อายุเยอะ ไม่ใช่อุปสรรคของคนวัย Aging หรือ ผู้สูงอายุ

การก้าวเข้าสู่วัย ผู้สูงอายุ (Aging) อย่างมีความสุข อาจเป็นเรื่องที่ทำใจยากสำหรับคนที่กำลังก้าวสู่วัยนี้ หากเราได้เรียนรู้ เข้าใจการเปลี่ยนแปลง มีการเตรียมความพร้อมในการดำรงชีวิตให้มีความสุข ทั้งสุขภาพร่างกายจิตใจ วางแผนเตรียมตัวทางการเงินที่อยู่อาศัย มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมต่าง ๆ และที่สำคัญพร้อมปรับเปลี่ยนวิธีคิด รวมถึงยอมรับการเปลี่ยนแปลงในเรื่องต่าง ๆ

decolgen ดีคอลเจน

เตรียมตัวตั้งรับเมื่อวัยนั้น วันนั้นมาถึง

อายุ ไม่ใช่อุปสรรคที่จะทำให้เลิกเคารพนับถือตนเองและผู้อื่น

มีความรื่นรมย์ยินดี จิตใจแจ่มใสกับการมีชีวิตอยู่  และมีคุณภาพชีวิตที่ดี   เข้าใจธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ   และปรับความรู้สึกนึกคิดไปด้วยรอยยิ้ม ทำจิตใจให้แจ่มใส

อย่ามัวนั่งคิดว่าตัวเองแก่  ไม่เครียด มองโลกแง่บวกเสมอ ว่าจะดำรงตนให้เป็นประโยชน์ด้วยการให้คำปรึกษา ช่วยเหลือลูกหลาน และคนรอบข้าง

–  บอกตัวเองว่าพวกลูก ๆ หลาน ๆ อาจไม่อยู่ใกล้ชิดหรืออยู่ร่วมภายในบ้านก็ได้ เพราะ พวกเขาต้องมีครอบครัวของตัวเอง จะไม่รบกวนคนอื่นให้เขามาดูแล และจะไม่คิดมาก ให้ลูกหลานลำบากใจ

–  เมื่อมีปัญหาจะไม่อวดดี และจะยอมรับฟังคำแนะนำของผู้อื่น

–  ชีวิตกับงานเป็นของคู่กัน จะไม่นั่ง ๆนอน ๆ แต่จะหางานที่สามารถทำได้ตามกำลัง เพื่อช่วยให้เกิดสุขทางใจและแบ่งเบาภาระลูกหลาน

คอยเตือนตัวเองว่า จะไม่เอาแต่ใจตัวเอง เข้ากับใคร ๆ ให้ได้ทุกคน และฉันจะไม่จริงจังกับชีวิตมากเกินไป

447-ผู้สูงอายุ-1

– มีเพื่อนรุ่นเดียวกัน หรือต่างรุ่น จะทำให้มีความอบอุ่น และรู้สึกถึงคุณค่าของตน ไม่เก็บตัว ไปเที่ยว หรือออกไปพบปะเพื่อนฝูงบ้าง เพราะการอยู่อย่างเหงาหงอย ทำให้เศร้าหมองได้

เลือกกินอาหารคุณภาพ  ลดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล  และไขมัน ให้เน้นอาหารโปรตีนจากเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะปลา  และเพิ่มแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม สังกะสี และเหล็ก  ซึ่งมีอยู่ในนม ถั่วเหลือง  ผัก ผลไม้  ธัญพืชต่าง ๆ  และควรกินอาหารประเภทต้ม นึ่ง ย่าง อบ แทนประเภทผัด ทอด จะช่วยลดปริมาณไขมันในอาหารได้  หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานจัด  เค็มจัด  และดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย  6 – 8 แก้วต่อวัน

สัมผัสอากาศบริสุทธิ์  จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคได้  หรือการปรับภูมิทัศน์ภายในบ้านให้ปลอดโปร่ง สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก มีการปลูกต้นไม้ จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้เหมาะสม เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค และสามารถช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ หรือหอบหืดได้

ออกกำลังกายเป็นประจำ ประมาณสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง เพื่อให้ร่างกายมีความคล่องตัว แข็งแรง  ซึ่งจะทำให้การทรงตัว และการเคลื่อนไหวดีขึ้น ไม่หกล้มง่าย

– ควบคุมน้ำหนักตัว หรือลดความอ้วน  ควบคุมอาหาร และออกกำลังกายจะช่วยทำให้เกิดความคล่องตัว  ลดปัญหาการหกล้ม  และความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ  เช่น  โรคข้อเข่าเสื่อม  และโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นต้น

– เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ บ้าง จะได้ลดช่องว่างระหว่างวัยกับลูก ๆ หลาน ๆ กระตุ้นสมองให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ ช่วยชะลอโรคอัลไซเมอร์ และแลกเปลี่ยนความรู้กับลูกหลาน รวมถึงเพื่อน ได้อย่างสบายใจ

ปฏิบัติตนให้ถูกสุขลักษณะ ควรตรวจสุขภาพประจำปี  ตรวจสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี หรืออย่างน้อยทุก 3 ปี

นอกจากการดูแลสุขภาพกายแล้ว ต้องดูแลสุขภาพใจด้วย ทำจิตใจให้แจ่มใส  มองโลกในแง่ดี  ไม่เครียด หรือวิตกกังวลกับเรื่องต่าง ๆ มากจนเกินไป  รวมถึงการเข้าใจ ยอมรับตนเอง และผู้อื่น  ก็จะช่วยให้เป็น ผู้สูงอายุ ที่สุขภาพดีอย่างแท้จริงค่ะ


ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close