ไข้หวัดแดด เกิดจากอะไร ใครบ้างต้องระวัง!

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 (โควิด-19) ทำให้ผู้คนเกิดความวิตกกังวล ภาครัฐมีนโยบายเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค กำหนดแนวทางในการป้องกันการติดเชื้อ การรักษาระยะห่างทางสังคม การล้างมือให้สะอาด ด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ หลังจากทำกิจกรรมต่าง ๆ กินร้อน ช้อนตัวเอง การสวมใส่หน้ากากอนามัย การไอ จาม ที่ถูกวิธี การดูแลสุขภาพอนามัยส่วนบุคคล ส่งผลให้การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจลดต่ำลง แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอากาศประเทศไทยในช่วงเวลาปัจจุบันเปลี่ยนแปลงบ่อยตลอดทั้งปี  นอกจากจะมีช่วงเวลาที่ฝนตก ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการไม่สบายได้แล้ว ช่วงเวลาที่อากาศร้อนจัด อุณหภูมิที่สูง ก็สามารถทำให้เกิดอาการไม่สบายได้เช่นกัน โดยอาจ ทำให้เกิด ไข้หวัดแดด หรือ Summer flu ได้

ดีคอลเจน ชนิดเม็ด (Decolgen tablets) บรรเทาหวัด น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ และเป็นไข้

ไข้หวัดแดด (Summer Flu)

เกิดจากการที่ร่างกายได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่ ที่มีปัจจัยทางด้านอากาศ และอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงบ่อยเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการไข้หวัดแดด โดยร่างกายจะสะสมความร้อนเอาไว้ภายใน จนทำให้เกิดอาการป่วย โดยเฉพาะคนที่ต้องเข้าออกระหว่างห้องแอร์ที่เย็นฉ่ำกับภายนอกที่อากาศร้อนจัดบ่อยครั้ง ก็ยิ่งเสี่ยงต่อการเป็นไข้หวัดแดดได้ง่าย เพราะร่างกายอาจปรับตัวไม่ทันกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย

โดยผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นไข้หวัดแดดได้มากกว่าคนปกติ คือ

  • ผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้ง หรือทำงานในสภาพอากาศที่ร้อนจัดเป็นเวลานาน
  • ผู้ที่ต้องเข้าออกระหว่างห้องที่มีอากาศเย็นจากเครื่องปรับอากาศ กับภายนอกที่มีอากาศร้อน
  • ผู้ที่อยู่ในสถานที่ที่มีความแออัดเป็นเวลานาน
  • เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับสภาพอากาศร้อนจัด หรือผู้ที่กำลังป่วย

ในช่วงเวลาปกติ อุณหภูมิร่างกายของคนเราจะอยู่ที่ 36-37 องศาเซลเซียส แต่หากเจอสภาพอากาศที่ร้อนมาก ๆ อุณหภูมิร่างกายอาจสูงขึ้นไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอาการเพลียแดด รู้สึกเหมือนเป็นไข้รุม ๆ ร่วมกับอาการเฉพาะของไข้หวัดแดด คือ

  • ตัวร้อน ไข้รุม
  • ปวดศีรษะ มึนศีรษะ
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • ตาแดงหรือมีการปวดแสบที่กระบอกตา
  • ริมฝีปากแห้ง คอแห้ง
  • เบื่ออาหาร
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • นอนไม่หลับ
  • ขับถ่ายไม่เป็นปกติ

ไข้หวัดแดด

หวัดแดด กับ หวัดธรรมดา ต่างกันตรงไหน?

หากอยากรู้ว่า ตนเองป่วย เป็นหวัดธรรมดา หรือว่าเป็นไข้หวัดแดด กันแน่ ก็สามารถสังเกตอาการเด่นๆ เพื่อแยกโรคได้ โดย…

ไข้หวัดธรรมดา – มีไข้ ปวดศีรษะ เป็นหวัด เป็นหวัดปวดหัว คัดจมูกมาก อ่อนเพลีย และ มีอาการเจ็บคอ น้ำมูกไหล มีเสมหะร่วมด้วย

ไข้หวัดแดด – จะเกิดจากร่างกายสะสมความร้อนเอาไว้มาก จนระบายออกไม่ทัน ผู้ป่วยจะมีไข้ ตัวร้อน ปวดศีรษะมาก ตาแดง แต่ไม่ค่อยคัดจมูก มีน้ำมูก หรืออาจมีน้ำมูกใสเล็กน้อย และไม่มีอาการเจ็บคอ แต่จะรู้สึกขมปาก คอแห้ง แสบคอแทน

เนื่องจากเชื้อที่ทำให้ป่วยเป็นไข้หวัดแดด คือเชื้อตัวเดียวกับไข้หวัด แนวทางการรักษา และดูแลตนเองจึงคล้ายกับไข้หวัด โดยอาจใช้ยาบรรเทาอาการต่าง ๆ เช่น ยาแก้ปวดลดไข้ ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก และยาแก้คัดจมูก ซึ่งอาจพิจารณาการใช้ยาสูตรผสมเพื่อความสะดวกในการรับประทาน ที่ไม่ต้องรับประทานยาจำนวนหลายเม็ดในแต่ละครั้ง

ยาสูตรผสมในปัจจุบัน มักประกอบด้วยยาจำนวน 2-3 ชนิดใน 1 เม็ด ได้แก่ ยาแก้ปวด ลดไข้, ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก และอาจผสมยาแก้คัดจมูกในสูตรยาด้วย  สามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้

1. ยาสูตรผสม ชนิดที่มีตัวยา 2 ชนิด ใน 1 เม็ด ประกอบด้วย

  1. ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ปริมาณ 500 มิลลิกรัม สำหรับบรรเทาอาการปวด ลดไข้
  2. ผสมกับยาคลอเฟนิรามีน มาลีเอต (Chlopheniramine maleate) ปริมาณ 2 มิลลิกรัม

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ เช่น ดีคอลเจน ชนิดเม็ด (DECOLGEN) สำหรับบรรเทาอาการแพ้และช่วยลดน้ำมูก โดยยาชนิดนี้ ไม่จัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย สามารถโฆษณา และซื้อขายได้ตามร้านขายยาทั่วไป โดยผู้ใช้สามารถตัดสินใจซื้อได้ด้วยตนเองเมื่อมีอาการเจ็บป่วย เหมาะกับผู้เป็นไข้หวัดที่มีอาการแพ้ร่วมด้วย เช่น มีไข้ ปวด น้ำมูกไหล จาม

ขนาดรับประทานสำหรับยากลุ่มนี้คือ

  • ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ  2 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง
  • เด็กอายุ 7-12 ปี รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง
  • เด็กที่อายุต่ำกว่า 7 ปี ควรใช้ภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์ เนื่องยังไม่มีข้อมูลในการใช้ยาในเด็กที่อายุต่ำกว่า 7 ปี

ผลข้างเคียงที่สามารถพบได้บ่อย คือ อาการง่วงนอน ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการเรียน และการทำงาน จึงอาจเปลี่ยนชนิดการใช้ยาเป็นยาแก้แพ้กลุ่มที่ไม่ง่วงนอนในช่วงเวลากลางวัน และใช้ยาสูตรผสมในเวลากลางคืนแทน

2. ยาสูตรผสมที่มีตัวยา 3 ชนิด ใน 1 เม็ด ประกอบด้วย

  1. ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ปริมาณ 500 มิลลิกรัม สำหรับบรรเทาอาการปวด ลดไข้
  2. ผสมกับยาคลอเฟนิรามีน มาลีเอต (Chlopheniramine maleate) ปริมาณ 2 มิลลิกรัม สำหรับบรรเทาอาการแพ้ และช่วยลดน้ำมูก เช่นเดียวกับยาสูตรแรก
  3. โดยจะเพิ่มตัวยา ฟีนิลเอฟรีน ไฮโดรคลอไรด์ (Phenylephrine HCl) ปริมาณ 10 มิลลิกรัม

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ เช่น ดีคอลเจน พริน ชนิดเม็ด (DECOLGEN PRIN TABLET) สรรพคุณเพื่อบรรเทาอาการคัดจมูก ยาสูตรนี้ จะถือเป็นยาอันตราย ไม่สามารถโฆษณาโดยตรงต่อประชาชนได้ และสามารถหาซื้อได้ในร้านขายยาแผนปัจจุบันเท่านั้น เหมาะกับผู้ที่เป็นไข้หวัดที่มีอาการคัดจมูกร่วมด้วย เช่น ไข้ ปวด น้ำมูกไหล จาม ร่วมกับอาการคัดจมูก

ขนาดรับประทานสำหรับยากลุ่มนี้ คือ

  • ผู้ใหญ่ ให้รับประทานยาครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง
  • เด็กอายุ 6-12 ปี ให้รับประทานยาครั้งละ 1 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง

3. ยาสูตรผสมที่มีตัวยา 3 ชนิด โดยมีสูตรแตกต่างจากสูตรที่สอง คือ

  1. ตัวยาแก้คัดจมูก จะเป็นตัวยาซูโดอีเฟดรีน ไฮโดรคลอไรด์ (Pseudoephredrine HCl)  ปริมาณ 30 มิลลิกรัม
  2. ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ปริมาณ 500 มิลลิกรัม สำหรับบรรเทาอาการปวด ลดไข้
  3. ผสมกับยาคลอเฟนิรามีน มาลีเอต (Chlopheniramine maleate) ปริมาณ 2 มิลลิกรัม สำหรับบรรเทาอาการแพ้ และช่วยลดน้ำมูกเช่นเดียวกันกับสูตรที่สอง

โดยยาชนิดนี้จะถือเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิต และประสาทประเภทที่ 2 ซึ่งสามารถใช้ได้เฉพาะในสถานพยาบาล และสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น จึงไม่สามารถหาซื้อยาสูตรนี้ในร้านขายยาแผนปัจจุบันได้

สำหรับขนาดการรับประทานยาทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ ควรใช้ภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์

คำแนะนำและข้อควรระวังในการใช้ยาสูตรผสม ได้แก่

1. ควรใช้ยานี้ตามวิธีใช้ที่ระบุไว้บนฉลากยา หรือตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด ห้ามใช้ยาในขนาดที่น้อยกว่าหรือมากกว่าที่ระบุไว้ ควรระมัดระวังการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ (โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ระยะ 3 เดือนแรก) และหญิงให้นมบุตร ซึ่งการใช้ยาในผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์เท่านั้น ผู้ป่วยห้ามหาซื้อยามารับประทานด้วยตัวเอง

2. ควรระมัดระวังการใช้ยานี้ในเด็ก และผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 7 ปี การใช้ยาจะต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ เนื่องจากเด็ก และผู้สูงอายุจะมีการตอบสนองต่อยาที่ไวมากขึ้น ทำให้อาจจะมีอาการง่วงนอน วิงเวียน ประสาทหลอน ความดันโลหิตต่ำ นอนไม่หลับ ปากแห้ง ปัสสาวะคั่ง และบางรายอาจมีอาการชักได้

3. ยานี้อาจทำให้เกิดอาการง่วงนอน วิงเวียน สับสน ปากแห้ง ตาพร่า เสมหะเหนียวข้น ปัสสาวะขัด และเม็ดเลือดผิดปกติได้ หลังการรับประทานยาจึงควรหลีกเลี่ยง หรือเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร หรือทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง โดยหากมีข้อสงสัยควรสอบถามแพทย์ หรือเภสัชกร เพื่อการเลือกใช้ยาที่ถูกต้อง และเหมาะสม

การปฏิบัติตนเมื่อเป็น ไข้หวัดแดด

  1. ควรลดอุณหภูมิร่างกายโดยการอยู่ในที่ร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก
  2. ใช้ผ้าเช็ดตัวเพื่อลดความร้อนในร่างกาย
  3. หลีกเลี่ยงการเผชิญกับแสงแดด และความร้อนโดยตรงเป็นเวลานาน
  4. สวมใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบาย เนื้อผ้าไม่หนาเพื่อให้ระบายอากาศได้ดี
  5. อย่าหลบร้อนโดยการเข้าห้องแอร์เย็นในทันที เพราะจะทำให้ร่างกายปรับอุณหภูมิไม่ทัน
  6. ดื่มน้ำสะอาด พักผ่อนอย่างเพียงพอ
  7. ล้างมือบ่อย ๆ ก่อนการรับประทานอาหาร
  8. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง

ซึ่งโดยปรกติแล้ว อาการไข้หวัดแดดจะใช้เวลาในการรักษา และฟื้นฟูร่างกายไม่เกิน 2 สัปดาห์ เนื่องจากเชื้อโรคสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้นในสภาวะอากาศที่ร้อนชื้น

ถึงแม้มาตราการต่าง ๆ ในช่วงเวลาปัจจุบันสำหรับโรค COVID-19 (โควิด-19) ทั้งการสวมใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือการรักษาระยะห่างทางสังคม จะช่วยให้โรคต่าง ๆที่เกี่ยวกับการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจลดน้อยลงไปด้วย

แต่อย่าลืมโรค ไข้หวัดแดด ที่มักจะมาพร้อมกับปัจจัยทางด้านสภาพอากาศที่แปรปรวน อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงบ่อย จนทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย โดยจะมีอาการไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว คอแห้ง แสบคอ และอาจมีน้ำมูกใสร่วมด้วย

ในด้านการรักษา อาจจะเลือกบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นด้วยยาเม็ดสูตรผสม เพื่อความสะดวกในแง่ของการไม่ต้องรับประทานยาจำนวนหลายเม็ดในคราวเดียวกัน แต่มีผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย คือ ง่วงนอน จึงควรระมัดระวังในการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร

นอกจากนี้ ควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนอย่างเพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อช่วยป้องกันและรักษาอาการที่เกิดจากไข้หวัดแดด

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close