เจาะลึก “โอไมครอน” มัจจุราชสายพันธุ์ใหม่!

โอไมครอน

โลกพบโควิดสายพันธุ์ใหม่ “โอไมครอน” ทำชาวโลกต้องหวาดหวั่น ปิดประเทศกันวุ่นวายไปหมด ความสุขที่กำลังหวนคืน ต้องสลายไป! วันนี้ GedGoodLife จะพาไปเจาะลึก โควิดโอไมครอน มัจจุราชสายพันธุ์ใหม่ จะมีที่มา สาเหตุ อาการ และวิธีป้องกันอย่างไร มาดูกัน!

decolgen ดีคอลเจน

ทำความรู้จักกับ โอไมครอน

“โอไมครอน – Omicron” เดิมชื่อ B.1.1.529 ก่อนที่ องค์การอนามัยโลก (WHO) จะตั้งชื่อเรียกให้ตามลำดับตัวอักษรกรีกว่า โอไมครอน เป็นเชื้อโควิดกลายพันธุ์ชนิดใหม่ พบเป็นครั้งแรกในประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 และกำลังกลายพันธุ์อย่างรุนแรงหลายประเทศทั่วโลก

โควิดโอไมครอน ถูกค้นพบการระบาดในจังหวัดเคาเต็ง (Gauteng) ของแอฟริกาใต้เป็นหลัก และในขณะนี้องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศอย่างเป็นทางการให้ ไวรัสโควิดโอไมครอน เป็นกลุ่มที่มีความรุนแรงสูงสุดหรือกลุ่มน่ากังวล (VOC : Variant of Concern) และตรวจพบว่า โอไมครอนมีการกลายพันธุ์ในตำแหน่งที่เป็นส่วนหนามมากถึง 32 ตำแหน่ง ในขณะที่ไวรัสสายพันธุ์เดลตา กลายพันธุ์ที่ส่วนหนามเพียง 9 ตำแหน่ง เท่านั้น!

โอไมครอน

ครั้งแรกของโลก! เปิดภาพเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ โอไมครอน โดยโรงพยาบาล Bambino Gesù ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี


โอไมครอน มาเงียบ ๆ แต่ระบาดเรียบหลายประเทศ!

การระบาดของโอไมครอน แม้ว่าจะเกิดขึ้นเงียบ ๆ ในที่ห่างไกลจากประเทศไทย แต่การระบาดกระจายตัวทะยานไปอย่างรวดเร็วมาก ๆ ตอนนี้กลายมาเป็นสายพันธุ์หลักในพื้นที่ที่เคยมีการระบาดของสายพันธุ์เดลต้าอยู่เดิมแล้วด้วย และที่สำคัญคนไข้ที่ติดโอไมครอนหลายราย ได้รับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ครบทั้งสองโดสแล้วด้วย (วัคซีนโควิด-19 อาจไม่สามารถป้องกันทุกคนจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ แต่พบว่าสามารถลดความรุนแรงของโรคได้)

ประเทศที่พบการแพร่ระบาดของ เชื้อโควิดโอไมครอน

  1. แอฟริกาใต้
  2. บอตสวานา
  3. เบลเยียม
  4. ฮ่องกง
  5. อิสราเอล
  6. อังกฤษ
  7. เนเธอร์แลนด์
  8. เยอรมนี
  9. สาธารณรัฐเช็ก
  10. ออสเตรีย
  11. เดนมาร์ก
  12. ออสเตรเลีย
  13. อิตาลี
  14. แคนาดา
  15. ฝรั่งเศส
  16. สิงคโปร์

* ข้อมูล ณ วันที่ 30 พ.ย. 64

ไทยยังไม่พบ “สายพันธุ์โอไมครอน” แต่ขึ้นแบล็คลิสต์ 8 ประเทศเสี่ยง

นายแพทย์ศุภกิจ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยืนยันว่า ขณะนี้ ยังไม่มีสายพันธุ์โอไมครอนในประเทศไทย แต่ได้วางมาตรการเรื่องผู้เดินทางมาจากทวีปแอฟริกา คือ ไม่อนุญาตให้ผู้เดินทางจากประเทศเสี่ยง 8 ประเทศในทวีปแอฟริกา เดินทางเข้าประเทศไทย ตั้งแต่วันนี้ (27 พฤศจิกายน) เป็นต้นไป ได้แก่

1. สาธารณรัฐบอตสวานา 2. ราชอาณาจักรเอสวาตินี 3. ราชอาณาจักรเลโซโท 4. สาธารณรัฐมาลาวี 5. สาธารณรัฐโมซัมบิก 6. สาธารณรัฐนามิเบีย 7. สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ 8. สาธารณรัฐซิมบับเว


อาการหลังติดเชื้อโอไมครอน รุนแรงแค่ไหน?

ดร.แองเจลีก โคเอตซี (Angelique Coetzee) ประธานสมาคมการแพทย์แห่งแอฟริกาใต้ (SAMA) กล่าวว่า ผู้ป่วยหลายสิบรายที่เธอพบในช่วงกว่าสัปดาห์ที่ผ่านมาแสดงอาการเพียงเล็กน้อย อาทิ

  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • เจ็บคอ
  • ไอแห้ง
  • อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย
  • นอกจากนี้เธอยังไม่พบผู้ป่วยคนใดสูญเสียกลิ่น หรือรับรส ซึ่งต่างจากสายพันธุ์เดลตา
  • รวมถึงไม่พบว่าผู้ป่วยมีระดับออกซิเจนลดลงอย่างมีนัยสำคัญด้วย
  • และฟื้นตัวเต็มที่โดยไม่ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล

ประเทศไทยมีการจัดการอย่างไรกับ นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศ

นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงการรับมือโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่โอไมครอน (Omicron) ว่า การตรวจจับค้นหาเชื้อโอไมครอนจะเดินทางเข้ามาในประเทศจะต้องทำเต็มที่ รัดกุม และทันต่อสถานการณ์ ทั้งนี้ ที่มีการปรับแผนอนุญาตให้ตรวจแบบ ATK แล้วสามารถเดินทางท่องเที่ยวได้แทนการตรวจ RT-PCR ในประเทศกลุ่มเสี่ยงที่เข้ามาในไทย

ขณะนี้จะต้องมีการทบทวนขยายเวลายังคงใช้ RT-PCR เหมือนเดิม ซึ่งเป็นมาตรการเข้มข้นเพื่อการตรวจจับค้นหาโอไมครอนที่จะมาจากต่างประเทศ ส่วนที่มีการเสนอในหลาย ๆ รูปแบบจะต้องมีการติดตามข้อมูลให้มีความชัดเจนมากที่สุด

* การตรวจด้วยวิธี RT-PCR ยังสามารถใช้ตรวจสายพันธุ์นี้ได้

วัคซีนที่มีอยู่ จะต้านไหวหรือไม่?

นายสาธิต กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าเราไม่สามารถมีวัคซีนกับยาไปดักหน้าไวรัสทุกสายพันธุ์ เรามีแต่การติดตามข้อมูลให้เร็วที่สุด ส่วนบริษัทวัคซีนเขาก็คงจะเริ่มคิดค้นมีข้อมูลให้มากที่สุดเพื่อศึกษาวิจัย ทำวัคซีนเพื่อสู้กับการกลายพันธุ์ ฉะนั้นไม้ตายของประชาชนจะต้องรักษามาตรการป้องกันแบบครอบจักรวาลซึ่งเป็นสิ่งที่ป้องกันไวรัสได้ทุกสายพันธุ์

แต่อย่างไรก็ตามอย่าเพิ่งตื่นตระหนกมากเกินไปเพราะการติดตามข้อมูลยังไม่มากพอ หากถามว่าไวรัสโอไมครอนมีการแพร่กระจายได้เร็วมากกว่าเดลต้ากี่เท่าหรือไม่อย่างไร และเท่าที่เห็นยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่า จะมีอาการรุนแรงมากขึ้นในกลุ่มคนอายุเท่าไหร่จึงต้องรอข้อมูลที่ชัดเจนจริง ๆ ถ้ามีข้อมูล 2 ส่วนนี้จึงจะน่าตื่นตระหนก

อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลจากทุกศูนย์ของกรมวิทย์ฯ และเครือข่าย 300 กว่าแล็ป ว่าโอไมครอนหลุดลอดมาในประเทศไทย


สุดท้ายนี้ ในภาวะที่มีโรคระบาด ทุกคนจะต้องช่วยกันป้องกันตนเองอย่างมีระเบียบวินัย ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน และล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ รวมถึงเคารพในกฎเกณฑ์กติกาต่าง ๆ ที่ทางกระทรวงสาธารณสุขวางกฎเกณฑ์ไว้ ก็จะทำให้ห่างไกลจากโรคระบาดโควิดได้อย่างแน่นอน

 

อ้างอิง : 1. BBC 1/2/3 2. hindustantimes 3. nypost 4. posttoday 5. mgronline

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close