10 พฤติกรรมเสี่ยงโรคกระเพาะอาหาร

โรคกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่ผู้ป่วยส่งคำถามเข้ามายังบอร์ด Ask Expert เป็นจำนวนมาก หลายคนมักจะถามถึงอาการของโรคกระเพาะ ว่าเป็นแบบนี้ แบบนั้น เรียกว่าโรคกระเพาะไหม วันนี้ GedGoodLife จะมาไขข้อข้องใจทั้งอาการของโรคกระเพาะ  และ 10 พฤติกรรมเสี่ยงโรคกระเพาะอาหาร จะมีอะไรบ้าง มาติดตามกัน!

– ปวดท้องบ่อย ให้ระวัง! โรคกระเพาะอาหาร •สาเหตุ •อาการ •วิธีรักษา
– เครียดลงกระเพาะ โรคใกล้ตัวของมนุษย์เงินเดือน

อาการของโรคกระเพาะอาหาร

โรคกระเพาะอาหาร หรือ โรคแผลในกระเพาะอาหาร (Gastric ulcer – GU) คือ โรคที่มีแผลในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น ผู้ป่วยโรคแผลในกระเพาะอาหารมักมีอาการปวดท้องชนิดเป็น ๆ หาย ๆ ในช่องท้องส่วนบน เช่นบริเวณเหนือสะดือ ลิ้นปี่ หรือยอดอก โดยมักปวดในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

  • แสบร้อนท้อง
  • จุกเสียดแน่นท้อง
  • รู้สึกท้องอืด ท้องเฟ้อ เหมือนอาหารไม่ย่อย
  • รับประทานอาหารแล้วท้องอืดโต มีลมในท้องมาก
  • ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ (เหมือนสีเฉาก๊วย)
  • คลื่นไส้ อาเจียน เรอบ่อย
  • เบื่ออาหาร และน้ำหนักลดผิดสังเกต
  • อาเจียน หรือถ่ายเป็นเลือด เนื่องจากมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร
  • ไม่มีความอยากอาหาร เบื่ออาหาร และอาจผอมลง
  • รู้สึกท้องเกร็งแข็ง หรือรู้สึกปวดบีบมวนท้องคล้ายอยากถ่ายอุจจาระ

โดยอาการเหล่านี้มักเป็นในช่วงท้องว่าง ก่อนมื้ออาหาร ตอนกลางคืน ขณะนอนหลับ หรือเกิดภายหลังรับประทานยาที่มีฤทธิ์ระคายเคืองต่อผิวกระเพาะอาหาร (เช่น ยาแอสไพริน ยากลุ่มNSAIDs เป็นต้น) ในบางครั้งอาการปวดท้องดังกล่าวอาจดีขึ้นได้ชั่วขณะเมื่อดื่มนม รับประทานอาหาร หรือ ใช้ยาลดกรด

พฤติกรรมเสี่ยงโรคกระเพาะอาหาร


10 พฤติกรรมเสี่ยงโรคกระเพาะอาหาร

1. การกินอาหารไม่สะอาด ปรุงดิบ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ

2. การดื่มน้ำที่ไม่สะอาด

3. ชอบกินอาหารรสจัด รสเผ็ด ๆ อาหารมัน ๆ

4. ทานอาหารแล้วนอน

5. เครียดเป็นประจำ โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือน

6. กินยาแก้ปวด เช่น ยาแอสไพริน ยากลุ่มNSAIDs เป็นประจำ

7. การดื่มสุรา กาแฟ น้ำอัดลม เป็นประจำ

8. สูบบุหรี่หนัก

9. การเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง ที่ส่งผลต่อร่างกายทำให้เกิดความเครียดสูง

10. ได้รับยาเคมีบำบัดบางชนิด หรือใช้สารเสพติดประเภทโคเคน


นายแพทย์สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กล่าวว่า การป้องกันไม่ให้เกิดโรคกระเพาะอาหารนั้น สามารถดูแลได้ด้วยตัวเอง คือ

  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้ ตรงเวลา อย่าปล่อยให้ท้องว่างเกิน 3 ชั่วโมง
  • รับประทานอาหารจำนวนน้อย ๆ ย่อยง่าย
  • ในแต่ละมื้อควรหลีกเลี่ยงอาหาร และเครื่องดื่มที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดท้อง เช่น อาหารรสจัด รสเปรี้ยว อาหารหมักดอง
  • งดเครื่องดื่มกาแฟ ช็อกโกแลต แอลกอฮอล์ บุหรี่ น้ำอัดลม เพราะมีแก๊สมากกระเพาะขยายตัวทำให้ปวดมากขึ้น และกระตุ้นให้หลั่งกรดเพิ่มขึ้นด้วย
  • งดการใช้ยาแก้ปวดแอสไพริน และยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID)
  • หลีกเลี่ยงความเครียด ความวิตกกังวล เพราะความเครียดจะกระตุ้นให้กรดออกมาก ตามธรรมชาติเมื่อกรดออกมากจะสร้างแก๊สมาก กระเพาะจะขยายและเกร็งตัวทำให้มีอาการปวดท้องมากกว่าปกติ
  • หากอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการ ปวดท้องรุนแรง น้ำหนักลด อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระสีดำ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

โรคกระเพาะ หากปล่อยละเลย ไม่ยอมปรับ พฤติกรรมเสี่ยงโรคกระเพาะอาหาร ก็อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงตามมาได้ ที่สำคัญโรคกระเพาะอาหารมักเป็นโรคเรื้อรัง เมื่อหายแล้วยังมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก หากไม่ตรวจรักษาให้ถูกวิธี และระวังปฏิบัติตัวให้ถูกต้องต่อไป


อ้างอิง : 1. gedgoodlife.com / 2. สสส. / 3. รพ.กรุงเทพหาดใหญ่ / 4. komchadluek

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close