แพทย์เตือน! ฝุ่นPM2.5 เพิ่มโอกาสติดโควิดมากยิ่งขึ้น พร้อมแนะ 6 วิธี รับมือฝุ่นร้าย

ฝุ่นPM2.5

เข้าปลายปีทีไร ฝุ่นPM2.5 มาเยือนทุกที! และที่สำคัญคือ โควิด-19 ยังคงระบาดอย่างต่อเนื่อง แพทย์จึงต้องออกมาเตือนประชาชนให้ระวังโอกาสติดโควิดมากยิ่งขึ้นไปอีก แต่ถ้ารู้จักระวังตัว พร้อมปฏิบัติตาม 6 วิธี รับมือฝุ่นร้ายที่แพทย์แนะนำมานี้ ก็จะปลอดภัย หายห่วงแน่นอน!

อัลเลอร์นิค ชนิดเม็ด (Allernix™ tablet) ยาบรรเทาอาการแพ้

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ปีนี้สถานการณ์ฝุ่น PM2.5 จะรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา เพราะมีมาตรการล็อกดาวน์ กิจกรรมต่าง ๆ ลดลง ฝุ่นจึงน้อยลง แต่ปีนี้มีนโยบายเปิดประเทศ จะมีการสัญจรมากแหล่งกำเนิดฝุ่นจะมาก และคาดว่าปีนี้จะมีความกดอากาศสูงมากกว่าปีที่ผ่านมา

นพ.โอภาส กล่าวว่า ถ้าเทียบก็เหมือนกับโควิด ที่มีการแบ่งระดับสีสถานการณ์ พื้นที่สีเขียว เหลือง แดง ก็มีกิจกรรมต่าง ๆ ต่างกัน อย่างอันตรายสูงสุดก็ต้องพยายามลดกิจกรรมต่าง ๆ ลง วิธีการก็ใกล้เคียงกัน ไม่ได้แปลว่าจะต้องงด หรือปิดทุกอย่าง ขึ้นกับสถานการณ์ และความรุนแรงของสถานการณ์ในพื้นที่นั้น ๆ และปัญหา PM 2.5 ไม่ได้เป็นทั่วประเทศ แต่มีช่วงเวลา

อาการจากฝุ่น และโควิด สามารถแยกแยะได้อย่างไร?

นพ.โอภาส กล่าวว่า โควิดจะเหมือนหวัด และปอดบวมเป็นหลัก ส่วนฝุ่น PM 2.5 จะมีอาการ 4-5 กลุ่ม PM 2.5 เป็นปัจจัยเสริมทำให้อาการมากขึ้น ไม่ได้ทำให้เกิดอาการโดยตรงมากนัก ถ้าเยอะจริงก็ทำให้เกิดอาการได้

แต่ส่วนใหญ่คนเหล่านั้นจะมีโรคประจำตัว และภาวะนี้เสริมให้มากขึ้น เช่น หอบหืด พอรับฝุ่น PM 2.5 ก็ทำให้อาการรุนแรงขึ้น แล้ว PM 2.5 ทำให้เกิดหอบหืด หรือไม่ก็เป็นปัจจัยหนุนเสริม จะไม่เหมือนโควิดที่เป็นสาเหตุโดยตรง และตรวจหาเชื้อได้

PM 2.5 อาจทำให้ติดโควิดง่ายขึ้น ถ้าสิ่งแวดล้อมไม่ดี และคนเป็นโควิดเป็น PM 2.5 ด้วย ก็อาจอาการรุนแรงขึ้น จึงเน้นย้ำให้ป้องกันทั้ง 2 โรค


4 กลุ่มโรคสำคัญที่ต้องเฝ้าระวัง ฝุ่นPM2.5

นายแพทย์โอภาส กล่าวว่า ฝุ่น PM2.5 ที่เกินค่ามาตรฐาน อาจส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ อีกทั้งผู้ที่มี 4 กลุ่มโรคสำคัญที่ต้องเฝ้าระวัง และดูแลเป็นพิเศษ ได้แก่

1. กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด และผู้ที่มีอาการเหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็ว แน่นหน้าอก

2. กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ และผู้ที่มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล แสบจมูก และลำคอ

3. กลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ และผู้ที่มีอาการคันตามร่างกาย มีผื่นแดงตามร่างกาย

4. กลุ่มโรคตาอักเสบ และผู้ที่มีอาการแสบหรือคันตา น้ำตาไหล และตาแดง ซึ่งกลุ่มเสี่ยง และผู้ที่มีอาการดังกล่าวต้องเฝ้าระวังมากเป็นพิเศษ หากได้รับฝุ่นละอองขนาดเล็กขนาดเล็ก PM2.5 เข้าสู่ร่างกายจะส่งผลต่อสุขภาพ ทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้มากกว่าคนทั่วไป

PM 2.5 ฝุ่นพิษร้าย


6 วิธี รับมือฝุ่นร้าย PM2.5

กรมควบคุมโรค แนะนำ 6 วิธีดูแลสุขภาพ และรับมือฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ดังนี้

1. สวมหน้ากากป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ชนิดที่มีแผ่นกรองคาร์บอน หรือชนิด N95

2. ดูแลสุขภาพร่างกายเป็นพิเศษ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-7 ชั่วโมง ดื่มน้ำมาก ๆ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

3. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมกลางแจ้ง

4. ตรวจเช็คสภาพเครื่องยนต์ ไม่สร้างควันดำ หรือฝุ่นพิษเพิ่ม

5. หากสงสัยหรือมีอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย แน่นหน้าอก หายใจลำบาก เวียนหัว และคลื่นไส้ ควรรีบไปพบแพทย์ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน

6. ติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จากแอปพลิเคชัน “Air4Thai” และเว็บไซต์ www.air4thai.com ของกรมควบคุมมลพิษ เป็นประจำ หรือเช็คทุกครั้งก่อนเดินทางออกนอกบ้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัส และหาวิธีป้องกันฝุ่นที่เหมาะสม

นอกจากนี้ ยังต้องปฏิบัติควบคู่ไปกับมาตรการป้องกันโรคโควิด 19 อย่างเคร่งครัด ทั้งการสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือ เพื่อความปลอดภัยอย่างสูงสุด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422

 

อ้างอิง : 1. ข่าวสด 2. กรมควบคุมโรค


ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close