สถานการณ์แพร่ระบาดของ โควิด-19 (Covid-19) ในประเทศไทยช่วงนี้ ต้องเรียกว่าน่าเป็นห่วงเลยทีเดียว มีคนติดรายวันนับร้อยคน ซึ่งแต่ละคนที่ติดเชื้อนี้จะมีอาการเด่น คือ มีไข้สูง และไอ แต่รู้หรือไม่ว่า อาการโควิด-19 นี้ยังมีอีกมายเลยทีเดียว เช่น เจ็บคอ อ่อนเพลีย ตาแดง หายใจลำบาก เป็นต้น!
งั้นเรามาทำความรู้จัก "อาการโควิด-19" อย่างละเอียดกันดีกว่า แล้วเชื้อไวรัสร้ายนี้ สามารถแฝงอยู่ในกายเรา ตรงไหนได้บ้าง... ตามมาดูกันเลย!
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก - WHO ได้ระบุ อาการโควิด-19 (Covid-19 symptoms) ไว้อย่างละเอียด ดังนี้
ทางเว็บไซต์ กระทรวงสาธารณสุข เผยเเหล่งสะสมเชื้อโควิด-19 อยู่ตรงไหนในร่างกายบ้าง มาดูกัน (เรียงจากมากสุดไปน้อยสุด)
น้ำมูก - มีเชื้อโควิด-19 มากที่สุด ประมาณ 97.9% การตรวจหาเชื้อ จึงตรวจจากน้ำมูกเป็นหลัก
น้ำลาย - มีเชื้อโควิด-19 ประมาณ 88.6% รองลงมาจากน้ำมูก พยายามเลี่ยงการพูดคุยระยะใกล้ชิด
อุจจาระ - มีเชื้อโควิด-19 ประมาณ 70.8% ปิดฝาก่อนกดชักโครกเสมอหลังจากใช้โถส้วมเสร็จ และอย่าลืมล้างมือด้วยสบู่เป็นเวลาอย่างน้อย 20 วินาที
ลำคอ - มีเชื้อโควิด-19 ประมาณ 60% คุณหมอจะเก็บตัวอย่างจากบริเวณลำคอ เพื่อตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วย
เลือด - มีเชื้อโควิด-19 ประมาณ 12.3% บริจาคเลือดต้องคัดกรองอย่างดี ถ้าเป็นกลุ่มเสี่ยงไม่ควรบริจาคเลือด
น้ำตา - มีเชื้อโควิด-19 น้อยที่สุด อยู่ที่ 1.1%
* ปัสสาวะ อสุจิ และน้ำหล่อลื่นจากช่องคลอด ไม่พบเชื้อ โควิด-19
** "สารคัดหลั่ง" คือ สารที่ร่างกายสร้างขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่แตกต่างกันไป เมื่อติดเชื้อโควิด-19 เชื้อจะไปสะสมใน สารคัดหลั่งชนิดต่าง ๆ ในปริมาณไม่เท่ากัน
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก ได้ระบุไว้ว่า โรคนี้สามารถแพร่จากคนสู่คน ผ่านทาง ละอองน้ำมูก น้ำลายจากจมูก หรือปาก ซึ่งออกมาเมื่อผู้ป่วยโรคโควิด-19 ไอ จาม หรือพูด ทั้งนี้ละอองเหล่านี้ค่อนข้างหนัก ไปไม่ได้ไกล และจะตกลงสู่พื้นอย่างรวดเร็ว
เรารับเชื้อโรคโควิด-19 ได้จากการหายใจเอาละอองเข้าไปจากผู้ป่วย เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะรักษาระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 1 เมตร
ละอองเหล่านี้ยังตกลงสู่วัตถุและพื้นผิวต่าง ๆ เช่น โต๊ะ ลูกบิดประตู ราวจับ และเมื่อคนเอามือไปจับพื้นผิวเหล่านั้นแล้วมาจับตา จมูกหรือปาก ก็จะมีเชื้อโรค นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงต้องล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำ และสบู่ หรือใช้แอลกอฮอลเจลถูมือ
ตามข้อมูลในปัจจุบัน มกราคม 2564 ทั่วโลกยังไม่มียาต้านไวรัสที่ได้รับการขอขึ้นทะเบียนให้ใช้รักษาโรคโควิด-19 ได้ แต่มีการทำวิจัยเพื่อพิจารณาว่ามียาตัวใดบ้าง ที่อาจปรับวัตถุประสงค์การใช้เดิมเพื่อการรักษาโรคโควิด-19
ประชาชนควรติดตามข่าวสารข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับการระบาดของโรคโควิด-19 จากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น ซึ่งหาได้จากเว็บไซต์ขององค์การอนามัยโลก และหน่วยงานด้านสาธารณสุข
เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุขไทย - https://covid19.moph.go.th
เราสามารถลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ หรือการแพร่เชื้อได้ด้วยการทำตามข้อควรระวัง ดังนี้
- สวมใส่หน้ากากอนามัย หรืออาจเป็นหน้ากากผ้าที่ได้มาตรฐาน และสะอาดอยู่เสมอ เมื่อต้องออกจากบ้าน เพื่อป้องกันการหายใจเอาเชื้อโรคจากข้างนอกเข้าสู่ร่างกายเรา
- ล้างมือบ่อย ๆ ให้สะอาดด้วยแอลกอฮอล์ เจล 70-75% หรือด้วยสบู่ เพราะการทำความสะอาดมือด้วยสองวิธีนี้เป็นการฆ่าเชื้อโรคที่อยู่บนมือเรา
- รักษาระยะอย่างน้อย 1 เมตร จากผู้อื่น เพราะเมื่อคนไอ จาม หรือ พูด จะทำให้เกิดฝอยละอองขนาดเล็กจากจมูก และลำคอซึ่งอาจมีเชื้อโรคได้ ถ้าอยู่ใกล้เกินไป ก็จะหายใจเอาฝอยละอองเหล่านั้นเข้าไปด้วยซึ่งมีเชื้อโรคปนอยู่ ในกรณีที่คนนั้นไม่สบาย
- เลี่ยงการไปพื้นที่หนาแน่น หรือพื้นที่เสี่ยงต่อการติดโควิด-19
- เลี่ยงการเอามือมาจับตา จมูก และปาก เพราะมือไปสัมผัสอะไรมาหลายอย่าง และอาจไปสัมผัสเชื้อโรคมาด้วย เมื่อมือปนเปื้อนก็จะส่งต่อเชื้อโรคไปยังตา จมูก และปาก จากนั้นเชื้อโรคก็จะเข้าสู่ร่างกาย และทำให้เราป่วย
- ปิดปากทุกครั้งที่ไอ หรือจาม ด้วยข้อศอก หรือด้วยกระดาษทิชชู จากนั้นทิ้งกระดาษทิชชูทันที
- หากมีอาการไข้ และ/หรือไอ ร่วมกับอาการหายใจลำบาก/ติดขัด ควรปรึกษาแพทย์ทันที หากเป็นไปได้ แนะนำให้โทรไปล่วงหน้า เพื่อสถานพยาบาลจะได้ให้คำแนะนำ เพราะหน่วยงานของรัฐ และท้องถิ่นมีข้อมูลของสถานการณ์ล่าสุดในพื้นที่ของท่าน
ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้ ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่
Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter : @gedgoodlife
Line : @gedgoodlife
Youtube : GEDGoodLife ชีวิตดีดี