gedgoodlife

อาหารต้านฝุ่นพิษ PM2.5 – กินดีเสริมภูมิ พร้อมสู้ฝุ่นร้าย!

  ปัญหาฝุ่นพิษ PM2.5 กลับมาทำร้ายสุขภาพเราอีกแล้ว! โดยหลายจังหวัดในประเทศไทยมีค่า AQI หรือค่าฝุ่น PM2.5 พุ่งสูงเกินมาตรฐาน ฉะนั้น นอกจากการใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันฝุ่นพิษแล้ว อาหารการกินก็มีส่วนช่วยต้านฝุ่นพิษได้เช่นกันนะ วันนี้ GedGoodLife จึงขอฝาก อาหารต้านฝุ่นพิษ PM2.5 กินแล้วดีต่อสุขภาพ ห่างไกลโรคร้าย… จะมีอาหารอะไรบ้างนั้น มาติดตามกันเลย! ฝุ่น pm2.5 ทำร้ายเรายังไงบ้าง ? ระบบทางเดินหายใจ – ฝุ่น pm2.5 จะกระตุ้นให้เซลล์ปอดสร้างอนุมูลอิสระ ทำให้เกิดการระคายเคือง และการอักเสบของระบบทางเดินหายใจ ประสิทธิภาพการทำงานของปอดลดลง หัวใจทำงานหนักขึ้น มีอาการไอ ไอเรื้อรัง มีเสมหะ หายใจลำบาก และยังสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้ง่ายขึ้นด้วย โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ หรือเป็น ภูมิแพ้อากาศ ระบบหลอดเลือดหัวใจ – ทำให้ระดับความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น เพิ่มระดับไขมันโคเลสเตอรอลชนิดร้าย (LDL) และไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ในกระแสเลือด รวมถึงลดระดับโคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ในกระแสเลือด เป็นสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดโรคทางหลอดเลือดหัวใจ และอาจส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจวาย หัวใจวายเฉียบพลัน ภาวะหลอดเลือดสมองแตก หัวใจเต้นผิดจังหวะ ได้ในที่สุด เด็กแรกเกิด – ละอองฝุ่นพิษ สามารถเข้าสู่ทารกผ่านทางกระแสเลือดในขณะที่ยังอยู่ในครรภ์มารดา ทำให้ทารกที่คลอดออกมาอาจมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ และมีผลต่อการพัฒนาสมองได้ อาหารต้านฝุ่นพิษ PM2.5 – กินดีเสริมภูมิ พร้อมสู้ฝุ่นร้าย!

3 สิ่งควรรู้ ก่อนการหาคลินิก “ทำฟันปลอมในกรุงเทพ”

  การดูแลรักษาเรื่องสุขภาพปาก และฟันนั้นเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยเสริมให้สุขภาพปากมีความแข็งแรง หากได้รับการดูแลอย่างถูกวิธี ซึ่งรวมถึงผู้ที่ใส่ฟันปลอมเช่นกัน ซึ่งต้องใส่ใจและดูแลให้มากเป็นพิเศษ และหากใครที่กำลังมองหาสถานที่ ทำฟันปลอมในกรุงเทพ อยู่ด้วยล่ะก็ ต้องบอกเลยว่า ควรเลือกสถานทันตกรรมที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐานเพื่อคุณได้ฟันสวยพร้อมมีสุขภาพช่องปากที่ดีในทุกวัน สำหรับผู้ที่ใส่ฟันปลอม อาจต้องมีการดูแลที่แตกต่าง เพราะต้องใส่ใจสุขภาพช่องปากให้ถูกวิธี ถ้าจะให้ดีแล้วเราควรไปเรียนรู้ถึงการดูแลรักษาฟันปลอม หรือฟันเทียมกันก่อน เพื่อจะได้สร้างมั่นใจ อีกทั้งสำหรับผู้ที่กำลังมองหาสถานที่ทำฟันปลอมในกรุงเทพอยู่ ก็จะช่วยให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้งานด้วยนั่นเอง 1. ขณะนอนหลับควรถอดฟันปลอม สำหรับผู้ที่กำลังมองหาร้านหมอฟันสำหรับทำฟันปลอมในกรุงเทพนั้น อาจจะต้องรู้เพิ่มเติมกันก่อนการทำฟันปลอม เพราะในเรื่องของการดูแลรักษานั้นจะช่วยทำให้เราสามารถใส่ฟันปลอมได้อย่างยาวนาน แต่สำหรับมือใหม่เพิ่งเริ่มใส่ฟันปลอมแล้ว ควรรู้เอาไว้ว่าขณะนอนหลับในช่วงกลางคืนไม่ควรใส่ฟันปลอม เพราะอาจทำให้ฟันปลอมหรือฟันเทียมเกิดการสะสมของเชื้อรา จนทำให้เกิดอาการอักเสบของเนื้อเยื่อบุภายในปากได้ สิ่งที่ควรทำคือควรถอด และทำความสะอาดฟันปลอมให้ดี และแช่น้ำเปล่าเอาไว้ก่อนนอนทุกวัน 2. หลีกเลี่ยงการใช้ยาสีฟันที่มีผงขัดทำความสะอาด สำหรับผู้ที่กำลังตัดสินใจเลือกคลินิกสำหรับทำฟันปลอมในกรุงเทพอยู่ การรู้ถึงการรักษาฟันปลอมเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งอีกหนึ่งข้อที่ควรรู้ก็คือ ในการทำความสะอาดฟันปลอมนั้น ไม่ควรใช้ยาสีฟันที่มีผงขัดทำความสะอาดฟันปลอม เพราะอาจจะทำให้เกิดรอยขีดข่วน ซึ่งอาจส่งผลให้ฟันเทียมเกิดความสึกหรอ เสื่อมสภาพ และติดสีง่าย อีกทั้งยังอาจทำให้เป็นที่สะสมของเหล่าเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งการดูแลที่ถูกต้อง คือ สามารถใช้น้ำสบู่ในการทำความสะอาดฟันปลอม ก็ถือว่าสะอาดแล้ว 3. ตรวจเช็กสุขภาพช่องปากเป็นประจำ อีกหนึ่งสิ่งที่เหล่าผู้กำลังมองหาสถานที่ทำฟันปลอมในกรุงเทพควรรู้เอาไว้ นั่นคือ หลังจากคุณได้ใส่ฟันปลอมแล้วใช้ในชีวิตประจำวันอย่างคุ้นเคยแล้ว ก็ควรที่จะได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำ 3 สิ่งควรรู้ ก่อนการหาคลินิก “ทำฟันปลอมในกรุงเทพ”

ฝุ่น PM2.5 คืออะไร ทำร้ายสุขภาพเรายังไงบ้าง? สาเหตุ อาการ วิธีป้องกัน

  ตื่นเช้ามา เห็นหมอกหนาทึบ ปกคลุมท้องฟ้า นึกว่าอากาศหนาว แต่ที่ไหนได้… มันกลับเป็น มลพิษร้าย PM 2.5 ที่แวะเวียนกลับมาเยือนเราทุกต้นปี! ฉะนั้นวันนี้ GedGoodLife จึงขอเล่าถึง ความร้ายกาจของเจ้า ฝุ่น PM2.5 นี้ให้หายสงสัยกัน ว่ามีสาเหตุจากอะไร ส่งผลร้ายต่อสุขภาพของเรายังไง มีผลต่อการติดเชื้อไวรัส Covid-19 หรือไม่ มีวิธีป้องกันได้อย่างไรบ้าง? มาติดตามกันเลย! ค่าฝุ่นPM2.5 ระดับไหน อันตรายต่อสุขภาพ? เตือนภัยฝุ่นPM2.5 !! ทำป่วยแล้วกว่าแสนราย ใส่หน้ากาก พกยาแก้แพ้ไว้เลย! ภูมิแพ้อากาศ และฝุ่น รักษายังไง กินยาอะไรได้บ้างครับ? ฝุ่น PM2.5 คืออะไร? ตามคําจํากัดความของสํานักป้องกันสิ่งแวดล้อมสหรัฐ (Environmental Protection Agency ; US.EPA) ระบุว่า PM2.5 หมายถึง ฝุ่นละเอียด เป็นอนุภาคที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (ด้วยขนาดที่เล็กมาก ๆ เราจึงมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่ถ้าฝุ่นนี้มีปริมาณสูงมาก ฝุ่น PM2.5 คืออะไร ทำร้ายสุขภาพเรายังไงบ้าง? สาเหตุ อาการ วิธีป้องกัน

9 ผลไม้น้ำตาลน้อย ดีต่อสุขภาพ ห่างไกลเบาหวาน และความอ้วน

  ถ้าคุณเป็นคนรักสุขภาพ ที่ชอบกินผลไม้เป็นประจำ หรือ จะเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องควบคุมน้ำตาล ต้องไม่พลาดติดตามบทความนี้ เพราะวันนี้ GedGoodLife จะขอแนะนำ ผลไม้น้ำตาลน้อย 9 ชนิด รับประทานได้เป็นประจำทุกวัน ไม่อ้วน ช่วยเสริมสุขภาพให้แข็งแรง และยังห่างไกลเบาหวานอีกด้วย อย่ารอช้า! มาติดตามกันได้เลย รู้หรือไม่… เราควรบริโภคน้ำตาลกี่กรัม ต่อวัน? องค์การอนามัยโลกแนะนำว่า ปริมาณน้ำตาลที่เติมในอาหาร ไม่ควรเกินร้อยละ 10 ของปริมาณพลังงานทั้งหมดที่ได้รับในแต่ละวัน โดยปริมาณน้ำตาลที่เหมาะสมต่อวันของแต่ละช่วงอายุ (จากกองโภชนาการ, กรมอนามัย) มีดังนี้ * น้ำตาล 1 ช้อนชา เท่ากับประมาณ 4 กรัม และน้ำตาล 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี – ในเด็กและผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ควรบริโภคน้ำตาลไม่เกิน 16 กรัม ต่อวัน หรือเทียบได้กับน้ำตาล 4 ช้อนชา – 9 ผลไม้น้ำตาลน้อย ดีต่อสุขภาพ ห่างไกลเบาหวาน และความอ้วน

ยับยั้งก่อนสาย! โควิด-19 กลายพันธุ์ น่ากลัวแค่ไหน วัคซีนเอาอยู่หรือไม่!?

  ณ ขณะนี้ มีหลายประเทศรายงานว่า พบ โควิด-19 กลายพันธุ์ ซึ่งติดต่อกันได้ง่ายกว่าเดิม! กระจายรวดเร็วกว่าเดิม! การกลายพันธุ์ของไวรัสร้ายนี้ จะน่ากลัวแค่ไหน วัคซีนเอาอยู่หรือไม่ มาค้นหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันเลย! โควิด-19 กลายพันธุ์ : ต้นกำเนิด และสาเหตุการกลายพันธุ์ โควิด-19 ที่กลายพันธุ์ชนิดใหม่ มีชื่อว่า VUI-202012/01 หรือ “B.1.1.7” เกิดขึ้นใน ลอนดอน ประเทศอังกฤษ พบครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายน 2563 และอีกสามเดือนถัดมา ลอนดอนก็กลายเป็นแหล่งแพร่เชื้อกลายพันธุ์ชนิดใหม่ โดยนายกรัฐมนตรีประเทศอังกฤษ บอริส จอห์นสัน ระบุว่าเชื้อชนิดนี้อาจสามารถแพร่สู่กันได้ง่ายขึ้นถึง 70% ส่วนสาเหตุการกลายพันธุ์คาดว่า เกิดจากคนไข้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้ จึงทำให้ร่างกายของคนไข้กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อไวรัสที่กลายพันธุ์นั่นเอง นอกจากในอังกฤษที่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 พันธุ์กลายนี้นับพันรายแล้ว ปัจจุบัน หลายสิบประเทศก็พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 พันธุ์กลาย B.1.1.7 แล้วเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ สเปน สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี ยับยั้งก่อนสาย! โควิด-19 กลายพันธุ์ น่ากลัวแค่ไหน วัคซีนเอาอยู่หรือไม่!?

จริงหรือไม่!? ป่วยโควิดห้ามกินยา แอสไพริน I • สรรพคุณ • วิธีใช้ • และผลข้างเคียง

  แอสไพริน (aspirin) ชื่อยาที่คุ้นหูกันดีว่าเป็นยาสามัญประจำบ้าน รักษาได้หลายโรคเลยทีเดียว แต่รู้หรือไม่ว่า ยาตัวนี้ถึงแม้จะมีคุณอนันต์ แต่ก็มีโทษมหันต์เช่นกัน ถ้าใช้รักษาโรคผิด ๆ !! งั้นเรามาดู สรรพคุณ วิธีใช้ ผลข้างเคียง และค้นหาคำตอบกันว่าจะรักษาโรคโควิด-19 ได้หรือไม่!? มาติดตามกันเลย! แอสไพริน คือยาอะไร? สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย. – FDA Thai) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับยาแอสไพริน ไว้ดังนี้ แอสไพริน คือสารสังเคราะห์ที่ชื่อว่า อะซีติลซาลิไซลิค (Acetylsalicylic acid) เป็นยาในกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ (non-steroidal antiinflammatory drugs หรือ NSAIDs – เอนเสด) เป็นยาที่มีหลายขนาด ตั้งแต่ 75 – 300 มิลลิกรัม ขึ้นไป แยกขนาดได้ดังนี้ แอสไพริน 75, 81, 300, 325 มิลลิกรัม ชนิดเม็ด จริงหรือไม่!? ป่วยโควิดห้ามกินยา แอสไพริน I • สรรพคุณ • วิธีใช้ • และผลข้างเคียง

10 วิธีแก้ง่วงตอนบ่าย พร้อมแบบทดสอบอาการง่วงนอน

  ตกบ่ายทีไรเป็นต้องง่วงจนตาปรือทุกที ทั้งที่ช่วงพักเที่ยงยังรู้สึกคึกคักดีอยู่เลย! พอง่วงแล้วเนี่ยสมาธิทำงานก็ไม่มี คิดงานก็ไม่ออก หรือถ้ายังเป็นนักเรียนอยู่ ก็เรียนไม่รู้เรื่อง ฟังครูสอนไม่ทันอี๊กก เจอแบบนี้คงต้องงัด “10 วิธีแก้ง่วงตอนบ่าย” มาใช้กันแล้วล่ะ! แล้วอย่าลืมทำแบบทดสอบอาการง่วงนอน ท้ายบทความกันด้วยนะ อาการง่วงนอนตอนบ่าย เกิดจากอะไร? ธรรมชาติร่างกายของคนเรามักจะง่วงนอนอยู่ 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงระหว่างเที่ยงคืน ถึง 7 โมงเช้า และบ่ายโมง ถึง 4 โมงเย็น ใครที่ต้องทำงานในช่วงเวลาดังกล่าว ก็มีโอกาสสูงที่จะง่วงนอนได้ง่าย โดยเฉพาะผู้ที่นอนหลับไม่เพียงพอ ส่วนสาเหตุของการ ง่วงนอนตอนบ่าย นั้น สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ● นอนดึก หรือนอนน้อย คือตัวการหลักของอาการ ง่วงนอนตอนบ่าย เพราะโดยเฉลี่ยแล้ว ร่างกายของเราต้องพักผ่อนอย่างน้อย 7-9 ชั่วโมงต่อวัน (อาจจะมาก หรือน้อยกว่านี้ตามแต่ละบุคคล) ● ปัญหาสุขภาพจิต เช่น การเปลี่ยนแปลงของสุขภาพจิต โดยสาเหตุของอาการง่วงนอนส่วนใหญ่มักมาจากอาการเบื่อหน่าย ขณะที่ภาวะซึมเศร้าก็ส่งผลให้เกิดความอ่อนเพลีย จนเป็นสาเหตุของอาการง่วงเหงาหาวนอน ● สภาพอากาศ และสิ่งแวดล้อม เช่น 10 วิธีแก้ง่วงตอนบ่าย พร้อมแบบทดสอบอาการง่วงนอน

เช็กอาการ 4 โรคยอดฮิต ! โควิด-19 VS ไข้หวัด VS ไข้หวัดใหญ่ VS ภูมิแพ้ แตกต่างกันอย่างไร?

  ทุกวันนี้ ใคร ๆ ก็จะพูดถึงอาการของโควิด-19 แต่ยังมีอีก 3 โรค ที่คนเรามักจะป่วยกันเยอะเช่นกัน นั่นก็คือ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และภูมิแพ้ นั่นเอง… ฉะนั้น อย่าได้ประมาทไป ตามมาเช็กอาการ 4 โรคยอดฮิต ไปพร้อม ๆ กันเลยดีกว่า ว่าจะมีอาการอะไรบ้าง… โรคโควิด-19 โควิด-19 คือโรคติดต่อซึ่งเกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ไวรัส และโรคอุบัติใหม่นี้ไม่เป็นที่รู้จักเลย ก่อนที่จะมีการระบาดในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีนในเดือนธันวาคมปี 2019 ขณะนี้โรคโควิด 19 มีการระบาดใหญ่ไปทั่ว ส่งผลกระทบแก่หลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย อาการของโรคโควิด-19 (COVID-19) ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก – WHO ได้ระบุ อาการโควิด-19 ไว้อย่างละเอียดดังนี้ อาการทั่วไปมีดังนี้ มีไข้ ไอแห้ง อ่อนเพลีย อาการที่พบไม่บ่อยนักมีดังนี้ ปวดเมื่อยเนื้อตัว เจ็บคอ ท้องเสีย ตาแดง ปวดศีรษะ เช็กอาการ 4 โรคยอดฮิต ! โควิด-19 VS ไข้หวัด VS ไข้หวัดใหญ่ VS ภูมิแพ้ แตกต่างกันอย่างไร?

เชื้อโควิด-19 แฝงในกายเรา ตรงไหนบ้าง? พร้อมบอก อาการโควิด-19 อย่างละเอียด

  สถานการณ์แพร่ระบาดของ โควิด-19 (Covid-19) ในประเทศไทยช่วงนี้ ต้องเรียกว่าน่าเป็นห่วงเลยทีเดียว มีคนติดรายวันนับร้อยคน ซึ่งแต่ละคนที่ติดเชื้อนี้จะมีอาการเด่น คือ มีไข้สูง และไอ แต่รู้หรือไม่ว่า อาการโควิด-19 นี้ยังมีอีกมายเลยทีเดียว เช่น เจ็บคอ อ่อนเพลีย ตาแดง หายใจลำบาก เป็นต้น! งั้นเรามาทำความรู้จัก “อาการโควิด-19” อย่างละเอียดกันดีกว่า แล้วเชื้อไวรัสร้ายนี้ สามารถแฝงอยู่ในกายเรา ตรงไหนได้บ้าง… ตามมาดูกันเลย! อาการโควิด-19 มีอะไรบ้าง?  ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก – WHO ได้ระบุ อาการโควิด-19 (Covid-19 symptoms) ไว้อย่างละเอียด ดังนี้ อาการทั่วไป (Most common symptoms) มีไข้ ไอแห้ง อ่อนเพลีย อาการที่พบไม่บ่อย (Less common symptoms) ปวดเมื่อยเนื้อตัว เจ็บคอ ท้องเสีย ตาแดง ปวดศีรษะ สูญเสียความสามารถในการดมกลิ่น เชื้อโควิด-19 แฝงในกายเรา ตรงไหนบ้าง? พร้อมบอก อาการโควิด-19 อย่างละเอียด

รอบรู้ สู้โควิด-19! ถาม-ตอบ ประเด็นร้อน Covid-19 : ตอบโดย WHO , Thai FDA

  โควิด-19 กลับมาระบาดอีกครั้งในช่วงเดือนธันวาคม 2563 นี้! วันนี้ GedGoodLife จึงขอรวบรวมคำถามสำคัญเกี่ยวกับโควิด-19 ที่ประชาชนคนไทยควรรู้ โดยเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้จาก องค์การอนามัยโลก, สาธารณสุขไทย, และนายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาด เช่น นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ เป็นต้น… อย่ารอช้า มา “รอบรู้ สู้โควิด-19” ไปพร้อม ๆ กันเลย! * ท่านสามารถทำ “แบบประเมินความเสี่ยงโรคโควิด-19” ได้ที่ท้ายบทความ รอบรู้ สู้โควิด-19  : โดยกระทรวงสาธารณสุข 1. อาหารทะเลกินได้หรือไม่? อาหารทะเลสามารถรับประทานได้ตามปกติ การป้องกันโรคที่สำคัญคือ ปรุงสุก ร้อน สะอาด เพราะสามารถฆ่าเชื้อได้ รวมถึงเชื้อก่อโรคโควิด 19 2. สถานที่ในจังหวัดสมุทรสาคร มีสถานที่ใดบ้างที่มีคำสั่งปิดชั่วคราว? มาตรการควบคุมโรค COVID-19 ในจังหวัด สมุทรสาคร ช่วงวันที่ 19 ธ.ค. 63 – 3 รอบรู้ สู้โควิด-19! ถาม-ตอบ ประเด็นร้อน Covid-19 : ตอบโดย WHO , Thai FDA

วิธีป้องกัน “ซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว” ฉลองปีใหม่ ทิ้งความโศกเศร้าไปให้สิ้น!

  ไหนใครเป็นบ้าง… ตื่นเต้นที่จะได้หยุดยาวในช่วงเทศกาล โดยเฉพาะในช่วงปีใหม่ มีความสุข พร้อมลั้ลลามาก ๆ ยิ่งตอนได้เดินทางไปถึงที่เที่ยวแล้ว ก็อยากจะอยู่ที่นั่นนาน ๆ ไม่อยากจะกลับเลย! แต่พอต้องกลับมาทำงาน แค่นึกถึงโต๊ะที่เต็มไปด้วยงาน ก็ทำให้รู้สึกหดหู่ เบื่อหน่าย เศร้าสุดๆ รู้หรือไม่ว่า อาการเฉา ๆ เหล่านี้เรียกว่า “ซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว” นั่นเอง จะมีวิธีแก้ยังไงได้บ้าง มาติดตามกันเลย! ซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว คืออะไร เป็นโรคหรือไม่ ? ซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว Post-vacation blues / post-travel depression (PTD) ถึงจะมีคำว่า “ซึมเศร้า” อยู่ในชื่อ แต่ ซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว ไม่ถือว่าเป็นอาการทางจิตเวชที่ต้องรักษา มักจะเกิดขึ้นเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่ง และสามารถหายเองได้หลังผ่านไประยะหนึ่งเท่านั้น เมื่อเราปรับตัวได้ หลังจากกลับมาเริ่มต้นใช้ชีวิตตามปกติอีกครั้ง โดยอาการมักจะเกิดขึ้น หลังจากที่เราเพิ่งพ้นช่วงที่ได้หยุดพักจากการทำงานไปนาน ๆ และต้องกลับมาทำงานอีกครั้ง ทำให้รู้สึกเบื่อ เซ็ง ไม่อยากทำงาน และอาจทำให้เกิดความเครียดได้ หากมีอาการเช่นนี้ ให้บอกตัวเองว่า ความรู้สึกเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ ให้เปลี่ยนความรู้สึกเฉาเศร้าไปเป็นพลัง และมุ่งหน้าตั้งใจทำงานให้เต็มที่ แต่ถ้าหากว่า เวลาผ่านไปนานสัปดาห์ วิธีป้องกัน “ซึมเศร้าหลังวันหยุดยาว” ฉลองปีใหม่ ทิ้งความโศกเศร้าไปให้สิ้น!

อาการไอมีกี่แบบ แบบไหนควรรีบไปพบแพทย์ ?

  การไอ คือ หนึ่งในอาการของโรคที่พบบ่อยที่สุด ที่ไม่ว่าเด็ก หรือผู้ใหญ่ ผู้หญิง หรือผู้ชาย ต่างต้องพบเจอตลอดชั่วอายุขัยกันทั้งนั้น เพราะการไอเป็นกลไกของร่างกายโดยธรรมชาติ ที่พยายามขับสิ่งแปลกปลอมที่ผ่านเข้าสู่ร่างกายทางระบบทางเดินหายใจ ส่วน อาการไอจะมีกี่แบบ แบบไหนต้องพบแพทย์ มาติดตามกันเลย การไอ กลไกปรับสมดุลธรรมชาติของมนุษย์ โดยปกติ คนเราหายใจเอาอากาศเข้าออกผ่านปอดวันละ ประมาณ 8,000 – 12,000 ลิตรต่อวัน ในปริมาณจำนวนมากมายที่ว่านั้นแน่นอนว่า คงไม่ได้มีเพียงอากาศบริสุทธิ์อยู่เท่านั้น แต่ยังปะปนไปด้วยของเสียที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ เช่นมลภาวะทางอากาศที่เป็น เชื้อโรค เชื้อรา เชื้อไวรัสต่าง ๆ ซึ่งร่างกายได้สร้างวิธีกำจัดสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นออกไป หนึ่งในกระบวนการที่ว่านั้นก็คือ การไอ นั่นเอง ได้ยินแบบนี้แล้ว การไอ ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่น่ากลัวเท่าใดนัก หากแต่มีอาการไออยู่บางประเภทที่อาจเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจของผู้ไอเอง รวมถึงก่อให้เกิดความรำคาญรบกวนคนรอบข้าง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อการไอของคุณมีสิ่งแอบแฝงปลอมปนออกมา ส่งต่อให้ผู้คนที่อยู่โดยรอบได้รับเชื้อโรคร้ายนั้นไปด้วย ดังนั้นจึงเป็นที่มาของข้อมูลที่เรานำมาเสนอวันนี้ อาการไอมีกี่แบบ แบบไหนควรรีบไปพบแพทย์ ไอแบบธรรมชาติ / ไอจาม จากภูมิแพ้ อย่างที่กล่าวไปในข้างต้น ร่างกายได้สร้างกลไกขึ้นเพื่อตอบสนองสิ่งแปลกปลอมที่ลอดผ่านเข้ามาตามช่องทางเดินหายใจ อยู่หลายลำดับขั้นตอน เช่น อาการไอมีกี่แบบ แบบไหนควรรีบไปพบแพทย์ ?

มีกลิ่นปาก ลมหายใจเหม็น เกิดจากโรคอะไร รักษายังไงดี?

  มีผู้ป่วยหลายคนมาพบหมอ พร้อมกับความรู้สึกหดหู่ ขาดความมั่นใจ ไม่กล้าเข้าสังคม เพราะ มีกลิ่นปาก ลมหายใจเหม็น อยู่ตลอดเวลา… หมอวินิจฉัย ให้ยามากิน อาการก็หายไปพักนึง แต่ก็ไม่หายขาดสักที อาการแบบนี้เกิดจากโรคอะไรได้บ้าง และควรดูแลรักษายังไงดี? วันนี้ GedGoodLife มีคำตอบมาให้แล้ว มาติดตามกันได้เลย จำไว้ให้ดี! สาเหตุหลัก 3 ประการ ที่ทำให้ มีกลิ่นปาก ลมหายใจเหม็น ความผิดปกติของร่างกาย หรือโรคบางชนิด จะทำให้ลมหายใจ หรือลมจากปากมีกลิ่นเหม็นได้ (Bad Breath) ถึงแม้จะเพิ่งแปรงฟัน บ้วนปากมาแล้วก็ตาม… เป็นปัญหาที่เกิดได้จากหลายสาเหตุเปรียบเหมือนเป็นไข้ ตัวร้อน ที่เกิดได้จากหลายโรคนั่นเอง… การจะแก้ปัญหากลิ่นปาก กลิ่นลมหายใจ จึงต้องสืบไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเจอสาเหตุที่แท้จริง โดยปัญหาดังกล่าว แบ่งออกเป็น 3 สาเหตุหลัก ๆ ได้แก่ สาเหตุจากในช่องปาก สาเหตุจากระบบทางเดินหายใจ สาเหตุจากระบบทางเดินอาหาร มาไล่เรียงไปทีละสาเหตุ แล้วลองสังเกตตัวเองสิว่า ปาก และลมหายใจเราเหม็นจากอะไรใน มีกลิ่นปาก ลมหายใจเหม็น เกิดจากโรคอะไร รักษายังไงดี?

8 วิธีแก้ง่วงขณะขับรถ ไกลแค่ไหนก็พร้อม! พร้อม 8 จุด เช็ครถคู่ใจ เดินทางปีใหม่นี้

  ขับรถทางไกลทีไร ความง่วงก็เข้ามากวนใจทุกที แต่จะหลับไม่ได้เด็ดขาดนะ! อันตรายมาก! นอกจากเรื่อง “เมาแล้วขับ” ก็มี “ขับรถหลับใน” นี่แหละ ที่เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลหยุดยาวปีใหม่นี้ วันนี้ GedGoodLife จึงนำ “วิธีแก้ง่วงขณะขับรถ” มาให้ทุกคนได้นำไปปฏิบัติตามกัน และอย่าลืมคาดเข็มขัดนิรภัยด้วยนะ เพราะเราห่วงใย และใส่ใจในสุขภาพของคุณ… ภาวะหลับใน คืออะไร ? ภาวะหลับใน หรือการเผลอหลับระยะสั้น ๆ (Microsleep) คือ การเผลอหลับเฉียบพลัน โดยไม่รู้ตัวเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ราว 1-2 วินาที หรืออาจเป็นนานกว่านั้นก็ได้ แม้จะเป็นช่วงเวลาที่สั้นมาก แต่หากเกิดข้นระหว่างที่คุณขับรถ มาด้วยความเร็ว 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ตัวรถก็จะสามารถเคลื่อนที่ต่อไปได้ไกลถึง 25 – 50 เมตรเลยทีเดียว และอาจนำไปสู่อุบัติเหตุร้ายแรงบนท้องถนนได้ นอกจากนี้กรมสุขภาพจิตระบุว่า “การหลับใน” เป็นอันตรายเช่นเดียวกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะผลต่อการทำงานของสมองส่วนประมวลผล (brain processing) ทำให้การตัดสนใจแย่ลง (Impair judgment) 8 วิธีแก้ง่วงขณะขับรถ ไกลแค่ไหนก็พร้อม! พร้อม 8 จุด เช็ครถคู่ใจ เดินทางปีใหม่นี้

“อาหารคลายเครียด” ดีต่อใจ ห่างไกลซึมเศร้า จากคำแนะนำผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ

  ไหนใครเครียดง่าย เครียดเก่ง มารวมตัวกันทางนี้!! เพราะความเครียด เป็นต้นเหตุของโรคต่าง ๆ มากมาย เรามาลดความเครียด ด้วยการกิน อาหารคลายเครียด ที่ช่วยให้อิ่มท้อง ร่างกายแข็งแรง และช่วยให้จิตใจผ่อนคลายไปได้พร้อม ๆ กัน จะมีอาหารอะไรบ้างนั้น ตามมาดูกันเลยยย!! ความเครียด คืออะไร ?  ความเครียด หมายถึง อาการที่สมองไม่ได้ผ่อนคลาย เพราะคร่ำเคร่งอยู่กับงานจนเกินไป (ราชบัณฑิตยสถาน, 2542) นอกจากนี้กรมสุขภาพจิต (2552) กล่าวว่า… “ความเครียดเป็นเรื่องของร่างกาย และจิตใจ ที่เกิดการตื่นตัวเตรียมรับกับเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งเราคิดว่าไม่น่าพอใจ เป็นเรื่องที่หนักหนาสาหัสเกินกำลังทรัพยากรที่เรามีอยู่ หรือเกินความสามารถของเราที่จะแก้ไขได้ ทำให้รู้สึกหนักใจเป็นทุกข์ และพลอยทำให้เกิดอาการผิดปกติทางร่างกาย และพฤติกรรมตามไปด้วย” วิตกกังวล เครียด ซึมเศร้า อยู่หรือเปล่า!?? คุณสามารถทดสอบแบบประเมินโรคซึมเศร้า และ แบบประเมินความสุข ได้ที่นี่ แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม มาวัดระดับความสุข ด้วย “แบบประเมินความสุข” กัน อาหารสัมพันธ์กับความเครียด “อาหารคลายเครียด” ดีต่อใจ ห่างไกลซึมเศร้า จากคำแนะนำผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ

เลิกสูบบุหรี่แล้ว แต่ยังไม่เลิกไอ เกิดจากอะไร ควรดูแลตนเองยังไงดี?

  เลิกสูบบุหรี่ไปแล้ว แต่ทำไมยังมีอาการไอ? คำถามยอดนิยมจากนักสูบผู้กลับใจเลิกบุหรี่ วันนี้ GED good life จะมาเฉลยให้ได้รู้ไปพร้อม ๆ กันเลยว่า เลิกสูบบุหรี่แล้ว แต่ยังไม่เลิกไอ เกิดจากอะไร และควรดูแลตนเองยังไงดี? มาติดตามกันเลย! ไอมีเสมหะ กระแอมบ่อย เสลดเยอะ เกิดจากสาเหตุใด เสี่ยงโรคร้ายแรงไหม? ยาแก้ไอละลายเสมหะ คาร์โบซิสเทอีน สรรพคุณ วิธีใช้ให้ถูกต้อง ปลอดภัย 12 วิธีแก้ไอให้หายไวไว ลองทำดู ได้ผลแน่นอน! สูบบุหรี่ ทำให้ไอ ได้อย่างไร? อาการไอ เป็นกลไกการตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งผิดปกติในทางเดินหายใจ เพื่อกำจัดเชื้อโรค เสมหะ หรือสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ และในบุหรี่ก็มีสารพิษต่าง ๆ มากมาย ที่ก่อให้เกิดโทษ และเป็นภัยต่อระบบทางเดินหายใจของเรา เมื่อเราสูบบุหรี่ ก็เหมือนสูบเอาสารพิษเข้าไปในร่างกาย ร่างกายจึงต้องพยายามขับสารพิษเหล่านี้ออกมาจากปอด ด้วยการไอนั่นเอง   4 สารอันตรายในบุหรี่ ที่ทำให้ไอเรื้อรังได้! ในบุหรี่มีสารพิษอันตรายอยู่มากมาย แต่สารพิษที่เป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการไอ และไอเรื้อรังได้ มีดังนี้ เลิกสูบบุหรี่แล้ว แต่ยังไม่เลิกไอ เกิดจากอะไร ควรดูแลตนเองยังไงดี?

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save