gedgoodlife

ไอแห้งคันคอ ไอแห้งคันคอไม่มีเสมหะ สาเหตุและวิธีรักษาที่ได้ผล

อาการไอแห้งคันคอ มักเกิดจาก การระคายเคืองในลำคอ โดยไม่มีเสมหะและไม่มีไข้ ซึ่งอาจเกิดจาก ภูมิแพ้ อากาศแห้ง กรดไหลย้อน หรือการติดเชื้อไวรัส หากไอแห้งต่อเนื่อง ควรหาสาเหตุและเลือกวิธีรักษาที่เหมาะสมเพื่อบรรเทาอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ไอแห้งคันคอ เกิดจากอะไรได้บ้าง อาการ ไอแห้งคันคอ มักเกิดจาก การระคายเคืองในลำคอ โดยไม่มีเสมหะ และอาจเป็นผลจากหลายปัจจัย เช่น ภูมิแพ้อากาศ อากาศแห้ง กรดไหลย้อน หรือการติดเชื้อไวรัส นอกจากนี้ การสูบบุหรี่ การสัมผัสสารเคมี หรือฝุ่นละอองก็อาจทำให้เกิดอาการไอแห้งได้ สาเหตุ อาการไอแห้งคันคอไม่มีเสมหะ อาการ คันคอและไอแห้งไม่มีเสมหะ มักเกิดจาก การระคายเคืองที่ลำคอ โดยไม่มีการติดเชื้อรุนแรง สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ ภูมิแพ้อากาศ: การสัมผัสกับ ละอองเกสร ฝุ่น หรือสารก่อภูมิแพ้อื่นๆ ส่งผลให้เกิดอาการไอแห้งคันคอได้ อากาศแห้ง: อากาศที่แห้งเกินไป โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวหรือในห้องที่เปิดแอร์มากเกินไป สามารถทำให้ลำคอแห้งและระคายเคือง สามารถทำให้เกิดอาการไอแห้งคันคอได้ กรดไหลย้อน: การที่กรดจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาสู่หลอดอาหารและกล่องเสียงสามารถทำให้เกิดการระคายเคืองที่ลำคอ การสูบบุหรี่: ควันบุหรี่มีสารเคมีที่สามารถระคายเคืองต่อทางเดินหายใจและลำคอ มลภาวะ: การสัมผัสกับมลภาวะในอากาศ เช่น ไอแห้งคันคอ ไอแห้งคันคอไม่มีเสมหะ สาเหตุและวิธีรักษาที่ได้ผล

แสบร้อนกลางอก จุกลิ้นปี่ หายใจไม่สะดวก อันตรายไหม

เคยรู้สึกแสบร้อนกลางอก จุกแน่นที่ลิ้นปี่ หรือหายใจไม่สะดวกกันไหม อาการเหล่านี้อาจดูเหมือนไม่ร้ายแรง แต่จริง ๆ แล้วอาจเป็นสัญญาณของ กรดไหลย้อน โรคกระเพาะ หรือแม้แต่ปัญหาหัวใจ ถ้าเป็นบ่อยหรือรุนแรงขึ้น อย่าปล่อยผ่าน! มาเช็กกันว่าอันตรายแค่ไหน และต้องรับมืออย่างไรให้ถูกต้อง แสบร้อนกลางอก จุกลิ้นปี่ เกิดจากอะไร อาการ แสบร้อนกลางอกและจุกลิ้นปี่ มักเกิดจาก กรดไหลย้อน หรือโรคกระเพาะอาหาร ซึ่งเกิดจากกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบ ร้อน และแน่นบริเวณกลางอก นอกจากนี้ อาจเกิดจาก อาหารไม่ย่อย หรือปัญหาหัวใจ ได้เช่นกัน อาการของโรคกรดไหลย้อน มีกี่ประเภท โรคกรดไหลย้อนสามารถแบ่งอาการออกเป็น 2 ประเภทหลัก ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ได้รับผลกระทบ 1. อาการของหลอดอาหาร แสบร้อนกลางอก (Heartburn) และรู้สึกเปรี้ยวในคอ กลืนลำบาก เจ็บคอ หรือมีอาการไอเรื้องรังจากการระคายเคืองของกรด แสบร้อนกลางอก (Heartburn): อาการแสบร้อนบริเวณหน้าอกหรือลิ้นปี่ เรอเปรี้ยว: รู้สึกเปรี้ยวหรือขมในคอ มักเกิดหลังอาหารหรือเวลานอน แน่นหน้าอก จุกเสียด: อาการคล้ายอาหารไม่ย่อย กลืนลำบากหรือเจ็บเวลากลืน: แสบร้อนกลางอก จุกลิ้นปี่ หายใจไม่สะดวก อันตรายไหม

ไข้สูงไม่ลดสักที ลดไข้ยังไงดี พร้อมวิธีลดไข้ที่ถูกต้อง

บทความโดย เภสัชกร ฐิตาภา ภาษานนท์ อาการไข้ คืออะไร อาการไข้ (Fever) เป็นภาวะที่อุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ อันเป็นผลจากกลไกการตอบสนองของร่างกายต่อการติดเชื้อหรือภาวะอักเสบต่าง ๆ โดยทั่วไป อุณหภูมิร่างกายปกติของมนุษย์อยู่ที่ประมาณ 36.5-37.5 องศาเซลเซียส หากสูงเกิน 38 องศาเซลเซียส ถือว่ามีอาการไข้ อาการไข้ แบ่งออกเป็นกี่ระดับ ระดับของไข้สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1. ไข้ระดับต่ำ (ต่ำกว่า 38°C) อุณหภูมิร่างกายอยู่ที่ 37.6-38.3 องศาเซลเซียส ไข้ในระดับนี้มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรืออาการอักเสบเล็กน้อย อาจมีอาการหนาวสั่นหรือรู้สึกร้อนๆ เย็นๆ แต่จะหายไปภายในไม่กี่วัน 2. ไข้ระดับปานกลาง (38°C – 39°C) อุณหภูมิร่างกายอยู่ที่ 38.4-39.9 องศาเซลเซียส มักเกิดจากการติดเชื้อที่รุนแรงขึ้น อาการปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ และรู้สึกเหนื่อยล้า การพักผ่อนและยาลดไข้ช่วยได้ 3. ไข้ระดับสูง (สูงกว่า 39°C) อุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 40 ไข้สูงไม่ลดสักที ลดไข้ยังไงดี พร้อมวิธีลดไข้ที่ถูกต้อง

ไขข้อสงสัย “โรคหอบ” เป็นโรคกรรมพันธุ์ ส่งต่อให้ลูกน้อยได้จริงหรือไม่ พร้อมการดูแลลูกน้อยเมื่อหอบกำเริบ

โชติมา หาญณรงค์ ผู้ชำนาญการด้านเภสัชกรรม “โรคหอบ” หรือที่เรียกทางการแพทย์ว่า โรคหอบหืด (Asthma) เป็นภาวะเรื้อรังที่เกิดจากการอักเสบของทางเดินหายใจ ที่พบได้บ่อยในคนทุกวัย โดยเฉพาะในเด็ก โรคนี้เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของทางเดินหายใจ ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้ผู้ป่วยหายใจลำบาก หลอดลมตีบแคบ มีเสียงหวีด ไอเรื้อรัง และมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ เช่น ฝุ่นละออง เกสรดอกไม้ ควันบุหรี่ อากาศเย็น หรือการออกกำลังกายหนัก เมื่อสัมผัสกับสิ่งกระตุ้นเหล่านี้ หลอดลมจะตีบแคบลง และทำให้เกิดอาการหอบหืด เช่น หายใจลำบาก ไอ มีเสียงหวีดขณะหายใจ และแน่นหน้าอก โรคหอบเป็นกรรมพันธุ์หรือไม่? หนึ่งในคำถามที่หลายคนสงสัยว่าโรคหอบหืดสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมไปยังลูกหลานได้หรือไม่? คำตอบคือจากงานวิจัยจำนวนมากชี้ให้เห็นว่า โรคหอบหืดมีความเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ในระดับหนึ่ง แต่ไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้เกิดโรค ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้จะต้องเป็นโรคหอบหืดเสมอไป โดยพันธุกรรมมีบทบาทสำคัญในการเกิดโรคหอบหืด หากพ่อแม่มีประวัติเป็นโรคหอบหืดหรือโรคภูมิแพ้ ลูกก็จะมีโอกาสเป็นโรคหอบหืดสูงขึ้น หากพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งเป็นโรคหอบหืด โอกาสที่ลูกจะเป็นโรคนี้จะเพิ่มขึ้นประมาณ 25-50% และหากทั้งพ่อ และแม่เป็น โอกาสจะสูงถึง 50-70% ถ้ามีประวัติครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ เช่น ภูมิแพ้ผิวหนังหรือแพ้อาหาร ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหอบหืด นอกจากกรรมพันธุ์ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม และปัจจัยกระตุ้นอื่น ไขข้อสงสัย “โรคหอบ” เป็นโรคกรรมพันธุ์ ส่งต่อให้ลูกน้อยได้จริงหรือไม่ พร้อมการดูแลลูกน้อยเมื่อหอบกำเริบ

ไขข้อสงสัย อาการจมูกตัน หายใจลำบากช่วงหน้าหนาว เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรักษาเบื้องต้น

ดร. นิติ สันแสนดี อาจารย์พิเศษ ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์สุขภาพ เข้าสู่ฤดูหนาว หลายคนมักประสบปัญหาจมูกตัน หายใจลำบาก ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตได้ไม่น้อย วันนี้จะมาไขข้อข้องใจกันว่าอาการเหล่านี้เกิดจากอะไร และมีวิธีรับมือเบื้องต้นอย่างไรบ้าง สาเหตุของอาการจมูกตัน หายใจลำบากในช่วงหน้าหนาว อาจเกิดจากหลายสาเหตุ ดังนี้: อากาศแห้ง: ในช่วงฤดูหนาว อากาศมักแห้ง และเย็น ซึ่งอาจทำให้เยื่อบุในจมูกแห้ง และระคายเคือง ส่งผลให้จมูกบวม และทำให้หายใจลำบาก อากาศเย็น: เมื่อหายใจในอากาศเย็น ลมหนาวอาจทำให้หลอดลมในจมูกหดตัวและเกิดอาการคัดจมูก หวัดและโรคทางเดินหายใจ: ช่วงฤดูหนาวเป็นช่วงที่การระบาดของหวัด และไข้หวัดใหญ่สูง การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจสามารถทำให้เกิดอาการคัดจมูก และหายใจลำบาก ภูมิแพ้: ในฤดูหนาวอาจมีการเพิ่มของสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ เช่น ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ หรือเชื้อราในบ้าน ซึ่งอาจกระตุ้นผู้ที่มีอาการแพ้ ให้เกิดอาการภูมิแพ้ที่ทำให้จมูกบวม และตัน อาการแพ้เหล่านี้มักจะรุนแรงขึ้นในช่วงฤดูหนาว เนื่องจากมีปัจจัยกระตุ้นมากขึ้น ไวรัส และแบคทีเรีย: อากาศหนาวเป็นช่วงที่เชื้อโรคต่างๆ เช่น ไวรัสหวัด หรือแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดี การติดเชื้อเหล่านี้ทำให้เกิดการอักเสบในโพรงจมูก และไซนัส ไซนัสอักเสบ: การติดเชื้อในโพรงไซนัส ทำให้เกิดการอักเสบ และบวมของเยื่อบุ ไขข้อสงสัย อาการจมูกตัน หายใจลำบากช่วงหน้าหนาว เกิดจากอะไร พร้อมวิธีรักษาเบื้องต้น

ดูแลสุขภาพ กรดไหลย้อนรักษาได้

นายแพทย์ยงยุทธ หวังรุ่งทรัพย์ สมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย เนื่องจากวิถีชีวิตแบบสังคมเมืองที่ต้องตื่นแต่เช้า ทำทุกอย่างด้วยความเร่งรีบ ตั้งแต่เดินทางออกจากบ้านไปถึงที่ทำงาน ขณะทำงานก็ต้องเหน็ดเหนื่อยกับงานทั้งวันจนถึงเย็น พอตกเย็นเลิกงาน ก็ต้องเร่งรีบกลับบ้าน กว่าจะถึงบ้านก็ค่ำ บางท่านกว่าจะได้รับประทานอาหารเย็นได้ก็ดึก จากนั้น ก็ต้องรีบนอนหลับพักผ่อน เพื่อจะได้ตื่นเช้าในวันรุ่งขึ้น และต่อสู้กับวิถีชีวิตเช่นนี้อีก เป็นวัฏจักรเช่นนี้ตลอดไป จนดูกลายเป็นเรื่องปกติ วิถีชีวิตแบบสังคมเมืองเช่นนี้ จึงกลายเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เกิดโรคหลายอย่างตามมาโดยไม่รู้ตัว โรคหนึ่งที่พบเห็นกันบ่อยในปัจจุบันคือ โรคกรดไหลย้อน หรือที่เรียกกันว่า GERD (Gastro-Esophageal Reflux Disease) โรคกรดไหลย้อน หรือ GERD คือ ภาวะที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับไปที่หลอดอาหาร ทำให้มีอาการจุกเสียด แน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ หรือปวดแสบร้อนบริเวณหน้าอกเหนือลิ้นปี่ ที่เรียกว่า Heartburn การรักษาโรคกรดไหลย้อน หรือ GERD ในกรณีที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคกรดไหลย้อน แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น จำเป็นต้องใช้ยาร่วมด้วย การรักษาโรคกรดไหลย้อนอย่างถูกต้อง จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ลดความรุนแรงของโรค รวมถึงลดการเกิดซ้า (relapse) ของโรคได้ การรักษาโรคกรดไหลย้อนมีหลายวิธี ดังนี้ 1. รับประทานยาลดกรด a. ยากลุ่ม ดูแลสุขภาพ กรดไหลย้อนรักษาได้

อาการแพ้เครื่องประดับ

ภญ.ฐิตาภา ภาษานนท์ อาการผื่นแพ้ผิวหนังคืออะไร อาการผื่นแพ้ผิวหนัง(contact dermatitis) คืออาการผื่นคันเมื่อเกิดการสัมผัสกับสิ่งของที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง หรือการแพ้ โดยผื่นอาจเกิดขึ้นภายในไม่กี่นาทีหรือเป็นชั่วโมงเมื่อเกิดการสัมผัสสิ่งที่แพ้ และอาจเกิดขึ้นนานถึง 2 -4 อาทิตย์ ผื่นแพ้ผิวหนังมักมีอาการคัน ผิวหนังเป็นปื้นหนาสีเข้มกว่าผิวหนัง ผิวแห้ง แตก ลอกเป็นขุย มีตุ่มและพุพอง บางครั้งมีน้ำเหลืองไหลหรือเกิดสะเก็ด บวม รู้สึกแสบร้อน หรือเจ็บเมื่อสัมผัส สาเหตุของการแพ้ ผื่นแพ้ผิวหนังเป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน สาเหตุของการเกิดผื่นแพ้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ การระคายเคืองจากการสัมผัส (Irritant Contact Dermatitis) และการแพ้จากการสัมผัส (Allergic Contact Dermatitis) แต่ละประเภทมีลักษณะและปัจจัยที่กระตุ้นแตกต่างกัน เครื่องประดับที่อาจเสี่ยงต่อการแพ้ได้แก่ เครื่องประดับราคาถูก: มักผลิตจากโลหะผสมที่มีนิกเกิลเป็นส่วนประกอบหลัก ต่างหูและแหวน: เนื่องจากสัมผัสกับผิวหนังโดยตรงและต่อเนื่อง นาฬิกาข้อมือหรือสายรัดโลหะ: ที่อาจมีชิ้นส่วนของนิกเกิล การรักษา สำหรับการรักษาเบื้องต้นอาจใช้เป็นยาทากลุ่มสเตียรอยด์ครีม เข่น clobetasol propionate 0.05% เพื่อลดการอักเสบของผิวหนัง โดยหลีกเลี่ยงการทาสเตรียรอยด์ที่มีความแรงสูงในบริเวณผิวหนังบาง ๆ เช่นใบหน้า ข้อพับ อาการแพ้เครื่องประดับ

เบาหวานลงไต อันตรายที่ป้องกันได้

นพ. ธัญ จันทรมังกร อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคไต ไปหาหมอมา หมอบอกว่า “เบาหวานลงไต” หมายความว่าอย่างไร เราจะไตวายไหม หน้านี้มีคำตอบ “เบาหวานลงไต” ไม่เท่ากับ ไตวาย ทางการแพทย์แบ่ง “เบาหวานลงไต” เป็น 5 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 ไตจะทำงานได้มากกว่าปกติ ซึ่งอาจตรวจพบว่าไตมีขนาดใหญ่ขึ้นได้ ยังตรวจไม่พบโปรตีนอัลบูมินใน ปัสสาวะ ระยะที่ 2 การทำงานของไตปกติ เริ่มตรวจพบโปรตีนอัลบูมินในปัสสาวะแบบไมโคร (30-300 มก./วัน) ระยะที่ 3 การทำงานของไตปกติ ตรวจพบโปรตีนอัลบูมินในปัสสาวะแบบแมคโคร (มากกว่า 300 มก./วัน) ระยะที่ 4 ตรวจพบโปรตีนอัลบูมินในปัสสาวะแบบแมคโคร และการทำงานของไตเริ่มผิดปกติ ระยะที่ 5 ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ต้องได้รับการบำบัดทนแทนไต ดังนั้นจะเห็นว่าในระยะต้น ๆ ของเบาหวานลงไต (ระยะที่ 1-3) ผู้ป่วยยังมีค่าการทำงานของไตเป็นปกติ อยู่ จะพบได้เพียงมีโปรตีนชนิดอัลบูมินรั่วออกมาทางปัสสาวะ ในปริมาณที่แตกต่างกันตามระยะเท่านั้น และ การรักษาเบาหวานแบบองค์รวมสามารถชะลอ เบาหวานลงไต อันตรายที่ป้องกันได้

สารสำคัญนวัตกรรมใหม่ในการลดอาการจากภาวะกรดไหลย้อน

บทความโดย ดร. ภก. นิติ สันแสนดี อาจารย์พิเศษผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์สุขภาพ การทำงานของสารสำคัญนวัตกรรมใหม่ในการลดอาการจากภาวะกรดไหลย้อน พร้อมลดความรุนแรงของแผลบริเวณหลอดอาหารที่เกิดจากกรดไหลย้อนซ้ำ ๆ โดยการสร้างชั้นฟิล์มปกป้องผนังกระเพาะอาหารจากกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยลดการระคายเคือง แสบร้อนกลางอก แน่นหน้าอก รวมถึงอาการสำคัญอื่น ๆ ที่เกิดจากภาวะกรดไหลย้อน โดยผ่านกลไกการทำงานหลัก ดังนี้ โซเดียมแอลจิเนต (Sodium Alginate) สารสำคัญในกระบวนการสร้างชั้นฟิล์มหรือชั้นเจล (ANTI-REFLUX) บนผิวหน้าของเนื้อเยื่อระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากโซเดียมแอลจิเนตเป็นเส้นใยชนิดละลายน้ำ จึงมีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำและพองตัว ช่วยสร้างชั้นฟิล์มหนาบนผิวหน้าของเนื้อเยื่อระบบทางเดินอาหาร ชั้นฟิล์มนี้ช่วยปกป้องผนังกระเพาะอาหารจากการสัมผัสกับกรดในกระเพาะอาหารโดยตรง ป้องกันไม่ให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร ลดการระคายเคืองและอาการแสบร้อนกลางอก สารสกัดจากชะเอมเทศ (Licorice Extract) มีสารสำคัญ คือ กรดกลีซีร์ริซิก (Glycyrrhizic acid) เป็นสารประกอบที่พบได้ตามธรรมชาติในรากชะเอมเทศ (licorice root) นิยมใช้เป็นยาสมุนไพร กรดกลีซีร์ริซิกมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้องเซลล์จากความเสียหายช่วยลดอาการอักเสบในร่างกาย ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร ลดภาวะกรดเกิน (ACID REDUCTION) ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยลดการระคายเคืองของเยื่อบุหลอดอาหาร ช่วยสมานแผล กระตุ้นการหลั่งสารเมือก มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ช่วยลดการอักเสบของเยื่อบุผิวกระเพาะอาหาร สารสำคัญนวัตกรรมใหม่ในการลดอาการจากภาวะกรดไหลย้อน

โรคเบาหวาน

นพ. ธัญ จันทรมังกร อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคไต ท่านมีอาการดังนี้หรือไม่ ปัสสาวะบ่อยขึ้น? กระหายน้ำบ่อยขึ้น? หิวบ่อยขึ้น? น้ำหนักลดผิดปกติ? ตามัว? เป็นแผลแล้วหายช้า? ถ้ามี!! ท่านอาจกำลังเป็นเบาหวาน ปัจจุบันมีคนไทยจำนวนถึง 5.2 ล้านคนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน โดยมีอัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ ประมาณหนึ่งแสนคนต่อปี ในจำนวนนี้ 40 % ไม่ทราบว่าตัวเองป่วยเป็นเบาหวาน ขณะที่ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัย และดูแลรักษามีเพียง 2.8 ล้านคน คิดเป็น 54.1% ในจำนวนนี้มีเพียง 1 ใน 3 คน ที่สามารถบรรลุเป้าหมายใน การรักษา ทำให้อัตราการเสียชีวิตจากโรคเบาหวานในไทยมีมากถึง 200 รายต่อวัน โรคเบาหวานวินิจฉัยได้อย่างไร การวินิจฉัยโรคเบาหวานอาศัยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ตามเกณฑ์ ดังนี้ * คนปกติก่อนรับประทานอาหารเช้าจะมีระดับน้ำตาลในเลือด 70-99 มก./ดล. และหลังรับประทานอาหาร แล้ว 2 ชั่วโมง ระดับน้ำตาลจะไม่เกิน 140 มก./ดล เบาหวานไม่ใช่แค่น้ำตาลในเลือดสูง ในผู้ป่วยเบาหวานสามารถพบภาวะแทรกซ้อนได้อีกมากมาย โรคเบาหวาน

สุขภาพดีต้อนรับปีใหม่ ห่างไกลภูมิแพ้ที่ทุกคนทำได้ง่ายๆ

ภญ.ฐิตาภา ภาษานนท์ อาการของโรคภูมิแพ้ คือภาวะอักเสบของเยื่อบุโพรงจมูกชนิดหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย เนื่องจากสัมผัสต่อสารก่อภูมิแพ้ในผู้ป่วยที่มีความไวต่อสารก่อภูมิแพ้นั้น ๆ ทำให้เกิดอาการ คัดจมูก มีน้ำมูก คันจมูกและจาม อาการดังกล่าวอาจมีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ทั้งการนอนหลับ การเรียน การทำงาน รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวัน นอกจากนี้อาการดังกล่าวอาจมีผลต่อคุณภาพชีวิตขอวงผู้ป่วย ทั้งการนอนหลับ การเรียน การทำงาน รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวัน โดยสารก่อภูมิแพ้ที่พบได้บ่อยในประเทศไทยได้แก่ ไรฝุ่น แมลงสาบ เกสรหญ้า เชื้อรา สุนัขและแมว วิธีการรักษา รับประทานยาแก้แพ้ (Antihistamine) – แนะนำให้ทานยาต้านฮิสทามีนชนิดกินรุ่นที่ 2 เช่น loratadine cetirizine ในการคุมอาการทางจากจมูกของโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้มากกว่ายาต้านฮิสทามีนชนิดกินรุ่นที่ 1 วิธีการดูแลตัวเอง ลดการสัมผัสกับไรฝุ่น – โดยจัดบ้านให้เป็นระเบียบ ทำความสะอาดเช็ดถูบ้านทุกวัน – ใช้ปลอกหมอนและปลอกที่นอนในการหุ้มเครื่องนอนเพื่อป้องกันไรฝุ่น –  ทำความสะอาดเครื่องนอนอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้งโดยซักด้วยน้ำร้อนอุณหภูมิไม่น้อยกว่า 50 องศาเซลเซียส นานอย่างน้อย 20 นาที ลดการสัมผัสกับสัตว์เลี้ยง – สุขภาพดีต้อนรับปีใหม่ ห่างไกลภูมิแพ้ที่ทุกคนทำได้ง่ายๆ

ไอแบบมีเสมหะ ต่างจากไอแบบอื่น ๆ อย่างไร

ไอแบบมีเสมหะต่างจากไอแบบอื่นๆ อย่างไร ทำไมต้องเลือกยากแก้ไอให้ถูกประเภท อาการไอเป็นสัญญาณของร่างกายที่อยู่คู่มนุษย์มาทุกยุคสมัย เป็นกลไกธรรมชาติที่เกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งแปลกปลอม เช่น ฝุ่น ควัน หรือเชื้อโรค เข้าสู่ทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการระคายเคือง ร่างกายจึงพยายามกำจัดสิ่งเหล่านั้นออกด้วยการไอ หลายคนมักเข้าใจว่าเมื่อมีอาการไอ การซื้อยาแก้ไอทั่วไปจะช่วยบรรเทาได้ แต่ความจริงแล้ว อาการไอมีหลายประเภท ซึ่งแต่ละแบบตอบโจทย์การรักษาที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะอาการไอแบบมีเสมหะ ที่จำเป็นต้องพิถีพิถันเลือกใช้ยาที่เหมาะสม มาร่วมค้นหาว่าอาการไอแบบมีเสมหะต่างจากแบบอื่นอย่างไร และทำไมการเลือกใช้ยาที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ ไอแบบมีเสมหะคืออะไร? ไอแบบมีเสมหะเกิดจากการที่ร่างกายพยายามขับเสมหะหรือเมือกที่สะสมอยู่ในทางเดินหายใจออกมา อาการนี้มักเกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น หวัด ไข้หวัดใหญ่ ไซนัสอักเสบ ภูมิแพ้ หรือโรคหืด หรือโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หากอาการไอเกิดในช่วงกลางคืนมักมีเสมหะไหลลงคอขณะนอนหลับ ท่าราบทำให้เสมหะไหลเข้าสู่ลำคอและกระตุ้นให้เกิดอาการไอมากขึ้น   นอกจากนี้ การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น ปอดอักเสบ หรือหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการสะสมของสารคัดหลั่งในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งร่างกายจะพยายามขับออกมา ทำให้เกิดอาการไอแบบมีเสมหะ เสมหะนั้นมีหน้าที่ช่วยดักจับเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม แต่เมื่อมีปริมาณมากเกินไป อาจทำให้การหายใจลำบากและกระตุ้นให้ไอหนักขึ้น การรักษาอาการไอแบบมีเสมหะจึงจำเป็นต้องเลือกใช้ยาที่เหมาะสมเพื่อลดเสมหะและช่วยให้การหายใจดีขึ้น อาการไอแบบมีเสมหะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ไอมีเสมหะแบบเฉียบพลัน – จะมีอาการไอที่ไม่เกิน 3 สัปดาห์ ไอแบบมีเสมหะ ต่างจากไอแบบอื่น ๆ อย่างไร

โรคภูมิแพ้อากาศ คืออะไร อาการภูมิแพ้อากาศ พร้อมวิธีดูแลตัวเอง

โรคภูมิแพ้อากาศ เป็นภาวะที่ร่างกายมีปฏิกิริยาต่อสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เช่น ฝุ่นละออง ละอองเกสร หรือขนสัตว์ ส่งผลให้เกิดอาการ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล และคันตา หากไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม อาการอาจรุนแรงขึ้นและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ภูมิแพ้อากาศ คืออะไร โรคภูมิแพ้อากาศ (Allergic Rhinitis) เป็นภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมี ปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เช่น ฝุ่นละออง ละอองเกสร ขนสัตว์ ไรฝุ่น ควันบุหรี่ หรือเชื้อรา เมื่อร่างกายของผู้ที่มีความไวต่อสารเหล่านี้สัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ ระบบภูมิคุ้มกันจะหลั่งสารฮีสตามีน (Histamine) และสารเคมีอื่น ๆ ออกมา ทำให้เกิดอาการไม่สบายในระบบทางเดินหายใจ อาการของโรคนี้อาจเกิดขึ้นเป็นช่วง ๆ (ตามฤดูกาล) หรือเป็นตลอดปี ขึ้นอยู่กับสิ่งกระตุ้นที่พบในแต่ละบุคคล อาการแบบไหน ที่เรียกว่าภูมิแพ้อากาศ ภูมิแพ้หรืออาการของโรคภูมิแพ้อากาศ มักเกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ ทำให้เกิด อาการทางจมูก ตา และผิวหนัง ซึ่งอาจเป็น ๆ หาย ๆ หรือเกิดขึ้นต่อเนื่องตลอดปี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของภูมิแพ้ในแต่ละคน 1. อาการทางจมูก โรคภูมิแพ้อากาศ คืออะไร อาการภูมิแพ้อากาศ พร้อมวิธีดูแลตัวเอง

ฝุ่นภูมิแพ้ PM 2.5 กับยาแก้แพ้ลอราทาดีน

ปัจจุบันฝุ่นละออง PM 2.5 กลายเป็นปัญหาสุขภาพสำคัญที่ผู้คนในเมืองใหญ่ต้องเผชิญกันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในวันที่ค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้ง อากาศอบอ้าวไม่มีลม หรือในวันที่มีการจราจรหนาแน่น สำหรับผู้ที่มีความไวต่อฝุ่น อนุภาคฝุ่นขนาดเล็กนี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน ทำให้มันสามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้ง่าย โดยผ่านเข้าไปในปอดและกระแสเลือด ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะสั้นและระยะยาว การสัมผัสกับฝุ่น PM 2.5 สามารถทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้ง่าย อาทิ จาม น้ำมูกไหล คันจมูก หรือแม้กระทั่งอาการหายใจลำบาก นอกจากนี้ ยังสามารถกระตุ้นให้เกิดการอักเสบในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งนำไปสู่อาการที่รุนแรงขึ้น เช่น โรคปอดอักเสบ หรือภาวะหอบหืดกำเริบ สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการขยายตัวของเมือง การขนส่ง การก่อสร้าง และกิจกรรมอุตสาหกรรม ซึ่งล้วนเป็นแหล่งก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ ทำให้ผู้คนในยุคนี้ต้องเผชิญกับผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 เป็นเวลานาน การตระหนักรู้ การป้องกัน รวมถึงแนวทางการปฎิบัติตัวที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้เราทุกคนสามารถดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ฝุ่น PM 2.5 และผลกระทบต่อสุขภาพ ฝุ่น PM 2.5 คือฝุ่นละอองที่มีขนาดไม่เกิน ฝุ่นภูมิแพ้ PM 2.5 กับยาแก้แพ้ลอราทาดีน

กรดไหลย้อน ทำให้มีกลิ่นปากจริงหรือไม่

นพ. อุดมรัช โกวิททวิพัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบทางเดินอาหารและตับ รพ.พญาไท นวมินทร์   กรดไหลย้อนทำให้มีกลิ่นปากจริงหรือไม่? คำตอบคือ จริง เพราะกรดไหลย้อน มีอาการได้หลายแบบ เช่น กลุ่มอาการของหลอดอาหาร (esophageal syndrome) เช่น แสบร้อนยอดอก (heart burn) , เรอเปรี้ยว (regurgitation) , อาการเจ็บแน่นหน้าอก (reflux chest pain syndrome) เป็นต้น กลุ่มอาการนอกหลอดอาหาร (extraesophageal syndrome) เช่น อาการไอ (reflux cough syndrome) กล่องเสียงอักเสบ เสียงแหบ กลิ่นปาก (halitosis) อาการหอบหืด (reflux asthma syndrome) จุกแน่น หรือรู้สึกมีก้อนอาหารค้างในลำคอ (Globus sensation) หูอักเสบ ฟันกร่อน เป็นต้นกลไกที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก กรดไหลย้อนทำให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหารและช่องปาก กรดนี้สามารถทำให้เกิดการระคายเคืองและทำลายเนื้อเยื่อในช่องปาก กรดไหลย้อน ทำให้มีกลิ่นปากจริงหรือไม่

ส้มตำ 30 เม็ด เผ็ดปกติลิ้น แต่ปกติกระเพาะหรือไม่

นพ. อุดมรัช โกวิททวิพัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบทางเดินอาหารและตับ รพ.พญาไท นวมินทร์   ต้องบอกเลยว่า อาหารรสเผ็ด หรือรสชาติเผ็ดร้อน เป็นที่ชื่นชอบของใครหลาย ๆ คน บางครั้งตอนทานอาจอร่อยปาก แต่เมื่ออาหารเคลื่อนสู่กระเพาะอาหาร หรือลำไส้ กลับกลายทำให้เกิดอาการไม่สบายท้อง ปวดท้อง ท้องเสียได้ บางครั้งมีอาการรุนแรง ถึงกับคลื่นไส้ และอาเจียนออกมาได้ ทำไมพริกถึงทำให้เกิดปัญหา? พริกมีสาร “แคปไซซิน” ที่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ นอกจากนี้ยังกระตุ้นระบบทางเดินอาหาร ซึ่งอาจนำไปสู่อาการท้องเสียได้ หากทานเผ็ดมากเกินไปอาจส่งผลให้เกิดโรคกระเพาะอาหารหรือปัญหาอื่น ๆ ตามมา สาเหตุของโรคกระเพาะไม่ได้มีแค่พริก โรคกระเพาะอาหารมีสาเหตุได้หลายอย่าง เช่น ยาบางชนิด การติดเชื้อแบคทีเรีย หรือแม้แต่ความเครียด การรักษาจึงต้องมุ่งเน้นที่สาเหตุ พร้อมปรับพฤติกรรมการกินและจัดการความเครียดควบคู่กันไป แต่อย่างไรก็ตาม สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ยาที่ระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร ยาแก้ปวดบางชนิด (NSAIDs) การติดเชื้อแบคทีเรีย H.pylori ที่กระเพาะอาหาร หรือปัจจัยกระตุ้นด้านจิตใจและอารมณ์ เป็นต้น ทานเผ็ดอย่างไรให้ปลอดภัย ค่อย ส้มตำ 30 เม็ด เผ็ดปกติลิ้น แต่ปกติกระเพาะหรือไม่

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save