เช็กด่วน! 7 อาการแพ้ฝุ่น PM2.5 พร้อมวิธีรับมือฝุ่นจิ๋วจากแพทย์

อาการแพ้ฝุ่น PM2.5

ฝุ่น PM2.5 พุ่งทั่วไทย ระวังป่วยเป็นภูมิแพ้อากาศ! หลายพื้นที่น่าเป็นห่วงจมใต้ฝุ่น โดยเฉพาะภาคกลาง ภาคเหนือ และอีสาน ต้องระวังให้ดี อาจทำป่วยมีอาการภูมิแพ้ คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ จาม และโรคร้ายอื่น ๆ ได้ มาเช็กกันเลยว่าพื้นที่ไหนบ้างที่ควรระวัง พร้อมชี้ 7 อาการแพ้ฝุ่น PM2.5 พร้อมคลิปวิดีโอรับมือฝุ่นจิ๋วจากคุณหมอ

อัลเลอร์นิค ชนิดเม็ด (Allernix™ tablet) ยาบรรเทาอาการแพ้

7 อาการแพ้ฝุ่น PM2.5 ที่คนไทยเป็นกันเยอะ!

  1. อาการภูมิแพ้ และหอบหืดกำเริบ
  2. ระคายเคืองตา ตาแดง
  3. คัดจมูก น้ำมูกไหล
  4. ไอ
  5. แน่นหน้าอก
  6. หายใจไม่สะดวก
  7. คันผิวหนัง มีผื่นคัน

ทั้ง 7 อาการนี้บ่งบอกได้ว่าฝุ่นพิษ PM 2.5 เริ่มส่งผลกระทบต่อร่างกายแล้ว ส่วนผลกระทบระยะยาวได้แก่ การทำงานของปอดแย่ลง เสี่ยงต่อโรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ และ โรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งปอด ผิวหนังเหี่ยวย่นก่อนวัย

อาการแพ้ฝุ่น PM2.5 ในเด็ก

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า เมื่อเด็กได้รับฝุ่นละอองในปริมาณเกินมาตรฐานมาก หรือเป็นเวลานานจะสะสมในเนื้อเยื่อปอด ทำให้การทำงานของปอดเสื่อมประสิทธิภาพลง ทำให้เกิดอาการ หรือโรคต่าง ๆ ดังนี้

  1. หลอดลมอักเสบ
  2. มีอาการหอบหืด
  3. ระคายเคืองในโพรงจมูก และทางเดินหายใจส่วนบน
  4. อาการภูมิแพ้กำเริบและหายใจไม่สะดวก
  5. เกิดการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ง่าย

หากมีอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย มีเสมหะ หายใจลำบาก หายใจถี่ หายใจไม่ออก หายใจมีเสียงวี๊ด แน่นหน้าอก ให้รีบพบแพทย์ทันที

วิธีดูดัชนีคุณภาพอากาศ สูงแค่ไหนถึงอันตรายต่อสุขภาพ? โดยกรมควบคุมมลพิษ

ดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI) เป็นการรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศเพื่อเผยแพร่บุคคลทั่วไปได้รับทราบถึงสถานการณ์มลพิษทางอากาศในแต่ละพื้นที่ว่าอยู่ในระดับใด มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยหรือไม่ ดัชนีคุณภาพอากาศ 1 ค่า ใช้เป็นตัวแทนค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด ได้แก่

  1. ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)
  2. ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10)
  3. ก๊าซโอโซน (O3)
  4. ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)
  5. ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)
  6. ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)

เกณฑ์ของดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย

0-25 = คุณภาพอากาศดีมาก
เหมาะสำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง และการท่องเที่ยว

26-50 = คุณภาพอากาศดี
สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยวได้ตามปกติ

51-100 = คุณภาพปานกลาง
– ประชาชนทั่วไป สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ตามปกติ
– ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง

101-200 = เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
– ประชาชนทั่วไป ควรเฝ้าระวังสุขภาพ ถ้ามีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น
– ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ
ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ควรปรึกษาแพทย์

201 ขึ้นไป = มีผลกระทบต่อสุขภาพ
ทุกคนควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์

ฝุ่นPM2.5 พุ่งทั่วไทย

ปัญหาแพ้ฝุ่นจบได้ด้วย ยาแก้แพ้ “ลอราทาดีน” ไม่ทำให้ง่วงนอน

ลอราทาดีน (Loratadine) เป็นยารักษาภูมิแพ้กลุ่มใหม่ หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่ายาต้านอีสทามีน กลุ่มที่ ไม่ทําให้ง่วงนอน (non-sedating antihistamines) ออกฤทธิ์นานถึง 24 ชั่วโมง ใช้ลดอาการที่เกี่ยวข้องกับภูมิแพ้ เช่น คัดจมูก จาม น้ำมูกไหล คันตา บรรเทาอาการน้ำมูกไหล ใช้รักษาลมพิษ และโรคผิวหนังที่เกิดจากภูมิแพ้

ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์เช่นเดียวกับยาต้านฮีสตามีนกลุ่มดั้งเดิม แต่ยาในกลุ่มนี้ผ่านเข้าสมองได้น้อยมาก จึงทําให้อาการข้างเคียง เช่น อาการง่วงนอน พบได้น้อย หรือผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการง่วงนอนเลยหลังจากกินยานี้ ทําให้ไม่ส่งผลเสียในการดําเนินชีวิตประจําวัน

รูปแบบ และ ปริมาณการใช้ยาลอราทาดีน

– เด็กอายุ 2-5 ปี รับประทานชนิดน้ำ 5 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง โดยยาน้ำส่วนใหญ่จะมีความเข้มข้น 5 มิลลิกรัม ต่อ 5 มิลลิลิตร

– เด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป รับประทานยา 10 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง สามารถใช้ได้ทั้งยารูปแบบเม็ด และแคปซูล

– ผู้ใหญ่ รับประทานยา 10 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง ดังนั้นยา Loratadine ชนิดเม็ตส่วนใหญ่จึงมีขนาด 10 มิลลิกรัม เพื่อให้สะดวกในการรับประทานเพียงวันละครั้ง

“ยาแก้แพ้ ไม่ใช่ยาอันตราย” แต่ควรใช้ให้ถูกต้อง สามารถปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

อ้างอิง : 1. air4thai 2. สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี 3. komchadluek 4. rama.mahidol

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close