ยารักษาโควิดสำหรับเด็ก มีอะไรบ้าง?

ยารักษาโควิดสำหรับเด็ก

เพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังมีการแพร่กระจายอย่างต่อเนื่อง คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาวิธีรับมือหากเด็กติดโควิดขึ้นมา จะได้ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยเฉพาะเรื่อง ยารักษาโควิดสำหรับเด็ก ที่พ่อแม่ต้องรู้ จะมีอะไรบ้าง มาติดตามกันเลย!

ยาละลายเสมหะ

6 ยารักษาโควิดสำหรับเด็ก

1. ยาแก้ไอละลายเสมหะ (Mucolytics)

หากลูกมีอาการไอมีเสมหะ ควรให้ยาแก้ไอประเภทละลายเสมหะ เพื่อให้ตรงกับอาการไอของลูกน้อย และควรเลือก ยาแก้ไอแบบน้ำ จะเหมาะสำหรับเด็กที่สุด เนื่องจากมีรสชาติที่ดี และรับประทานได้ง่ายเหมือนกับน้ำหวานทั่วไป

ตัวยาที่นิยมใช้เพื่อแก้ไอละลายเสมหะในเด็ก คือ “คาร์โบชีสเทอีน – Carbocisteine” ปริมาณ 200 มิลลิกรัม โดยมีวิธีรับประทาน ดังนี้

  • เด็กอายุ 2 – 5 ปี รับประทาน ½ ช้อนชา 3 ครั้ง/วัน
  • เด็กอายุ 5 – 12 ปี รับประทาน 1 ช้อนชา 3 ครั้ง/วัน

อ่านเพิ่มเติม -> ยาแก้ไอละลายเสมหะ “คาร์โบซิสเทอีน” – สรรพคุณ และวิธีใช้ให้ถูกต้อง

2. ยาแก้อาเจียน (Antiemetic)

อาการอาเจียนพบได้บ่อยในเด็กที่ติดโรคโควิด-19 และมักทำให้คุณพ่อคุณแม่ตกใจเนื่องจากเป็นอาการที่ดูน่ากลัว การใช้ยาแก้อาเจียนจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสม และเมื่อลูกหายอาเจียนแล้วก็สามารถหยุดใช้ยาได้ทันที

ยาแก้อาเจียนสำหรับเด็กที่หมอแนะนำ คือ  “ดอมเพอริโดน – Domperidone” เนื่องจากมีผลข้างเคียงน้อย ปริมาณยาที่เหมาะสม มีดังนี้

  • ทารกและเด็กเล็ก หากมี น้ำหนักน้อยกว่า 35 กิโลกรัม ไม่ควรรับประทานยานี้
  • เด็กอายุมากกว่า 2 ปี และน้ำหนักมากกว่า 10 กก. รับประทาน 2.5 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง (ขนาดยาสูงสุดไม่เกินวันละ 30 มิลลิกรัม)
  • ไม่แนะนำให้รับประทานยาบ่อย หรือใช้ในระยะยาว ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนใช้ยานี้

3. ยาลดอาการคัดจมูก (Nasal decongestant)

อาการคัดจมูก สามารถพบได้ทั่วไปเมื่อเด็กติดโควิด มักเป็นอาการของโรคหวัดที่มีต่อทางเดินหายใจ ปัจจุบันยาที่ใช้มีวางจำหน่ายใน 2 รูปแบบ ได้แก่ 1. ยาชนิดรับประทาน และ 2. ยาสำหรับใช้เฉพาะที่ ได้แก่ยาพ่น และยาหยอดจมูก สำหรับเด็กแพทย์มักแนะนำให้ใช้แบบพ่นหรือหยอด มากกว่าแบบรับประทาน เพราะมีความปลอดภัยมากกว่า

ยาลดอาการคัดจมูกแบบพ่น หรือหยอดจมูกที่แนะนำ คือ “ออกซี่เมทาโซลีน – Oxymetazoline” ปริมาณยาที่เหมาะสม มีดังนี้

  • เด็กทารกอายุ 1 เดือน ถึง 1 ปี แนะนำให้ใช้เพียง 1 หยด ขนาดความเข้มข้น 0.01% เท่านั้น
  • เด็กอายุ 1 ปี ถึง 6 ปี สามารถใช้ยาหยอดในขนาดความเข้มข้น 0.025%
  • เด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป สามารถใช้ยาพ่น หรือหยอด ในขนาดความเข้มข้น 0.05%
  • หากไม่แน่ใจควรสอบถามวิธีใช้กับเภสัชกร หรือแพทย์ ก่อนใช้ยา

4. ยาลดน้ำมูก (Antihistamine)  

เมื่อลูกมีอาการน้ำมูกไหลอันเนื่องมาจากโรคโควิด-19 ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ เนื่องจากยาปฏิชีวนะไม่ได้ผลต่อเชื้อไวรัส ควรเลือกใช้ยาลดน้ำมูกทั่วไป

ยาลดอาการน้ำมูกไหลสำหรับเด็กที่แนะนำ คือ “คลอเฟนิรามีน – Chlorpheniramine หรือ CPM” ปริมาณยาที่เหมาะสม มีดังนี้

  • แนะนำในเด็กอายุมากกว่า 2 ขวบ ยาน้ำ ความแรง 2 มิลลิกรัม / 5 มิลลิลิตร
  • อายุ 2-6 ปี กิน 1/2 ช้อนชา วันละ 3 เวลา
  • อายุ 6-12 ปี กิน 1 ช้อนชา วันละ 3 เวลา
  • หากไม่แน่ใจควรสอบถามวิธีใช้กับเภสัชกร หรือแพทย์ ก่อนใช้ยา

5. น้ำเกลือแร่ ORS

เกลือแร่สำหรับคนท้องเสีย Oral Rehydration Salt หรือ ORS ทดแทนการเสียน้ำจากอาการท้องเสีย หรืออาเจียน โดยการสูญเสียน้ำจากการอาการท้องเสีย เป็นภาวะที่ร่างกายขาดน้ำ และเกลือแร่ในทันที หลายคนเข้าใจผิดว่า เมื่อท้องเสียสามารถกินเกลือแร่ออกกำลังกายได้ แต่ในความจริง เกลือแร่ออกกำลังกายไม่สามารถกินแทนเกลือแร่ ORS ได้ และยังจะยิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการท้องเสียได้

เมื่อลูกมีอาการท้องเสียจากการติดเชื้อโควิด-19 สามารถให้ลูกจิบเกลือแร่แก้ท้องเสีย ORS ได้บ่อย ๆ เมื่อมีอาการ และควรเปลี่ยนนมเป็นสูตร lactose free

6. ยาลดไข้ (Antipyretics)

เมื่อลูกมีไข้จากการติดเชื้อโควิด-19 แพทย์แนะนำให้เด็กนอนหลับพักผ่อนมาก ๆ ก็จะฟื้นตัวเร็วขึ้น ส่วนวิธีกินยาลดไข้ในเด็ก มีดังนี้

พาราเซตามอล 10-15 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว หากเด็กน้ำหนัก 10 กิโลกรัม ให้กินพาราแบบ 60 มก./0.6 มล. กินครั้งละ 1 มล. ทุก 4-6 ชั่วโมง ไม่เกิน 5 ครั้งต่อวัน

ยารักษาโควิดสำหรับเด็ก


วิธีสังเกตอาการของเด็กที่มีความเสี่ยงว่าจะติดเชื้อโควิด -19

  • มีไข้หลายวัน อาจจะไข้สูง หรือไข้ต่ำก็ได้
  • ไอแห้ง
  • อ่อนเพลีย
  • เจ็บคอ
  • อาจมี หรือไม่มีน้ำมูกก็ได้
  • คัดจมูก
  • บางรายอาจมีผื่นแดง
  • จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส
  • อาจพบอาการปวดเมื่อยตัว
  • เบื่ออาหาร หรือในเด็กทารกอาจจะกินนมได้น้อยลง
  • อาจมีอาการท้องเสีย ปวดท้อง ซึ่งพบได้เล็กน้อย

แม้การติดเชื้อโควิด-19 ในเด็กส่วนใหญ่กว่า 90% จะมีอาการไม่รุนแรง แต่กลุ่มที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี และเด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด หรือภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เพราะเด็ก ๆ กลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะป่วยหนัก ปอดอักเสบ ระบบหายใจล้มเหลว และอาจเสียชีวิตได้


อ้างอิง : 1. paolohospital 2. pobpad 3. vichaivej

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : gedgoodlife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : gedgoodlife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close