ค่าฝุ่นPM2.5 ระดับไหน อันตรายต่อสุขภาพ?

ค่าฝุ่นPM2.5 ระดับไหน อันตรายต่อสุขภาพ?

ค่าฝุ่นPM2.5

ดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI) เป็นการรายงานข้อมูลคุณภาพอากาศเพื่อเผยแพร่บุคคลทั่วไปได้รับทราบถึงสถานการณ์มลพิษทางอากาศในแต่ละพื้นที่ว่าอยู่ในระดับใด มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยหรือไม่ ดัชนีคุณภาพอากาศ 1 ค่า ใช้เป็นตัวแทนค่าความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศ 6 ชนิด ได้แก่

  1. ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)
  2. ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10)
  3. ก๊าซโอโซน (O3)
  4. ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)
  5. ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)
  6. ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)

เกณฑ์ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย

0-25 = คุณภาพอากาศดีมาก
เหมาะสำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง และการท่องเที่ยว

26-50 = คุณภาพอากาศดี
สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งและการท่องเที่ยวได้ตามปกติ

51-100 = คุณภาพปานกลาง
– ประชาชนทั่วไป สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งได้ตามปกติ
– ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง

101-200 = เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
– ประชาชนทั่วไป ควรเฝ้าระวังสุขภาพ ถ้ามีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น
– ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ
ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ควรปรึกษาแพทย์

201 ขึ้นไป = มีผลกระทบต่อสุขภาพ
ทุกคนควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์

 

อ้างอิงตามเกณฑ์ดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศไทย กรมควบคุมมลพิษ

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close