วัคซีนเชื้อเป็น VS วัคซีนเชื้อตาย มีความแตกต่างกันอย่างไร?

วัคซีนเชื้อเป็น VS วัคซีนเชื้อตาย

การระบาดของ ไวรัส’โควิด-19 ทำให้มีกระแสความตื่นตัวในการรับรู้เรื่องราวของวัคซีนเพิ่มมากขึ้น เพราะวัคซีนถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่มนุษย์ได้คิดค้นขึ้นเพื่อจัดการกับเจ้าไวรัสที่เกิดขึ้น และวันนี้ Ged Good Life จะมาให้ความรู้เรื่อง วัคซีนเชื้อเป็น VS วัคซีนเชื้อตาย แตกต่างกันอย่างไร มาติดตามกันเลย

– วัคซีน ซิโนแวค vs แอสตราเซเนกา ต่างกันยังไง ยี่ห้อไหนผลข้างเคียงน้อยกว่า ?

– รู้หรือยัง? สปสช. ให้ยื่นขอ เยียวยาแพ้วัคซีนโควิด ได้เลย ไม่ต้องพิสูจน์ถูก-ผิด! ดูวิธียื่นคำร้องขอ ได้ที่นี่

– วิธีเตรียมตัว ก่อน-หลัง ฉีดวัคซีนโควิด-19 : โดยคณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาฯ

Allernix อัลเลอร์นิค ยาแก้แพ้ ไม่ทำให้ง่วง

วัคซีน คืออะไร แล้วช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันอย่างไร ?

คำว่า วัคซีน (Vaccine) มีรากศัพท์ละตินมาจากคำว่า vacca ที่แปลว่า ‘วัว’ และคำว่า vaccination (การฉีดวัคซีน) มาจากคำละตินว่า vaccinus ที่แปลว่า ‘มาจากวัว’

โดยผู้ที่สถาปนาคำนี้ขึ้นมา คือ เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ นักปักษีวิทยา และหมอชาวบ้านผู้หนึ่งในแคว้น Gloucestershire ชนบทของอังกฤษ ที่ได้คิดค้นวัคซีนป้องกัน ‘โรคฝีดาษ’ เป็นคนแรกของโลก เมื่อราวกว่า 200 ปีที่แล้ว และถือเป็นวัคซีนตัวแรกที่ชาวโลกรู้จักกันในการต่อสู้กับโรคระบาดในสมัยนั้น นั่นก็คือ ‘โรคฝีดาษ’ นั่นเอง

จากความสำเร็จของ เจนเนอร์ ในครั้งนั้น วัคซีนก็ได้ถูกพูดถึง และมีข้อถกเถียงในการใช้งานเป็นอย่างมากในช่วงแรก ๆ จนเมื่อความเจริญก้าวหน้า และวิวัฒนาการทางการแพทย์ยุคใหม่ได้ก้าวไปไกล

วัคซีนจึงถือเป็นเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ชนิดหนึ่ง ที่ฉีดเข้าสู่ร่างกายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ ส่วนใหญ่ทำมาจากเชื้อโรค แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1. ทำจากเชื้อโรคที่ตายแล้วมีสารของเชื้อโรคมาฉีดเข้าตัวเรา

2. ทำจากเชื้อโรคที่อ่อนแอ ทำให้มันสลบพิษจะได้ไม่รุนแรง เมื่อฉีดเข้าไปในร่างกายคนเรา ร่างกายเราก็จะสร้างภูมิคุ้มกัน กับโรคนั้น ๆ นั่นเอง


วัคซีนเชื้อเป็น VS วัคซีนเชื้อตาย

วัคซีนเชื้อเป็น VS วัคซีนเชื้อตาย แตกต่างกันอย่างไร?

1. วัคซีนไวรัสเชื้อตาย (Inactivated Virus)

เทคโนโลยีนี้เป็นเทคโนโลยีที่ใช้กันมาเนิ่นนานตั้งแต่ยุคแรก ๆ โดยตัวอย่างวัคซีนเชื้อตายที่เราคุ้นเคยกันดี เช่น วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ หรือ วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ

สาเหตุที่เรียกว่าวัคซีนไวรัสเชื้อตาย ก็เพราะว่า วัคซีนชนิดนี้ใช้เทคโนโลยีในการเพาะเลี้ยงเชื้อไวรัส แล้วก็มาทำให้เชื้อไวรัสนั้นหยุดการเจริญเติบโต หรือว่า เรียกว่าทำให้ตายนั่นเอง

จากนั้นก็นำเอาเชื้อไวรัสที่ตายแล้ว มาทำเป็นวัคซีนแล้วก็ฉีดเข้าสู่ร่างกายเรา ทำให้ร่างกายรู้จักกับเชื้อไวรัสทั้งตัว กระตุ้นร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ต่อเชื้อไวรัสชนิดนั้น ๆ

สำหรับ วัคซีนโควิด-19 ที่เราคุ้นชื่อกันดี ตัวอย่างเช่น วัคซีนของ บริษัท ซิโนแวค ซิโนฟาร์ม ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่ที่เลือกใช้เทคโนโลยีนี้ โดยการสร้างไวรัสโควิด-19 ตัวจริงเสียงจริงขึ้นมาเยอะ ๆ เพาะเชื้อในห้องทดลองแล้วนำสารเบต้าโปรพิโอแลคโตน มาใช้ในการสังหารไวรัสจำนวนมากเหล่านั้น

โดยสารดังกล่าวจะมีหน้าที่เข้าไปยึดจับ​ Cross-link กับสารพันธุกรรม​ และอื่น ๆ​ ทำให้ไวรัสสิ้นลายกลายสภาพเป็นซาก แล้วมาแนะนำให้ร่างกายเรารู้จัก ว่านี่คือตัวก่อโรค ตัวอันตรายนะ ให้ร่างกายเร่งผลิตภูมิต้านทานขึ้นมา

จุดเด่นของเทคโนโลยี วัคซีนไวรัสเชื้อตาย
ที่หลายคนให้ความเชื่อมั่นไว้วางใจ ก็เพราะความที่เทคโนโลยี​นี้ใช้กันมานมนาน​ อีกทั้งเชื้อไวรัสที่นำมาเข้าร่างกายก็ตายแล้ว​ จึงน่าจะมีความปลอดภัย​ที่สุด​ เกิดผลข้างเคียง​น้อยกว่าเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีที่ใช้เชื้อที่ยังมีชีวิต

จุดด้อยของเทคโนโลยี วัคซีนไวรัสเชื้อตาย
ก็คือประสิทธิภาพในการสร้างภูมิคุ้นกันที่ช้า และไม่ค่อยสูง​ แม้ว่าจะช่วยกันอาการโรคได้ชัดเจน​ แต่สำหรับกันการติดต่ออาจจะยังต้องลุ้นเอาหนักหน่อย

 

2. วัคซีนไวรัสเชื้อเป็น หรือการใช้เชื้อที่อ่อนแอมากระตุ้นภูมิคุ้มกัน

 สำหรับกลุ่มวัคซีนที่ใช้เชื้อที่อ่อนแอมาผ่านกระบวนการผลิตเพื่อนำเข้าสู่ร่างกายยังสามารถแยกออกได้เป็นอีกสองกลุ่มหลัก ๆ นั่นก็คือกลุ่ม

2.1 วัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Recombinant viral vector vaccine)

หลักการทำงานของวัคซีนชนิดนี้จะใช้วิธีการเอาสารพันธุกรรมสร้างโปรตีนหนามของไวรัสโควิด ​มาเปลี่ยนให้เป็นดีเอ็นเอ แล้วนำดีเอ็นเอ เหล่านั้นมาฝากไว้ในไวรัสอะดิโนอีกตัวหนึ่ง หรือศัพท์ทางการแพทย์จะเรียกว่า Vector หรือตัวฝากนั่นเอง

เจ้าVector ตัวฝากเหล่านั้นยังโดนปรับแต่งจนง่อยเปลี้ยเสียขา ถูกแปลรหัสโดยไรโบโซมสร้างเป็นโปรตีนหนามออกมา จะทำให้ร่างกายหาโปรตีนหนามเจอและเข้าทำลายได้ง่ายดาย ไม่สามารถสร้างลูกหลานได้ อีกทั้งเซลล์ที่สร้างโปรตีนหนามไปจะถูกเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน​ที่มาเจอกำจัดทิ้งไป​ พร้อมทั้งสร้างภูมิต้านทานด้วย

วัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ จึงเป็นเทคโนโลยีหลักอีกชนิดที่มีผู้สนใจ เพราะมั่นใจในประสิทธิภาพ และความปลอดภัยที่มาควบคู่กัน โดยผลข้างเคียงของการที่รับไวรัส Voctor เหล่านั้นเข้าไปจะไม่รุนแรงกับร่างกายมนุษย์ เช่น อาจมีอาการ​หวัดเบา ๆ​ ไม่ก็ท้องเสีย

โดยสำหรับ วัคซีนโควิด-19 ที่เราคุ้นชื่อกันดี ตัวอย่างเช่น วัคซีนของ บริษัท แอสตร้าเซเนกา จอห์น​สันแอนจอห์นสัน​ สปุตนิกวี​ แคนซิโน ซึ่งต่างก็เป็นบริษัทผู้ผลิตรายใหญ่ที่เลือกใช้เทคโนโลยีนี้

จุดเด่นของเทคโนโลยี วัคซีนไวรัสเวคเตอร์  ให้ประสิทธิภาพในการสร้างภูมิคุ้มกันค่อนข้างดี อีกทั้งยังสามารถที่จะผลิตได้จำนวนมาก และง่าย มีราคาต้นทุนการผลิตที่ไม่สูง เพราะทำได้จำนวนมาก

จุดด้อยของเทคโนโลยี วัคซีนไวรัสเวคเตอร์  เนื่องจาก วัคซีนนี้เป็นวัคซีนชนิดใหม่ ที่เพิ่งมีการพัฒนาในช่วงหลังๆ ผลการศึกษาจึงยังมีในระดับที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้เพื่อต่อสู้กับสถานการณ์การระบาดที่รวดเร็ว ผลกระทบในระยะยาวจึงยังคงต้องติดตามต่อไปว่า DNA ของ Corona Virus ที่สกัด และนำเข้าสู่ร่างกายจะเกิดการรวมตัว Integrate กับ DNA ของมนุษย์หรือไม่ ส่วนอาการไม่พึงประสงค์โดยทั่วไปที่ไม่เป็นอันตรายร้ายแรง เช่น อาจมีไข้ตัวรุม ๆ​ ไป หนึ่ง ถึงสองวัน

2.2 วัคซีนไวรัสเวคเตอร์ mRNA

เป็นเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนใหม่ที่ถูกคิดค้นขึ้นไม่นานมานี้ เพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หลักการสำคัญของเทคโนโลยี mRNA ก็คือการสังเคราะห์สารพันธุกรรมเอ็มอาร์เอ็นเอ (messenger RNA: mRNA) ที่เฉพาะเจาะจงกับเชื้อไวรัส

วัคซีนจะทำหน้าที่พา mRNA เข้าเซลล์ และ กํากับให้เซลล์ผลิตสารโปรตีนสไปค์ของเชื้อไวรัส ซึ่งโปรตีนนี้จะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สร้างแอนติบอดีขึ้นมาต่อต้านเชื้อ ซึ่งในที่นี้ก็คือ เชื่อโคโรนาไวรัส หรือโควิด-19 นั่นเอง

โดยเมื่อเซลล์ในร่างกายพบกับสารพันธุกรรมของไวรัสโควิด-19 เหล่านั้นเรียบร้อยแล้ว ไวรัสที่เป็นเพียงตัวพาหะนำเข้าก็จะไม่สามารถเพิ่มจำนวนในร่างกายมนุษย์ และค่อย ๆ ถูกกำจัดออกไปจากร่างกายนั่นเอง

โดยสำหรับ วัคซีนโควิด-19 ประเภท วัคซีนไวรัสเวคเตอร์ mRNA  ที่เราคุ้นชื่อกันดี ได้แก่ วัคซีนของบริษัท Pfizer และ Moderna  ซึ่งจุดเด่นของเทคโนโลยีใหม่นี้ คงเห็นได้จากข้อมูลการศึกษาถึงประสิทธิภาพในการป้องกันโรคได้ประมาณ 95% ป้องกันการป่วยรุนแรง และป้องกันการเสียชีวิตได้ 100%

และแน่นอนประสิทธิภาพที่สูงย่อมต้องแลกมาด้วย ความกังวลใจของผู้ใช้มากมาย เช่น การเกิดอาการแพ้ และผลข้างเคียงที่รุนแรง รวมถึงขึ้นตอนในการผลิตและขนส่งวัคซีนที่ยุ่งยากกว่า เนื่องจากสารพันธุกรรม mRNA นี้ เป็นสารพันธุกรรมที่เปราะบางมาก การผลิตจะต้องสร้าง ใช้นาโนเทคโนโลยีขึ้นมา เพื่อให้มันคงตัวอยู่ได้ และจะต้องเก็บรักษา ที่อุณหภูมิต่ำมาก คือ -20 – 70 องศา จึงจะได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด

 

ส่วนเรื่องที่หลายคนคงเคยได้ยิน เป็นกังวลว่าเซลล์ที่ได้รับยีนแปลก ๆ นี้เข้าไป​ ดีเอ็นเอจะไปสอดแทรกในจีโนมทำให้เป็นมะเร็ง​ ได้จริง​หรือ?

ซึ่งความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ก็มองว่า การแทรกของดีเอ็นเอในจีโนมที่จะไปแทรกเกิดได้คงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยากมาก ๆ เพราะก่อนที่จะเกิดกระบวนการแทรกขึ้นใน​ร่างกาย ระบบของร่างกายจะตรวจเจอ และจะจำว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม​ และสั่งการให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายกำจัดสารเหล่านั้นออกไปทันทีนั่นเอง

นอกจากวัคซีนที่เป็นเครื่องมือสำคัญแล้ว การปฏิบัติตัวตามคำแนะนำในการควบคุมโรคอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเว้นระยะห่าง การล้างมือ และการสวมหน้ากากอนามัย ก็ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรทำควบคู่ไปอย่างต่อเนื่องแม้จะได้รับวัคซีนมาแล้ว เพื่อความปลอดภัย และสวัสดิภาพที่ดีของทุก ๆ คนในสังคม จนกว่ามนุษย์จะมีวิธีจัดการกับไวรัสตัวร้ายตัวใหม่นี้ได้อย่างเด็ดขาด ซึ่งก็หวังว่าคงอีกไม่นานเกินรอ…


Allernix อัลเลอร์นิค ยาแก้แพ้ ไม่ทำให้ง่วง

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close