มือถือทำให้สมาธิสั้น อย่าปล่อยลูกติดมือถือ

27 มิ.ย. 24

 

คงปฎิเสธไม่ได้ว่ามือถือเป็นอุปกรณ์สำคัญที่กลายเป็นส่วนหนึ่งในตัวช่วยเลี้ยงลูกสมัยนี้ พ่อแม่หลายคนเห็นลูกเล่นมือถือ ดูมือถือได้ พูดตามในมือถือได้ อาจจะคิดว่ามือถือช่วยให้ลูกเก่ง ฉลาดขึ้น แต่จริงๆ แล้ว มือถือทำให้สมาธิสั้น ได้

สมาธิสั้น (ADHD-Attention Deficit Hyperactivity Disorder) คือ ภาวะผิดปกติทางจิตเวชที่ส่งผลให้มีสมาธิสั้นกว่าปกติ ขาดการควบคุมการเคลื่อนไหว ทำให้มีลักษณะอาการซุกซน วอกแวกง่าย ไม่เคยอยู่นิ่ง เวลาที่พูดด้วยจะไม่ตั้งใจฟังและเก็บรายละเอียดไม่ค่อยได้ ขาดความรับผิดชอบ พบได้ค่อนข้างบ่อยในเด็กที่มีช่วงอายุระหว่าง 3 – 7 ปี

มาดูกันว่ามือถือมีผลอย่างไรบ้างต่อสมองของลูกน้อย

– มือถือทำให้สมาธิสั้น ส่งผลต่อสมอง 

ในเด็กเล็ก โดยเฉพาะช่วงก่อนเข้าเรียน เป็นช่วงที่เด็กมีภาวะสมาธิสั้นติดตัวกันอยู่แล้ว คือไม่อยู่นิ่ง ไม่สามารถอดทนอยู่กับอะไรได้นาน ๆ แต่การเลี้ยงดูมีผลต่อสมาธิของเด็ก จะมีสมาธิดีขึ้นหรือแย่ลง อยู่ที่สิ่งแวดล้อมการเลี้ยงดู เป็นสำคัญ

การให้ลูกเล่นมือถือ แท็บเล็ต หรือดูทีวี ในช่วงก่อน 2 ขวบ เป็นประจำ แสงที่วูบวาบผ่านหน้าจอ คลื่นความถี่จอภาพ จะทำให้สายตาของเด็กต้องโฟกัสความเคลื่อนไหวของภาพตลอดเวลา สามารถทำให้เกิดอาการสมาธิสั้น ทำให้ความสนใจ และความจำลดลง เนื่องจากสมองลดการสื่อประสาทไปยังสมองส่วนหน้า ทำให้เด็กไม่สามารถที่จะให้ความสนใจและเรียนรู้ได้ กระตุ้นให้เด็กมี อาการสมาธิสั้นเพิ่มขึ้นมือถือทำให้สมาธิสั้น

– มือถือส่งผลให้พฤติกรรมก้าวร้าว

พ่อแม่หลายคนหยิบยื่นมือถือให้ลูกเล่น โดยที่ไม่ได้คิดอะไร แต่ถ้าให้ลูกใช้มือถือ ดูคลิป เล่นเกม โดยที่ไม่มีกติกา หรือกำหนดเวลา อาจทำให้ลูกติดมือถือ แล้วพฤติกรรมเปลี่ยนเป็นเด็กที่หุนหันพลันแล่นเพิ่มขึ้น ก้าวร้าว ความสามารถในการในการควบคุมตนเองลดลง เช่น การร้องอาละวาดเมื่อห้ามไม่ให้เล่นมือถือ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการไม่มีกติกามาคุยกันตั้งแต่แรก รวมทั้งเนื้อหาที่อยู่ในมือถือส่วนใหญ่จะรวดเร็ว ทันใจ กด ๆ จิ้ม ๆ ไม่ต้องรอนาน ทำให้ลูกไม่รู้จักการอดทนรอคอย กลายเป็นเด็กหงุดหงิดง่าย ก้าวร้าว

– มือถือทำให้พัฒนาการล่าช้า

เด็กเล็ก ๆ ควรได้ออกไปวิ่งเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการร่างกายให้แข็งแรง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่จำเป็นในการเคลื่อนไหว ถ้าเด็ก ๆ เอาแต่เล่นมือถืออย่างเดียว จะทำให้ไม่ได้เคลื่อนไหวอย่างเต็มที่ พัฒนาการร่างกายไม่สมบูรณ์แข็งแรง สมองไม่ได้ปลอดโปร่ง ไม่ได้สูดอากาศนอกบ้าน รวมทั้งส่งผลเสียต่อสายตา การมองเห็นด้วย เด็กหลายคนสายตาสั้นก่อนวัยอันควร หรือมีปัญหาการมองเห็น

รู้หรือไม่! 

  • พ่อแม่ต้องทำงานนอกบ้าน และมีเวลาให้ลูกเพียงแค่ วันละ 4 ชั่วโมง
  • พ่อแม่ถึง 60% ให้ลูกเล่นแท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ ตั้งแต่อายุน้อยกว่า 3 ขวบ
  • พ่อแม่ 20% ที่ซื้อแท็บเล็ตให้ลูกตั้งแต่อายุ 8 ขวบ
  • พ่อแม่ กว่า 50% ให้ลูกเล่นแท็บเล็ตตามลำพัง
มือถือทำให้สมาธิสั้น

คำแนะนำ ให้ลูกใช้มือถืออย่างไรให้เหมาะสม

– ไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี เล่นมือถือ หรือ ดูทีวี หรือถ้าสุดวิสัยจริง ๆ อาจจะให้ดูให้น้อยที่สุด ในเวลาที่จำเป็นจริง ๆ

– พยายามไม่ใช้มือถือเลี้ยงลูก เช่น เวลาให้ลูกกินข้าว เพราะทำให้ลูกไม่มีสมาธิในการกิน และใช้เวลากินข้าวนานเกินไป ขาดวินัย และสร้างนิสัยการกินที่ไม่ดี กลายเป็นเด็กกินยาก

– มีกติกาให้กับลูก ว่าเล่นมือถือได้ตอนไหนบ้าง เช่น หลังทำการบ้านเสร็จ ในแต่ละวันเล่นได้กี่นาที กี่ชั่วโมง

– ใช้เวลาอยู่กับลูกเยอะ ๆ ทดแทนการเล่นมือถือ เด็กแค่ต้องการ “เล่น” เท่านั้น ถ้าพ่อแม่ชวนลูกเล่น พาลูกเล่น ลูกจะไม่ติดมือถือแน่นอน

– เป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูก เวลาอยู่ต่อหน้าลูก พ่อแม่ก็ไม่ควรจดจ่ออยู่กับมือถือจนเกินพอดี

– ชวนลูกอ่านนิทาน อ่านหนังสือ พาลูกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน

กำหนดระยะเวลาการดูทีวี เล่นมือถือของลูก

ช่วงอายุ 0-2 ปี ไม่ควรให้ดูทีวี หรือดูมือถือเลย

ช่วงอายุ 3-5 ปี เวลาที่พอเหมาะคือ วันละ 1 ชั่วโมง ให้ดูทีวีรายการทั่วไป ไม่มีเนื้อหารุนแรง หรือ อาจจะให้เล่นมือถือได้บ้าง แต่พ่อแม่ควรดู หรือ เล่น พูดคุย ไปพร้อมกับลูกด้วย

ช่วงอายุ 6-12 ปี เวลาที่พอเหมาะคือ วันละ 2 ชั่วโมง ให้ดูทีวีรายการทั่วไปที่มีเนื้อหาไม่รุนแรง ให้ใช้มือถือได้เอง รวมทั้งให้เล่นเกมต่าง ๆ ได้ แต่ต้องเลือกเกมที่ไม่มีเนื้อหารุนแรง พ่อแม่อาจจะต้องเป็นเพื่อนเล่นไปกับลูกด้วย

ที่มา : https://www.posttoday.com/politic/report/536844

 

“Expert ดีดี” โควิด-19 ไอ หวัด ปวดท้อง ภูมิแพ้ อย่าปล่อยให้เรื้อรัง ปรึกษาฟรี คลิกเลย!

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save