GEDไว้แก้แพ้ ยาแก้แพ้กินซ้ำอันตรายไหม?

แพ้หนัก! กินลอราทาดีนไม่เห็นผล กินซ้ำอันตรายไหม?

บทความโดย ดร. ภก. นิติ สันแสนดี อาจารย์พิเศษ ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ยาแก้แพ้ ยาลอราทาดีน คือยาอะไร

ยาแก้แพ้ (antihistamine) เป็นกลุ่มยาต้านสารฮีสตามีน ซึ่งใช้สำหรับบรรเทาอาการแพ้ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้ (allergen) จนร่างกายเกิดกลไกต่อต้านโดยการหลั่งสารฮีสตามีนออกมา สารฮีสตามีนนั้นส่งผลให้แสดงอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น น้ำมูกไหล ไอ จาม ผดผื่นคัน หรือลมพิษ ยาแก้แพ้จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ ยาแก้แพ้กลุ่มดั้งเดิม (conventional antihistamines) และยาแก้แพ้กลุ่มใหม่ (second-generation antihistamines) หรือเรียกว่า ยาแก้แพ้กลุ่มไม่ทำให้ง่วงนอน (non-sedating antihistamines) โดยจุดแตกต่างที่สำคัญคือ ยาแก้แพ้กลุ่มดั้งเดิมจะผ่านเข้าสู่สมอง ทำให้เกิดอาการง่วงซึม ส่วนยาแก้แพ้กลุ่มใหม่จะผ่านเข้าสู่สมองน้อยกว่าเดิม จึงไม่ทำให้เกิดอาการง่วงซึมหรือมีอาการง่วงซึมเพียงเล็กน้อยในผู้ใช้บางราย จึงไม่รบกวนคุณภาพชีวิต และยังออกฤทธิ์ได้ยาวนานกว่ายากลุ่มดั้งเดิม ทำให้สามารถรับประทานยาเพียง 1-2 เม็ดต่อวันได้ ยาลอราทาดีน (Loratadine) จัดอยู่ในยาแก้แพ้กลุ่มใหม่ ออกฤทธิ์ได้ยาวนานถึง 24 ชั่วโมง ไม่ทำให้ง่วงนอน หรืออาจพบได้น้อยมากในผู้ป่วยบางราย มีจําหน่ายทั้งในรูปแบบยาเม็ด ยาแคปซูล และยาน้ำเชื่อม สามารถเลือกใช้รูปแบบที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายได้

GEDไว้แก้แพ้ ยาลอราทาดีน (Loratadine) ใช้อย่างไร ปลอดภัยหรือไม่ ยาลอราทาดีน (Loratadine) เป็นยาแก้แพ้ชนิดไม่ง่วง นิยมใช้เพื่อบรรเทาอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น ผื่นคัน น้ำมูกไหล คันตา คันจมูก ลมพิษ

วิธีใช้
ยาเม็ด: รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง โดยไม่ต้องเคี้ยว ยากับน้ำเปล่า
ยาน้ำเชื่อม:

ขนาดใช้ยาที่แนะนำ
เด็ก อายุ 2-5 ปี: ครั้งละ 5 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง
เด็ก อายุ 6 ปีขึ้นไป:ครั้งละ 5 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง หรือ ครั้งละ 10 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง
ผู้ใหญ่และเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป: ครั้งละ 10 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง

การใช้ยาในผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ

ผู้ที่มีภาวะการทำงานของตับบกพร่อง: ไม่ต้องปรับขนาดยา
ผู้ที่มีภาวะการทำงานของไตบกพร่องระยะเริ่มต้นถึงปานกลาง: ไม่ต้องปรับขนาดยา
ผู้ที่มีภาวะการทำงานของไตบกพร่องระยะรุนแรง (CrCl<30 ml/min): ครั้งละ 10 มิลลิกรัม ทุก 48 ชั่วโมง

ยานี้ถูกจัดอยู่ใน Pregnancy category B ตามระบบการจัดยาตาม Pregnancy category ซึ่งปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์ และเนื่องจากยาผ่านออกทางน้ำนมในปริมาณน้อยมาก จึงสามารถใช้ได้ในหญิงให้นมบุตร อีกทั้งมีข้อมูลการปรับขนาดยาที่ชัดเจนสามารถใช้ได้ในผู้ที่มีภาวะการทำงานของไตบกพร่อ ง จึงเป็นยาแก้แพ้ตัวหนึ่งที่มีความปลอดภัย สามารถใช้บรรเทาอาการเบื้องต้นได้ในผู้ป่วยหลากหลายกลุ่ม

ข้อควรระวัง
แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบก่อนใช้ยา หากมีประวัติแพ้ยาลอราทาดีน (Loratadine) หรือส่วนประกอบอื่น ๆ ในยา แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบก่อนใช้ยา หากมีโรคประจำตัว เช่น โรคตับ โรคไต โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง
ห้ามใช้ยานี้ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา ยานี้อาจทำให้เกิดอาการง่วงนอนได้ ห้ามใช้ยานี้ร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ผลข้างเคียง

ปากแห้ง คอแห้ง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน อาจพบอาการง่วงนอน หากพบผลข้างเคียงรุนแรง เช่น หายใจลำบาก หน้าบวม ลมพิษ ควรหยุดใช้ยาและรีบไปพบแพทย์ทันที โดยสรุป ยาลอราทาดีน (Loratadine) เป็นยาแก้แพ้ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย แต่ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรอย่างเคร่งครัดสามารถทานยาลอราทาดีน
ได้ทั้งขณะท้องว่างหรือหลังอาหาร

ทานยาแล้วยังไม่หาย ทานซ้ำได้หรือไม่
ยาลอราทาดีน (Loratadine) มีระยะเวลาการออกฤทธิ์ (Onset)โดยเริ่มออกฤทธิ์หลังทานยาไปแล้วภายใน 1-3 ชั่วโมง ช่วงเวลาออกฤทธิ์เต็มที่ในช่วง 8-12 ชั่วโมง และมีฤทธิ์คงอยู่ (Duration) ได้นานประมาณ 24 ชั่วโมง ดังนั้น หากเพิ่งทานยาไปไม่นานอาจต้องรอให้ยาออกฤทธิ์จึงจะเห็นผลการรักษาโดยเฉพาะในกรณีที่เป็นภูมิแพ้เรื้อรัง อาจจะต้องอาศัยเวลาในการรักษาระยะหนึ่งจึงจะควบคุมอาการได้ โดยขนาดยาที่แนะนำอาการแพ้ทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ คือ 10 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง

GED ไว้แก้แพ้ สำหรับอาการแพ้ทั่วไปควรใช้ยาตามขนาดที่แนะนำ อย่างไรก็ตาม
จากข้อมูลที่ระบุในฐานข้อมูล UpToDate Drug information. สืบค้นวันที่ 31 มกราคม 2024 ระบุว่า ในข้อบ่งใช้บางอย่าง เช่น ลมพิษเฉียบพลันหรือลมพิษเรื้อรังที่ควบคุมไม่ได้ มีข้อมูลว่าอาจเพิ่มขนาดรับประทานยาลอราทาดีน (Loratadine) เป็น 10 มิลลิกรัมวันละ 2 ครั้ง โดยควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรอย่างเคร่งครัด เนื่องจากยาลอราทาดีน (Loratadine) เป็นยาแก้แพ้ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย

เอกสารอ้างอิง

  1. Lexicomp. (n.d.). Loratadine: Drug information. UpToDate. Retrieved January 31,
    2024.
  2. Matzke GR, Halstenson CE, Opsahl JA, Hilbert J, Perentesis G, Radwanski E,
    Zampaglione N. Pharmacokinetics of loratadine in patients with renal
    insufficiency. J Clin Pharmacol. 1990 Apr;30(4):364-71. doi: 10.1002/j.1552-
    4604.1990.tb03607.x. PMID: 2140371.
  3. Hilbert J, Radwanski E, Affrime MB, Perentesis G, Symchowicz S, Zampaglione N.
    Excretion of loratadine in human breast milk. J Clin Pharmacol. 1988
    Mar;28(3):234-9. doi: 10.1002/j.1552-4604.1988.tb03138.x. PMID: 2966185.

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close