gedgoodlife

อาการแพ้ยา VS ผลข้างเคียงของยา แตกต่างกันยังไง แบบไหนอันตรายกว่ากัน?

  คนส่วนใหญ่มักเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการแพ้ยา หรือ ผลข้างเคียงจากการใช้ยา จนอาจมีผลต่อสุขภาพได้ ฉะนั้นมาดูกันว่า อาการแพ้ยา VS ผลข้างเคียงของยา มีความแตกต่างกันอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าเราแพ้ หรือแค่ผลข้างเคียง แล้วแบบไหนอันตรายกว่า? อาการแพ้ยา VS ผลข้างเคียงของยา แตกต่างกันยังไง? สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ระบุถึงความแตกต่างของการแพ้ยา และผลข้างเคียงของยา ไว้ดังนี้ – อาการแพ้ยา คือ ความผิดปกติของร่างกายที่มีต่อยาที่ใช้ ไม่ว่าจะด้วยการกิน ฉีด ทา หยอด สูด ความผิดปกติที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้เกิดกับทุกคน ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าว่าผู้ใช้ยาจะแพ้ยาตัวไหน – อาการข้างเคียงของยา คือ อาการที่เกิดจากฤทธิ์ของยา เช่น ทานยาแก้ปวด Ibuprofen แล้วมีอาการแสบท้องเนื่องจากยาระคายกระเพาะ เรียกว่าเป็นผลข้างเคียงจากยา เพียงแต่จะเกิดขึ้นมากน้อยแตกต่างกันไปขึ้นกับการรับรู้ของแต่ละบุคคล กล่าวโดยสรุป อาการแพ้ยาอันตรายกว่าผลข้างเคียงของยามาก อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ ส่วนผลข้างเคียงของยาส่วนใหญ่แล้วจะไม่รุนแรง และมักคาดการณ์ได้ว่าหากใช้ยาชนิดใดจะเกิดผลข้างเคียงอย่างไร ทำความเข้าใจกับ อาการแพ้ยา การแพ้ยา (Drug allergy) คือ อาการไม่พึงประสงค์จากยาที่แสดงอาการคล้ายคลึงกับโรคภูมิแพ้ เป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อต้านยาที่ได้รับเข้าไป ซึ่งไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าว่าผู้ใช้ยาจะแพ้ยาตัวไหน หากพบว่าทานยาแล้วมีอาการแพ้ยาควรหยุดยาที่ต้องสงสัยทั้งหมด และพบแพทย์เพื่อรักษาอาการแพ้ที่เกิดขึ้นอย่างถูกวิธี และห้ามทานยาที่แพ้ซ้ำอีก ดังนั้น… ผู้ที่แพ้ยาควรจดจำชื่อยาที่แพ้ให้ได้ และควรพกบัตรแพ้ยาติดตัวไว้เสมอ เพื่อป้องกันการแพ้ยาซ้ำ ทั้งนี้อาการแพ้ยาส่วนใหญ่ไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม โดยไม่จำเป็นว่าพ่อแม่มีอาการแพ้ยาแล้วลูกจะต้องแพ้ยาชนิดเดียวกัน อาการแพ้ยา VS ผลข้างเคียงของยา แตกต่างกันยังไง แบบไหนอันตรายกว่ากัน?

ภูมิแพ้อาหารในเด็ก จะรู้ได้ยังไงว่าเด็กแพ้อะไรบ้าง? รวมอาการ และวิธีป้องกัน

  ภูมิแพ้อาหารในเด็ก จัดเป็นโรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่งที่พบในเด็กบ่อยกว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในเด็กเล็กมักจะมีอาการแพ้บ่อยกว่าเด็กโด พ่อแม่-ผู้ปกครอง อาจคิดว่าภูมิแพ้อาหารไม่ใช่โรคอันตราย แต่ในความจริงภาวะการแพ้อาหาร อาจทำให้เกิดการแพ้รุนแรงที่ส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตได้เลยทีเดียว! ฉะนั้น GED good life จึงขอฝากข้อควรรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับภูมิแพ้อาหารในเด็ก เพื่อให้พ่อแม่-ผู้ปกครอง ได้เรียนรู้เท่าทัน ป้องกันได้ ภูมิแพ้อาหาร ต้องใส่ใจกว่าที่คิด กินผิดอาจถึงชีวิตได้! สาเหตุ อาการ วิธีรักษา ภูมิแพ้อาหารในเด็ก vs ผู้ใหญ่ ต่างกันอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าแพ้อาหารอะไรบ้าง? เคล็ดลับ! ชนะภูมิแพ้ เสริมภูมิลูกด้วยนมแม่ และ 8 ประโยชน์ดีดีจากนมแม่ ภูมิแพ้อาหารในเด็ก มีสาเหตุจากอะไร? สาเหตุของภูมิแพ้อาหารในเด็ก มีปัจจัยสำคัญ 2 อย่าง คือ 1. คนในครอบครัวมีประวัติเคยแพ้อาหาร พบว่าหากในครอบครัวมีสมาชิกที่เป็นโรคภูมิแพ้ 1 คน ความเสี่ยงในการเกิดการแพ้อาหารจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 หากมีสมาชิกในครอบครัวสายตรงเป็นโรคภูมิแพ้ 2 คน ความเสี่ยงในการเกิดการแพ้อาหารจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 80 2. การขาดวิตามินดี มีผลทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดการแพ้อาหาร ภูมิแพ้อาหารในเด็ก จะรู้ได้ยังไงว่าเด็กแพ้อะไรบ้าง? รวมอาการ และวิธีป้องกัน

ภูมิแพ้ในห้องนอน ภัยร้ายเรื้อรัง ที่แฝงมากับไรฝุ่น

  เคยไหม ตื่นเช้ามาก็มีอาการน้ำมูกไหล ไอ จาม ทั้งที่ยังไม่ได้อะไรเลย! นั่นอาจแปลว่าคุณกำลังเผชิญกับอาการ ภูมิแพ้ในห้องนอน เข้าให้แล้ว! เรามาดูกันว่าแค่นอนอยู่เฉย ๆ ทำไมถึงเป็นภูมิแพ้ได้ แล้วมันมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง พร้อมเกร็ดความรู้เรื่องไรฝุ่น ที่เราอาจไม่เคยรู้มาก่อน! โรคภูมิแพ้คืออะไร ทำไมถึงเป็น มีอาการอะไรบ้าง? และข้อควรรู้เรื่องภูมิแพ้ ไรฝุ่น ภัยเงียบ ร้ายลึก สาเหตุของโรคภูมิแพ้! ภูมิแพ้อากาศ และฝุ่น รักษายังไง กินยาอะไรได้บ้างครับ? ภูมิแพ้ในห้องนอน เกิดจากอะไร ? ภูมิแพ้ในห้องนอน (Allergic to My Bedroom) ส่วนใหญ่เกิดจากสารก่อภูมิแพ้ที่เรียกว่า ฝุ่น โดยเราจะแยกให้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ 1. ฝุ่นทั่วไปในบ้าน (Dust) คือ อนุภาคขนาดเล็กซึ่งเกิดได้จากกิจกรรมทั่วไปในบ้านของเรา เมื่อวัตถุต่าง ๆ ถูกกระแทก ทุบ แตกออก ชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็กก็ฟุ้งกระจายขึ้นสู่อากาศเป็นฝุ่น ฝุ่นมีตั้งแต่ขนาดที่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า จนถึงขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ซึ่งเมื่อเราสูดเข้าสู่ร่างกาย อาจก่อให้เกิดการอาการแพ้ในระบบทางเดินหายใจได้ 2. ภูมิแพ้ในห้องนอน ภัยร้ายเรื้อรัง ที่แฝงมากับไรฝุ่น

เช็กด่วน! 7 อาการแพ้ฝุ่น PM2.5 พร้อมวิธีรับมือฝุ่นจิ๋วจากแพทย์

  ฝุ่น PM2.5 พุ่งทั่วไทย ระวังป่วยเป็นภูมิแพ้อากาศ! หลายพื้นที่น่าเป็นห่วงจมใต้ฝุ่น โดยเฉพาะภาคกลาง ภาคเหนือ และอีสาน ต้องระวังให้ดี อาจทำป่วยมีอาการภูมิแพ้ คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ จาม และโรคร้ายอื่น ๆ ได้ มาเช็กกันเลยว่าพื้นที่ไหนบ้างที่ควรระวัง พร้อมชี้ 7 อาการแพ้ฝุ่น PM2.5 พร้อมคลิปวิดีโอรับมือฝุ่นจิ๋วจากคุณหมอ ฝุ่น PM2.5 คืออะไร ทำร้ายสุขภาพเรายังไงบ้าง? สาเหตุ อาการ วิธีป้องกัน 4 อาการร้ายเงียบของฝุ่นPM2.5 ที่คุณอาจไม่รู้มาก่อน! ภูมิแพ้อากาศ และฝุ่น รักษายังไง กินยาอะไรได้บ้างครับ? 7 อาการแพ้ฝุ่น PM2.5 ที่คนไทยเป็นกันเยอะ! อาการภูมิแพ้ และหอบหืดกำเริบ ระคายเคืองตา ตาแดง คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก คันผิวหนัง มีผื่นคัน ทั้ง 7 อาการนี้บ่งบอกได้ว่าฝุ่นพิษ PM เช็กด่วน! 7 อาการแพ้ฝุ่น PM2.5 พร้อมวิธีรับมือฝุ่นจิ๋วจากแพทย์

Work From Home อย่างไรให้เวิร์ค งานไม่ล่ม บอสกดเลิฟแน่นอน!?

  โควิดก็ต้องหนี แต่งานก็ยังต้องทำ! มาตรการ Work From Home จึงบังเกิดขึ้นทั่วไทย ใครที่ต้องเดินทางไปที่ทำงานไกล ๆ ก็คิดว่าสบายแล้วเรา ทำงานที่บ้านชิล ๆ แต่พอถึงเวลาต้องทำงานที่บ้านจริง ๆ งานดันไม่ออก บอสบอกสั่งประหารสะดีไหม!! งั้นเรามาดู Do & Don’t ทำงานที่บ้านอย่างไรให้มีประสิทธิภาพกันเถอะ DO : Work From Home ให้ได้ดี ต้อง… 1. อันดับแรกตื่นเช้ามา อาบน้ำ แปรงฟัน บางคนคิดว่าทำงานที่บ้านแล้ว สบายยยย ตื่นสายหน่อยละกัน ไว้ค่อยอาบน้ำ แปรงฟันตอนไหนก็ได้ แต่รู้หรือไม่ว่า ความคิดแบบนี้กำลังทำให้เราเป็นคนขี้เกียจตั้งแต่ตื่นเลยนะ!! และประโยชน์ของการอาบน้ำตอนเช้า ยังช่วยให้เราสดชื่น เป็นการปลุกให้ร่างกายแอคทีฟขึ้นมาจากการนอนหลับได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้บางคนอาจจะไม่นิยมอาบน้ำตอนเช้าจนเป็นนิสัย ไม่เป็นไร… อย่างน้อยก็อย่าลืมล้างหน้าล้างตาให้สะอาด เพื่อเป็นการรีเฟรชใบหน้า เอาขี้ตา คราบน้ำลายของเมื่อคืนออกไป ทาครีมบำรุงผิวสักหน่อย ก่อนจะมานั่งทำงาน 2. ออกมารับวิตามินดีฟรีๆ จากแสงแดดยามเช้าบ้าง รู้หรือไม่ว่า… แสงแดดยามเช้าสำคัญต่อร่างกายเรามากเลยนะ เพราะ แสงแดดในยามเช้ามีวิตามินดีจากธรรมชาติ โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อหาแต่อย่างใด เพียงแค่เรา เดินออกไปให้ผิวพรรณของเราได้รับแสงแดดในยามเช้าเป็นเวลาอย่างน้อย 15 Work From Home อย่างไรให้เวิร์ค งานไม่ล่ม บอสกดเลิฟแน่นอน!?

เตือนภัยฝุ่นPM2.5 !! ทำป่วยแล้วกว่าแสนราย ใส่หน้ากาก พกยาแก้แพ้ไว้เลย!

  เตือนภัยฝุ่นPM2.5 ! นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า สถานการณ์ค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ของประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น พบว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศกว่าแสนรายแล้ว GED good life ขอแนะนำให้ใส่หน้ากากอนามัยชนิด N95 (หรือหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ก็ได้) พร้อมพกยาแก้แพ้ เพื่อบรรเทาอาการแพ้จากฝุ่น PM2.5 อย่างทันท่วงที ฝุ่น PM2.5 คืออะไร ทำร้ายสุขภาพเรายังไงบ้าง? สาเหตุ อาการ วิธีป้องกัน อาหารต้านฝุ่นพิษ PM2.5 กินดีเสริมภูมิ พร้อมสู้ฝุ่นร้าย! ภูมิแพ้อากาศ และฝุ่น รักษายังไง กินยาอะไรได้บ้างครับ? สธ. เผย! มีผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ รวม 212,674 ราย ข้อมูลจากระบบรายงานสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 24 มกราคม 2566 พบว่า มีผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ รวม 212,674 ราย ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มโรคทางเดินหายใจ กลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ และกลุ่มโรคตาอักเสบ ซึ่งได้ให้สถานพยาบาลทุกแห่งเตรียมความพร้อม ยาและเวชภัณฑ์ เตือนภัยฝุ่นPM2.5 !! ทำป่วยแล้วกว่าแสนราย ใส่หน้ากาก พกยาแก้แพ้ไว้เลย!

วิธีตรวจภูมิแพ้ มีกี่ประเภท ตรวจแบบไหนเหมาะกับเรา?

  การตรวจอาการแพ้ สามารถใช้ประกอบการวินิจฉัยว่าเป็นโรคภูมิแพ้หรือไม่ และยังสามารถนำไปใช้ในการพิจารณาหลีกเลี่ยงสาเหตุของโรคภูมิแพ้ได้อีกด้วย การตรวจภูมิแพ้ จะมีกี่วิธี ตรวจแบบไหนเหมาะกับเรา? วันนี้ GED good life มีคำตอบรออยู่แล้ว ใครที่กำลังอยากตรวจภูมิแพ้อยู่ ติดตามอ่านต่อได้เลย… โรคภูมิแพ้คืออะไร มีสาเหตุ อาการอะไรบ้าง หายขาดได้หรือไม่? และข้อควรรู้อื่น ๆ ภูมิแพ้อาหารในเด็ก vs ผู้ใหญ่ ต่างกันอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าแพ้อาหารอะไรบ้าง? TOP 6 สารก่อภูมิแพ้ ที่คนไทยแพ้มากที่สุด! การตรวจภูมิแพ้ คืออะไร จำเป็นต้องตรวจไหม? การตรวจคัดกรองโรคภูมิแพ้เป็นสิ่งจําเป็นในการตรวจหา และรักษาโรคภูมิแพ้ และเป็นหนึ่งในวิธีการวินิจฉัยที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการตรวจหา และรักษาโรคภูมิแพ้อย่างถูกต้อง การตรวจภูมิแพ้ อาจอยู่ในรูปแบบของการทดสอบเลือด หรือผิวหนัง แพทย์จะค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของการแพ้ ซึ่งขึ้นอยู่กับอาการภูมิแพ้ของผู้ป่วยแต่ละคน บางคนแพ้มาก บางคนอาจแพ้น้อย แพทย์อาจสั่งการทดสอบสารก่อภูมิแพ้ หรือการทดสอบสารก่อภูมิแพ้ 36 ชนิด หรือ 60 ชนิด แล้วแต่กรณีไป แต่หากผู้ป่วยกลัวการทดสอบภูมิแพ้ ก็สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นอาการแพ้ของคุณ เช่น ถ้าแพ้เกสรดอกไม้ ก็ควรหลีกเลี่ยงเกสรดอกไม้ แพ้อาหารทะเล เช่น วิธีตรวจภูมิแพ้ มีกี่ประเภท ตรวจแบบไหนเหมาะกับเรา?

3 เมนูผักสำหรับเด็ก สีสดใส เมื่อลูกยี้! ผักใบเขียว

  ถ้าการให้ลูกกินผักใบเขียวเป็นเรื่องยาก มาลองเปลี่ยน เมนูผักสำหรับเด็ก ใบเขียวเข้มน่ากลัว ของเด็ก ๆ ด้วยผักสีสันสนใส เพิ่มความอยากอาหารในแต่ละมื้อให้ลูกกัน เมนูผักสำหรับเด็ก ผักแต่ละสีมีประโยชน์อย่างไร ? ผักสีเขียว มีคลอโรฟิลล์ (Chlorophyll) ช่วยในการต่อต้านการเกิดมะเร็งได้เป็นอย่างดี ผักผลไม้สีเขียวยังมีไฟเบอร์สูง ช่วยเรื่องการขับถ่ายได้ดี ลดกรดในกระเพาะอาหาร ผักสีแดง มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น สารไลโคพีน (Lycopene) สูง ช่วยป้องกันและชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงของมะเร็ง ผักผลไม้สีแดง เช่น มะเขือเทศ บีทรูท สตรอว์เบอร์รี ฯลฯ ผักสีเหลือง ส้ม อุดมด้วย มีสารสำคัญได้แก่ ลูทีน (Lutein) ช่วยป้องกันความเสื่อมของจอประสาทตา ช่วยให้ภาพคมชัดในการมองเห็นเวลากลางคืน และมีสารเบต้าแคโรทีน (Betacarotene) ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ลดความเสื่อมของเซลล์จากอนุมูลอิสระ ผักสีเหลือง สีส้ม เช่น แคร์รอต ฟักทอง ข้าวโพด ผักสีม่วง อุดมด้วยแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ แอนโทไซยานินมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าวิตามินซีและอีถึง 2 เท่า ช่วยปกป้องหลอดเลือด กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ลดคอเลสเตอรอลในเลือด 3 เมนูผักสำหรับเด็ก สีสดใส เมื่อลูกยี้! ผักใบเขียว

ภูมิแพ้อาหารในเด็ก vs ผู้ใหญ่ ต่างกันอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าแพ้อาหารอะไรบ้าง?

  การแพ้อาหารมักพบบ่อยในเด็ก แต่การแพ้อาหารบางชนิดจะคงอยู่ หรือพัฒนาในวัยผู้ใหญ่ได้ และจากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ทำให้การแพ้อาหารทั้งในวัยเด็ก และผู้ใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุกอนาคต วันนี้ GED good life จึงขอพาไปเรียนรู้ ภูมิแพ้อาหารในเด็ก vs ผู้ใหญ่ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร พร้อมวิธีสังเกตว่าเราแพ้อาหารอะไรบ้าง… ภูมิแพ้อาหารในเด็ก vs ผู้ใหญ่ แตกต่างกันยังไง? ผศ.ดร.นพ.สิระ นันทพิศาล กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฮธิบายว่า “ถ้าแพ้อาหารตั้งแต่เด็ก เมื่อโตขึ้นไปมีโอกาสที่จะหายได้หากมีการเลี่ยงอาหารที่แพ้เป็นเวลาที่เหมาะสม เช่น การแพ้นมวัว ถ้าหากเลี่ยงเป็นระยะเวลาติดต่อกันประมาณ 2-3 ปี เด็กก็จะมีโอกาสหายจากภาวะการแพ้นมวัวได้ ไข่ขาวก็เช่นเดียวกัน ซึ่งทั้งสองอย่างแพ้นมวัว และไข่ขาวมีโอกาสหายได้ อยู่ที่ประมาณสัก 70-80 เปอร์เซ็นต์” ผศ.ดร.นพ.สิระ กล่าว ส่วนอาหารที่พบว่าเด็กแพ้บ่อย กับ อาหารที่ผู้ใหญ่แพ้บ่อยก็แตกต่างกันออกไปเล็กน้อย ยกตัวอย่างเช่น ในเด็กมักแพ้ นม ถั่วลิสง ไข่ ในผู้ใหญ่มักแพ้ อาหารทะเลมากที่สุด เช่น กุ้ง ปู สัตว์น้ำมีเปลือก ภูมิแพ้อาหารในเด็ก vs ผู้ใหญ่ ต่างกันอย่างไร จะรู้ได้ไงว่าแพ้อาหารอะไรบ้าง?

ฤดูฝุ่น PM2.5 อาการ และโรคที่ต้องระวัง!

  เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว อากาศหนาวเย็นมากขึ้น ฝนเริ่มลดลง ฝุ่นPM2.5 ก็จะมาเยือนทันที จนกลายเป็น ฤดูฝุ่น PM2.5 แทนฤดูหนาวไปแล้ว! ยิ่งในตัวเมือง หรือสถานที่ที่มีมลพิษมาก ต้นไม้น้อย ยิ่งต้องระวัง! หากเห็นหมอกเยอะในช่วงหน้าหนาวนี้ ก็อย่าเพิ่งคิดไปเองว่าเป็นหมอก อาจจะเป็นฝุ่น Pm2.5 ปกคลุมอากาศอยู่ก็ได้ ฉะนั้นมาดูกันว่าอาการ และโรคจากฝุ่น PM2.5 จะมีอะไรบ้าง พร้อมอินโฟกราฟิกป้องกันฝุ่นร้าย ฝุ่น PM2.5 คืออะไร ทำร้ายสุขภาพเรายังไงบ้าง? ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ปัญหาฝุ่นPM 2.5 กุญแจสู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน แพทย์เตือน! ฝุ่นPM2.5 เพิ่มโอกาสติดโควิดมากยิ่งขึ้น พร้อมแนะ 6 วิธี รับมือฝุ่นร้าย ทำไมฝุ่น PM 2.5 ชอบมาเยือนในช่วงฤดูหนาว?  ในช่วงฤดูหนาวนั้น เมื่อความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นแผ่ลงมาปกคลุม อุณหภูมิของพื้นดินจะเย็นลงตามไปด้วย ทำให้พื้นดินเกิดการคายความร้อนอย่างรวดเร็วกว่าปกติ ความร้อนที่ถูกคายออกมานั้นจะถูกกักอยู่ระหว่างมวลอากาศเย็น และพื้นดินที่เย็น ลักษณะจะเหมือนเป็นเกราะที่เรียกกันว่า “อากาศปิด” ซึ่งฝุ่นละอองในอากาศก็จะถูกกักอยู่ในนั้นด้วย และไหลย้อนกลับสู่พื้นดิน สรุปให้เข้าใจง่าย ฤดูฝุ่น PM2.5 อาการ และโรคที่ต้องระวัง!

“10 วิธีปันสุข” สร้างรอยยิ้มให้ตนเอง และคนรอบข้าง

  New Normal ที่เกิดขึ้นท่ามกลางปัญหาโควิด-19 ณ ตอนนี้ ก็คือ “ตู้ปันสุข” ตู้แห่งน้ำใจไมตรีที่เปิดโอกาสให้คนไทยได้แชร์ความรัก ความห่วงใยซึ่งกันและกัน ด้วยการมอบข้าวของเครื่องใช้ ข้าวสารอาหารแห้งไว้ในตู้แห่งนี้ แต่เมื่อเราสร้างความสุขภายนอกกันไปแล้ว ก็อย่าลืมสร้างความสุขภายใน ด้วย “10 วิธีปันสุข” วิธีที่จะช่วยสร้างความรู้สึกดีดีต่อกัน และเป็นความสุขที่ยั่งยืน โดยไม่ต้องลงทุนใดใด มาฝึกเป็นผู้ให้ที่ดีไปพร้อม ๆ กันเลย! “10 วิธีปันสุข” สร้างรอยยิ้มให้ตนเอง และคนรอบข้าง 1. ห่วงใยกัน วิธีปันสุข ในข้อแรกเป็นการแสดงความห่วงใยกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นการโทรศัพท์หา เพื่อถามไถ่สารทุกข์สุขดิบ หรือในโลกออนไลน์แบบนี้ที่เราสามารถส่งข้อความ หรือวีดีโอคอลหากันให้เห็นหน้าก็สามารถทำได้อย่างง่ายดาย แต่สำหรับคนรอบข้างที่เราไม่ได้รู้จักเป็นการส่วนตัว เราก็สามารถปันสุขด้วยการหยิบยื่นน้ำใจเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้แก่กัน เท่านี้ก็เป็นการแสดงความห่วงใย ปันความสุขให้แก่กันได้แล้ว ความห่วงใยจากคนรอบข้าง ทำให้เราก้าวข้ามได้ทุกเรื่อง – GedGoodLife – 2. ช่วยเหลือกัน การใช้แรงกาย แรงใจ ช่วยเหลือคนรอบข้างก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถช่วยแบ่งปันความสุขให้เกิดขึ้นในสังคมได้อย่างง่ายดาย หากเราเห็นใครกำลังเดือดร้อน แล้วเราคิดว่าเราสามารถช่วยเหลือได้ ก็พึงช่วยเหลืออย่างเต็มใจเสมอ เช่น เห็นชาวต่างชาติหลงทาง เราพูดภาษาอังกฤษได้ “10 วิธีปันสุข” สร้างรอยยิ้มให้ตนเอง และคนรอบข้าง

เป็นหอบหืด ต้องใช้ยาพ่นไปตลอดจริงหรือ? และเรื่องควรรู้เมื่อป่วยหอบหืด

  หอบหืด (Asthma) โรคที่ทั้งโลกให้ความสำคัญ เพราะยิ่งนานวัน คนยิ่งเป็นโรคนี้กันมากขึ้น! เนื่องจากสภาพอากาศที่ย่ำแย่ลง รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้คนเรา เป็นหอบหืด กันได้ง่าย ๆ ผู้ป่วยโรคหอบหืดหลายคนต้องทนทรมานกับอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก รวมถึงมีอาการไอ ต้องใช้ยาพ่นอยู่เป็นประจำ ฉะนั้น เรามาเรียนรู้โรคหอบหืดกันให้มากขึ้น พร้อมหาคำตอบกันว่า เมื่อเป็นหอบหืดจำเป็นต้องใช้ยาพ่นไปตลอดหรือไม่? และวิธีรักษา ป้องกันโรคหอบหืด ทำความเข้าใจกับ โรคหอบหืด กันสักนิด นายแพทย์ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า “โรคหอบหืด เป็นการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ซึ่งเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่ทำให้หลอดลมของผู้ป่วยมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ และสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการไอ และหายใจไม่สะดวกจากการที่หลอดลมตีบ และอักเสบ ในรายที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง การอักเสบเรื้อรังของหลอดลมอาจนำไปสู่การเกิดพังผืด และการหนาตัวอย่างมาก ทำให้มีการอุดกั้น ของหลอดลมอย่างถาวรได้” โรคหอบหืดนี้มักมีอาการตั้งแต่เด็ก และมักมีประวัติเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรังอยู่เป็นประจำ โดยเป็นบ่อยในฤดูฝน และฤดูหนาว (หรือปลายฝนต้นหนาว) แต่บางรายอาจเป็นอยู่ตลอดทั้งปี ซึ่งเวลาที่ผู้ป่วยไม่มีอาการหอบหืดจะแลดูแข็งแรง เหมือนคนปกติทุกอย่าง แต่ถ้าหากอาการหอบหืดกำเริบขึ้นมา ก็จะทรมานกับหลายอาการที่รุมเร้าเข้ามา เช่น เป็นหอบหืด ต้องใช้ยาพ่นไปตลอดจริงหรือ? และเรื่องควรรู้เมื่อป่วยหอบหืด

กินยาแก้แพ้เป็นประจำ อันตรายไหม? แบบกินแล้วง่วง กับไม่ง่วง เลือกแบบไหนดีกว่ากัน?

  ยาแก้แพ้ ยาแก้แพ้อากาศ ยาแก้แพ้อาการคันตามผิวหนัง ยาแก้แพ้ชนิดง่วง กับ ไม่ง่วง และอีกสารพัดที่คนเป็นภูมิแพ้ต่างก็มึนงงว่าจะเลือกยังไงดีนะ!? และอาจกังวลว่า หากกินเป็นประจำจะอันตรายต่อสุขภาพไหม? วันนี้ GED good life มาไขคำตอบให้แล้ว มาดูกันเลยว่า กินยาแก้แพ้เป็นประจำ จะกระทบต่อสุขภาพหรือเปล่า พร้อมวิธีเลือกใช้ยาแก้แพ้อย่างถูกต้อง! อัลเลอร์นิค™ ชนิดเม็ด ยาแก้แพ้ (ยาต้านฮีสตามีน) คืออะไร มีกี่ชนิด และผลข้างเคียงที่ควรรู้ โรคภูมิแพ้คืออะไร ภูมิแพ้ รักษาอย่างไร? และสาระภูมิแพ้จากหมอกอล์ฟ ยาแก้แพ้ ใช้รักษาอาการแพ้อะไรบ้าง? ยาแก้ภูมิแพ้ (Antihistamines หรือ ยาต้านฮีสตามีน) เป็นยาที่ใช้รักษาอาการแพ้ต่าง ๆ ที่เกิดจาก… แพ้อากาศ แพ้เกสรดอกไม้ แพ้อาหาร แพ้ยา แพ้แมลงกัดต่อย แพ้ขนสัตว์ ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผื่นลมพิษ สัมผัสพืชพิษ สัมผัสสารเคมีบางอย่าง โดยยาแก้ภูมิแพ้ มีฤทธิ์เข้าไปยับยั้งตัวรับสารฮิสตามีน (Histamines) ที่เป็นต้นเหตุของอาการแพ้ ส่งผลให้อาการคัดจมูก น้ำตาไหล กินยาแก้แพ้เป็นประจำ อันตรายไหม? แบบกินแล้วง่วง กับไม่ง่วง เลือกแบบไหนดีกว่ากัน?

ฮัดเช้ย!! “จามบ่อย” เพราะมีใครคิดถึง หรือกำลังเป็นโรคกันแน่?

  “ฮัดเช้ยฮัดเช้ย อยากรู้จังเลยว่าใครเอ่ยถึงฉัน ถึงได้จามอยู่ได้ตลอดวัน…” เพลงยอดฮิตติดปาก ที่ใคร ๆ ก็ต้องร้องตามได้… แต่อาการ จามบ่อย ฮัดเช้ยตลอดทั้งวันนั้น คงไม่ใช่ใครอื่นที่กำลังคิดถึงเรา แต่เป็นอาการที่กำลังบ่งบอกว่า ร่างกายของคุณต้องการขจัด หรือขับสิ่งแปลกปลอมออกมานั่นเอง ว่าแต่อาการจามนั้นสามารถเป็นสัญญาณของโรคอะไรได้บ้างนะ? Ged Good Life มีคำตอบมาฝากแล้ว มาติดตามต่อกันเลย! ภูมิแพ้ คืออะไร มีสาเหตุ อาการอะไรบ้าง หายขาดได้หรือไม่? พร้อมวิธีรักษาภูมิแพ้ ระวัง! 10 จุดเสี่ยงในบ้าน กระตุ้นโรคภูมิแพ้ ทำน้ำมูกไหล ไอ จาม ได้ทั้งวัน ไรฝุ่น ภัยเงียบ ร้ายลึก สาเหตุของโรคภูมิแพ้! อาการจาม คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร? อาการจาม (sneeze / sneezing / sternutation) – เป็นกลไกการขับลมออกจากปอดผ่านทางจมูก และปากอย่างรวดเร็ว สาเหตุของการจามมักเกิดขึ้นเมื่อมีอนุภาคแปลกปลอม หรือมีสิ่งกระตุ้นจากภายนอก จนทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณเยื่อบุโพรงจมูก จนทำให้เราต้องจามออกมา เช่น ไรฝุ่น ฝุ่นละออง ฮัดเช้ย!! “จามบ่อย” เพราะมีใครคิดถึง หรือกำลังเป็นโรคกันแน่?

แพทย์เตือน! เชื้อราหน้าฝน ทำป่วยภูมิแพ้และโรคผิวหนังได้ พร้อมแนะวิธีกำจัดเชื้อรา

  เมื่อฝนตก น้ำท่วม หลายคนจะกังวลเรื่องข้าวของเสียหาย การเดินทางที่ไม่สะดวก หรือแม้แต่เรื่องการตากผ้าไม่แห้ง แต่รู้หรือไม่ว่า… ยังมีภัยเงียบที่หลายคนอาจไม่ได้คำนึงถึง และสามารถกระทบกับสุขภาพของเราได้ นั่นก็คือเรื่อง “เชื้อราหน้าฝน” โดยเฉพาะเชื้อราที่เกิดขึ้นในบ้าน ที่อาจก่อให้เกิดโรคผิวหนังต่าง ๆ ตามมาได้! ฉะนั้น เรามาทำความเข้าใจกับ เชื้อราหน้าฝน ให้มากขึ้น พร้อมเคล็ดลับกำจัดเชื้อราในบ้านกันดีกว่า เพื่อสุขภาพดีดี ห่างไกลโรคในหน้าฝนนี้ 7 โรคผิวหนัง ต้องระวัง! ในฤดูฝน พร้อมวิธีป้องกันจากแพทย์ผิวหนัง เผย! 10 เคล็ดลับห่างไกลภูมิแพ้ในหน้าฝน ระวัง! 10 จุดเสี่ยงในบ้าน กระตุ้นโรคภูมิแพ้ ทำน้ำมูกไหล ไอ จาม ได้ทั้งวัน กรมอนามัยห่วง เชื้อราหน้าฝน อาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้! น.พ.ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า… ในช่วงฤดูฝน ทำให้อากาศภายในบ้านมีความชื้นสูง และฝนตกหนักอาจทำให้เกิดน้ำท่วม และน้ำขังในพื้นที่ต่าง ๆ รวมถึงในบริเวณบ้าน และหากมีรูรั่ว หรือรอยแตกของบ้าน อาจมีน้ำซึม น้ำรั่วไหลเข้าภายในบ้าน ทำให้ส่วนต่าง ๆ แพทย์เตือน! เชื้อราหน้าฝน ทำป่วยภูมิแพ้และโรคผิวหนังได้ พร้อมแนะวิธีกำจัดเชื้อรา

7 คำพูดที่ไม่ควรพูดกับลูก ถ้าไม่อยากให้ลูกพัฒนาการช้า

  หลายคำพูดธรรมดา ๆ ที่พ่อแม่พูดกับลูกอยู่ทุกวัน แต่อาจจะเป็นคำพูดที่ฝังความเจ็บปวดไว้ให้กับลูก โดยไม่รู้ตัว ประโยคแบบไหน คำพูดแบบไหน คำพูดที่ไม่ควรพูดกับลูก มาเรียนรู้ ปรับตัวที่จะได้ไม่เผลอ พลั้งพลาด พูดกับลูกจนส่งผลต่อพฤติกรรมแย่ ๆ หรือพัฒนาการล่าช้าของลูกได้ 7 คำพูดที่ไม่ควรพูดกับลูก 1. เดี๋ยวให้ตำรวจมาจับนะ! เชื่อว่าหลายครอบครัว ไม่เฉพาะแค่พ่อแม่ แต่คนเลี้ยง ปู่ย่าตายาย ก็อาจจะเคยพูดจ่าข่มขู่เด็กให้กลัวบ้าง เช่น อย่าทำนะ เดี๋ยวตำรวจมาจับ เดี๋ยวผีมาหลอก เดี๋ยวให้หมอฉีดยา ฯลฯ สารพัดคำขู่แบบแปลก ๆ ที่ไม่มีเหตุผลให้ลูกหยุดพฤติกรรม แต่การปลูกฝังความกลัว หรือ ข่มขู่ลูกแบบไม่มีเหตุผลแบบนี้ ส่งผลต่อพัฒนาการทางอารมณ์ และจิตใจลูกได้ ความกลัวจะทำให้ลูกขาดความเชื่อมั่น ขาดการใช้ความคิดไตร่ตรอง ไม่หาความจริงด้วยเหตุผล ยิ่งขู่ให้กลัว ลูกยิ่งรู้สึกไม่ปลอดภัย ไม่มั่นใจในตนเอง เปราะบาง มีปัญหาเกี่ยวกับอารมณ์ และอื่น ๆ อีกมากมาย หรือถ้าความกลัวรุนแรง ปล่อยไว้นานวันอาจส่งผลต่ออาการทางประสาทได้ เช่น เด็กความมืด กลัวที่แคบ เมื่อโตขึ้นได้ 2. 7 คำพูดที่ไม่ควรพูดกับลูก ถ้าไม่อยากให้ลูกพัฒนาการช้า

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save