ภูมิแพ้ สารก่อภูมิอแพ้ เกิดจากอะไร สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

28 มิ.ย. 24

 

โดยหมอกอล์ฟ – นายแพทย์สิทธา ลิขิตนุกูล

โรคภูมิแพ้ เป็นภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองไวเกินต่อ สารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น ละอองเกสร ขนสัตว์ หรืออาหาร ส่งผลให้เกิดอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น จาม น้ำมูกไหล ผื่นคันหรือหอบหืด สำหรับคนที่มีอาการแพ้บ่อย ๆ ต้องอ่านเนื้อหาในตอนนี้จนจบนะครับ เพราะว่าหมอกอล์ฟจะบอกถึงวิธีที่จะช่วยให้คุณอาการทุเลาลงจาก สารก่อภูมิแพ้ ได้ แต่ก่อนอื่นมาดูสถิติกันก่อนนะครับ ว่าคนไทยมักจะแพ้อะไรมากที่สุด

โรคภูมิแพ้ คืออะไร

โรคภูมิแพ้ (Allergy) คือภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ตอบสนองไวเกิน ต่อสารก่อภูมิแพ้ที่ปกติไม่เป็นอันตราย เช่น ฝุ่นละออง ละอองเกสร ขนสัตว์ อาหาร หรือแมลงกัดต่อย ส่งผลให้เกิดอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น จาม น้ำมูกไหล คันตา ผื่นคัน หรืออาการหอบหืด ซึ่งอาการจะแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล

อาการของโรคภูมิแพ้ ที่ควรรู้

โรคภูมิแพ้สามารถแสดงอาการได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชนิดของสารก่อภูมิแพ้ที่ร่างกายได้รับ อาการที่พบบ่อย ได้แก่ จาม น้ำมูกไหล คัดจมูก คันตา ผื่นคัน หรือหอบหืด ในบางกรณีอาจมีอาการรุนแรง เช่น หายใจลำบาก หรือภาวะช็อกจากภูมิแพ้ (Anaphylaxis) ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยด่วน การสังเกตอาการและหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นจะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้

สารก่อภูมิแพ้ มีกี่ประเภท

สารก่อภูมิแพ้ (Allergens) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ และสารก่อภูมิแพ้จากอาหาร ซึ่งส่งผลต่อร่างกายแตกต่างกัน บางชนิดกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ทางเดินหายใจ เช่น จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล ขณะที่บางชนิดทำให้เกิด ผื่นคัน ปวดท้อง หรือหายใจลำบาก หากสัมผัสหรือรับประทานเข้าไป

1. สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ

พบได้ใน ฝุ่นละออง ไรฝุ่น ละอองเกสร ขนสัตว์ ควันบุหรี่ เชื้อรา และมลพิษ มักกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ทางเดิน        หายใจ เช่น จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล และหอบหืด

2. สารก่อภูมิแพ้ประเภทอาหาร

อาหารที่มักกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ เช่น ถั่ว นม ไข่ อาหารทะเล แป้งสาลี และถั่วเหลือง อาจทำให้เกิด ผื่นคัน ลมพิษ     ปวดท้อง หรือภาวะช็อกจากภูมิแพ้ (Anaphylaxis) ซึ่งอาจเป็นอันตรายร้ายแรง

6 อันดับ สารก่อภูมิแพ้ ที่คนไทยแพ้มากที่สุด

  • อันดับที่ 1 ไรฝุ่น
  • อันดับที่ 2 แมลงสาบ
  • อันดับที่ 3 ละอองเกสรดอกไม้
  • อันดับที่ 4 ขนสัตว์
  • อันดับที่ 5 ควันบุหรี่/กลิ่นฉุน
  • อันดับที่ 6 อาหารทะเล

อาการของภูมิแพ้กับไข้หวัด ต่างกันอย่างไร

แม้ว่า โรคภูมิแพ้อากาศ และ  ไข้หวัด จะมีอาการคล้ายกัน เช่น จาม น้ำมูกไหล คัดจมูก แต่มีจุดสังเกตที่แตกต่างกัน เช่น

  • ภูมิแพ้ มักมี น้ำมูกใส ไม่เป็นไข้ และเกิดขึ้นเมื่อสัมผัสสารก่อภูมิแพ้
  • ไข้หวัด มักมี ไข้ น้ำมูกข้น ปวดเมื่อยตามร่างกาย และเกิดจากการติดเชื้อไวรัส

 สาเหตุของโรคภูมิแพ้ มีอะไรบ้าง

โรคภูมิแพ้เกิดจากปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองไวเกินต่อสารก่อภูมิแพ้ หากมีประวัติครอบครัวเป็นภูมิแพ้ หรืออาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีมลภาวะสูง ความเสี่ยงต่อการเกิดภูมิแพ้จะเพิ่มขึ้น

1. พันธุกรรม

    • หากพ่อหรือแม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกมีโอกาสเป็น 30-50% และหากทั้งสองคนเป็น โอกาสอาจเพิ่มขึ้นถึง 60-80%
    • โรคภูมิแพ้จากพันธุกรรมพบได้ในหลายรูปแบบ เช่น ภูมิแพ้อากาศ หอบหืด หรือผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

2. สิ่งแวดล้อม

    • การสัมผัส ฝุ่น ควันบุหรี่ มลพิษ ละอองเกสร ขนสัตว์ หรืออากาศเปลี่ยนแปลง บ่อย ๆ อาจกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้
    • การอยู่อาศัยในเมืองที่มีมลพิษสูง หรือในบ้านที่มีไรฝุ่นสะสม อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคภูมิแพ้

กลุ่มโรคภูมิแพ้ที่พบบ่อย

โรคภูมิแพ้สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ตามลักษณะของอาการ ได้แก่ ภูมิแพ้อากาศ ภูมิแพ้อาหาร และภูมิแพ้ผิวหนัง ซึ่งแต่ละประเภทมีอาการและปัจจัยกระตุ้นที่แตกต่างกัน การเข้าใจประเภทของภูมิแพ้จะช่วยให้สามารถดูแลและป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กลุ่มภูมิแพ้อากาศ

กลุ่มภูมิแพ้อากาศ เกิดจาก สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เช่น ฝุ่นละออง ไรฝุ่น ละอองเกสร ควันบุหรี่ หรือขนสัตว์อาการที่พบบ่อย ได้แก่ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล คันตา หรือลมพิษ และในบางกรณีอาจพัฒนาเป็น โรคหอบหืด

กลุ่มภูมิแพ้อาหาร

ภูมิแพ้อาหารเกิดจากการรับประทานอาหารที่กระตุ้นภูมิแพ้ เช่น ถั่ว นม ไข่ อาหารทะเล หรือแป้งสาลี อาการมีตั้งแต่ ผื่นคัน ปวดท้อง ท้องเสีย บวมที่ริมฝีปากหรือใบหน้า ไปจนถึง ภาวะช็อกจากภูมิแพ้ (Anaphylaxis) ซึ่ง เป็นอันตรายถึงชีวิต

กลุ่มภูมิแพ้ผิวหนัง

ภูมิแพ้ผิวหนังเกิดจากการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ เช่น น้ำหอม โลหะ เครื่องสำอาง สารเคมี หรือแมลงกัดต่อย อาการที่พบบ่อย ได้แก่ ผื่นคัน ลมพิษ ผิวอักเสบ หรือผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) ซึ่งอาจเกิดขึ้นเป็น ๆ หาย ๆ และรบกว ชีวิตประจำวัน

วิธีป้องกันโรคภูมิแพ้

การป้องกันโรคภูมิแพ้สามารถทำได้โดย ลดการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ รักษาสิ่งแวดล้อมให้สะอาด และเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ควรหลีกเลี่ยงฝุ่น ไรฝุ่น ขนสัตว์ และมลพิษ พร้อมทั้งรับประทานอาหารที่ช่วยลดอาการแพ้ เช่น ผักผลไม้ที่มีวิตามินซี และออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง

การรักษาภูมิแพ้อากาศด้วยยา

การใช้ยาเป็นแนวทางสำคัญในการรักษาภูมิแพ้อากาศ โดยมุ่งเน้นที่ การบรรเทาอาการและป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงขึ้น แพทย์อาจแนะนำ ยาแก้แพ้ (Antihistamines) ยาสเตียรอยด์พ่นจมูก หรือการฉีดวัคซีนภูมิแพ้ ตามระดับความรุนแรงของอาการ

1. หลีกเลี่ยงจากสารก่อภูมิแพ้ (หากทราบว่าแพ้สารชนิดไหน)

    • ควรหลีกเลี่ยง ฝุ่น ละอองเกสร ควันบุหรี่ ขนสัตว์ หรืออาหารที่แพ้
    • ทำความสะอาดบ้านเป็นประจำ ใช้เครื่องกรองอากาศ และซักผ้าปูที่นอนเพื่อกำจัดไรฝุ่น

2. การใช้ยารักษา

    • ใช้ ยาแก้แพ้ (Antihistamines) เพื่อลดอาการจาม น้ำมูกไหล และคันตา
    • ยาสเตียรอยด์พ่นจมูกช่วยลดการอักเสบของโพรงจมูก และยาขยายหลอดลมสำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรง

3. การฉีดวัคซีนรักษาโรคภูแพ้

 Immunotherapy หรือการฉีดวัคซีนภูมิแพ้ เป็นวิธีรักษาระยะยาวที่ช่วยให้ร่างกายตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ลดลง   เหมาะสำหรับผู้ที่แพ้สารบางชนิดอย่างรุนแรง และอาการไม่ดีขึ้นหลังใช้ยา

โรคภูมิแพ้ ทำให้เกิดอาการ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล คันตา หรือผื่นคัน ซึ่งอาจรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน วิธีดูแลและป้องกันที่ดีที่สุดคือ หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ รักษาความสะอาดสภาพแวดล้อม และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้วยอาหารที่มีประโยชน์และการออกกำลังกาย หากอาการรุนแรงหรือเรื้อรัง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save