ยาที่ควรพกไปเที่ยวเมืองนอก ควรมีอะไรบ้าง? เตรียมให้พร้อม เที่ยวอุ่นใจยุคโควิด-19

ใครที่มีแพลนจะไปเที่ยวต่างประเทศ ต้องไม่พลาดบทความนี้ เพราะ GED good life มีคำแนะนำดีดีเกี่ยวกับ “ยาที่ควรพกไปเที่ยวเมืองนอก ควรมีอะไรบ้าง?” ในยุคที่โควิดยังคงต้องเฝ้าระวังอยู่ และข้อควรรู้เกี่ยวกับการพกยาไปต่างประเทศ อย่ารอช้า มาเช็กกันเลย!

ดีคอลเจน ชนิดเม็ด (Decolgen tablets) บรรเทาหวัด น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ และเป็นไข้

ยาที่ควรพกไปเที่ยวเมืองนอก ควรมีอะไรบ้าง?

1. ยาสำหรับโรคประจำตัว

ยาสำหรับโรคประจำตัว เป็นยาที่สำคัญที่สุดที่ห้ามลืมพกไปเด็ดขาด โดยเฉพาะในผู้สูงวัยอาจต้องทบทวนว่า ได้เตรียมยาโรคประจำตัวไว้ในกระเป๋าเดินทางหรือยัง เช่น ยาสำหรับโรคความดัน เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง หอบหืด โรคซึมเศร้า โรคกรดไหลย้อน เป็นต้น ควรพกไปให้ครบตามจำนวนวันที่จะไปเที่ยว

2. กลุ่มยาแก้ไข้ แก้ปวด

ยาบรรเทาอาการปวด ลดไข้ เป็นยาที่สำคัญ และจำเป็นมาก เนื่องจากการเที่ยวต่างประเทศอาจทำให้สภาพร่างกายของเราปรับอุณหภูมิตามประเทศนั้น ๆ ไม่ทัน รวมไปถึงการต้องเดินเที่ยวเป็นเวลานาน ๆ เสี่ยงต่อการเป็นไข้ ปวดหัว ตัวร้อน และปวดเมื่อยได้

  • ยาบรรเทาหวัดลดไข้สูตรผสม เหมาะกับผู้เป็นไข้หวัดที่มีอาการแพ้ร่วมด้วย เช่น มีไข้ ปวด น้ำมูกไหล จาม เป็นต้น
  • พาราเซตามอล (Paracetamol) เป็นยาแก้ไข้ รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ดหลังอาหาร ทุก 4-6 ชั่วโมง
  • ยาแก้ปวดเมื่อย คลายกล้ามเนื้อ ทั้งแบบกินและแบบทา
  • ยาแก้ปวดประจำเดือน สำหรับผู้หญิงที่เดินทางไปต่างประเทศช่วงมีประจำเดือนแนะนำให้พกติดตัวไว้ด้วย

3. ยาแก้แพ้

บ้านไหนที่มีผู้ป่วยภูมิแพ้ โดยเฉพาะภูมิแพ้อากาศ จำเป็นต้องพกยาแก้แพ้ไปด้วย แนะนำให้พก ยาแก้แพ้ประเภทไม่ง่วง เพราะไม่ทำให้ง่วงขณะเดินทางไปเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ นั่นเอง โดยยาแก้แพ้ชนิดไม่ง่วงที่นิยมและปลอดภัย คือ ยาลอราทาดีน ชนิดเม็ด ใช้เพียง 1 เม็ดต่อวัน ก็สามารถบรรเทาอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น น้ำมูกไหล จาม คัดจมูก คันจมูก คันตา น้ำตาไหล ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. ยาละลายเสมหะ

ในยุคที่โควิดยังระบาด ยาแก้ไอละลายเสมหะ เป็นอีกหนึ่งยาที่จำเป็นต้องพกไปด้วย เพราะเมื่อติดโควิดขึ้นมา ก็สามารถใช้ยาละลายเสมหะที่มีส่วนผสมของตัวยาคาร์โบซิสเทอีน ในการลดอาการไอมีเสมหะได้เป็นอย่างดี โดยยาละลายเสมหะมีทั้งแบบเม็ด และแบบน้ำ ถ้าเป็นยาน้ำสำหรับเด็ก ต้องระวังขวดแตก และขวดยาต้องบรรจุไม่เกิน 100 มล.

5. กลุ่มยาระบบทางเดินอาหาร

อาหารที่ต่างประเทศ อาจมีรสชาติที่ผิดปกติไปจากที่เราทานอยู่ทุกวัน อาจทำให้ระบบอาหารของเรามีปัญหาได้ โดยยาสามัญประจำบ้านในกลุ่มระบบทางเดินอาหารที่ควรพกเวลาไปเที่ยวต่างประเทศ ได้แก่

  • ไซเมทิโคน (Simethicone)  เป็นยาแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุก เสียด แน่นท้อง ลดกรดในกระเพาะอาหาร รับประทานครั้งละ 1 เม็ดหลังอาหาร 3 มื้อ และก่อนนอน หรือตามแพทย์สั่ง
  • ผงเกลือแร่โออาร์เอส (ORS) เป็นผงเกลือแร่ที่ใช้ผสมน้ำดื่มเพื่อทดแทนน้ำ และเกลือแร่สำหรับผู้ที่เกิดอาการท้องเสียหรืออาเจียนมาก รับประทานวันละ 6-9 แก้วต่อวัน
  • อัลตราคาร์บอน (Ultracarbon) เป็นยาแก้ท้องเสีย รับประทานครั้งละ 1 เม็ด ควรรับประทานก่อนอาหารอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรือหลังอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง

6. ยาแก้เมารถ เมาเรือ เมาเครื่องบิน

หากรู้ตัวเองว่าเป็นคนเมารถ เมาเรือ หรือเครื่องบินได้ง่าย ควรกินยาก่อนเดินทางประมาณครึ่งชั่วโมง เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ขณะที่อยู่ระหว่างเดินทาง เพราะหากกินตอนเริ่มเดินทาง ยาอาจออกฤทธิ์ไม่ทัน และควรพกไว้จุดที่สามารถหยิบจับได้ง่าย

7. ชุดทำแผลสด

นอกจากสำลี ผ้าก็อชแล้ว ก็มีโพวิโดน ไอโอดีนไว้ใส่แผล มีแอลกอฮอล์ไว้ล้างแผล แต่ถ้ากลัวแสบแผลก็ใช้เป็นเบตาดีนแทนได้ เนื่องจากสามารถใช้ฆ่าเชื้อได้เช่นกัน

8. เจลแอลกอฮอล์ และหน้ากากอนามัย

เรียกได้ว่า ไม่ต้องบอกก็คงพกไปกันทุกคน เพราะในยุคที่โควิดยังคงระบาดอยู่ หน้ากากอนามัย กับ เจลแอลกอฮอล์ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยทีเดียว และควรเลือกหน้ากากอนามัยที่ได้มาตรฐาน เพื่อการป้องกันเชื้อโรค ฝุ่น ควันต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอย่าลืมว่าเมืองนอก สิ่งของเหล่านี้มักมีราคาแพงกว่าในไทย ควรพกเผื่อเหลือเผื่อขาดไว้หน่อยก็ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้เช่นกัน

ควรจัดเตรียมยาสำหรับเดินทางอย่างไรดี?

1. สำคัญที่สุดเลยคือ ตรวจสอบประเทศที่จะเดินทางไปว่า ห้ามนำเข้ายาตัวใดบ้าง เช่น ยาที่มีส่วนผสมของ “สารซูโดอีเฟดรีน” ที่สามารถนำไปใช้เป็นสามารถตั้งต้นในการผลิตยาบ้าได้, ยาประเภทกดประสาท เป็นต้น

2. หากมีใบสั่งยาจากแพทย์ให้นำใบสั่งยาติดตัวไปด้วย เพื่อแสดงเป็นหลักฐานยืนยันการใช้ยาอย่างถูกต้อง

3. ยาควรอยู่ในบรรจุภัณฑ์หรือแผงยา (ไม่ควรแกะยาออกมาจากแผง) ผู้ตรวจสามารถเห็นรายละเอียดของยาได้ชัดเจน และครบถ้วน

4. ต้องมีปริมาณยาใช้ได้ไม่เกิน 30 วัน สำหรับการนำยาออกนอกประเทศนั้นตามระเบียบสากลอนุญาตให้สามารถนำยาที่จำเป็นติดตัวไปได้ในปริมาณไม่เกินสำหรับการรับประทานยาเป็นเวลา 30 วัน

 

การนำยาออกนอกประเทศนั้น แต่ละประเทศจะมีกฎ และข้อห้ามที่แตกต่างกันไป ดังนั้นนักท่องเที่ยวจึงควรตรวจสอบข้อห้ามของแต่ละประเทศให้ถี่ถ้วนอีกครั้ง เพราะถ้าหากมีการนำยาผิดกฎหมายเข้าไปในประเทศนั้น ๆ อาจโดนข้อหาฝ่าฝืนกฎหมาย และสามารถถูกดำเนินคดีได้

 

อ้างอิง : 1. rama.mahidol 2. patourlogy

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close