พ่อแม่อาจจะใจแข็งในตอนแรก แต่ถ้าสุดท้ายคุณคือฝ่ายที่พ่ายแพ้ยอมให้ลูกได้สิ่งที่อยากได้ทุกครั้งไป นี่เป็นสัญญาณอันตรายว่ากำลังตามใจลูกมาเกินไป เพราะลูกจะไม่ได้เรียนรู้ที่จะเจอกับความผิดหวัง สร้างนิสัยที่เป็นเด็กเอาแต่ใจ เมื่อต้องเจอกับเรื่องที่ไม่ได้ดังใจ จะทำให้ลูกไม่สามารถรับมือกับอารมณ์ความรู้สึกนั้นได้

ตามใจลูก

 

• ต้องติดสินบนลูกเป็นประจำ “ถ้าลูกหยุดร้องไห้ เดี๋ยวแม่พาไปกินขนม” “ถ้าลูกไปอาบน้ำ เดี๋ยวแม่ให้กินขนม” การให้รางวัล ของขวัญ ติดสินบน ควรทำเพื่อลูกมีพฤติกรรมที่น่าชื่นชม เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมทางบวก

แต่ไม่ควรใช้บ่อย ๆ พร่ำเพรื่อ เวลาที่ลูกไม่ทำตามต้องการ เพราะเมื่อทำบ่อยครั้งเข้าลูกจะเคยชิน ถ้าไม่มีสินบน จะไม่เชื่อฟัง หรือทำตามที่พ่อแม่บอก ลูกจะไม่มีความภาคภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองทำ แค่ทำ ๆ ไปเพื่ออยากได้สิ่งของเท่านั้น

• ไม่ทำโทษ หรือปรับพฤติกรรมลูกอย่างจริงจัง จริงอยู่ว่าการทำโทษ อาจเป็นเรื่องที่ล้าสมัย แต่การทำโทษไม่ใช่เพียงการดุด่า จับลูกมาตีเท่านั้น การทำโทษที่เหมาะสม คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูก ให้ลูกเรียนรู้สิ่งที่ถูกต้อง

เช่น เมื่อลูกทุบตีพ่อแม่ หยิกข่วน หากพ่อแม่ได้แต่บอกว่า “อย่าทำสิลูก อย่าทำแบบนี้ไม่ดีนะคะ” แต่ก็ยังปล่อยให้ลูกทำไปเรื่อย ๆ แบบนี้คือการไม่ปรับพฤติกรรมลูกอย่างจริงจัง ซึ่งไม่สามารถทำให้ลูกเรียนรู้ หรือเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ตัวอย่าง การปรับพฤติกรรมในเด็ก

“Expert ดีดี” ไอ หวัด ปวดท้อง ภูมิแพ้ อย่าปล่อยให้เรื้อรัง ปรึกษาฟรี คลิกเลย!

กดติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่  facebook nutroplex line youtube

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close