เหล่าทาสต้องรู้! วิธีดูแล รักษา และป้องกันอาการแพ้สัตว์เลี้ยง

วิธีดูแล รักษา และป้องกันอาการแพ้สัตว์เลี้ยง

รู้หรือไม่? ผู้ที่รักสัตว์ และมีการเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ที่มีขนเช่น แมว, สุนัข, กระต่าย หนู หรือแม้กระทั่งนก สามารถทำให้เกิดภูมิแพ้ได้ หรือที่เรียกว่า “ภูมิแพ้สัตว์เลี้ยง”

จากรายงานในประเทศสหรัฐอเมริกา มีประชากรถึงร้อยละ 30 ที่มีอาการแพ้สุนัขหรือแมว และมีแนวโน้มที่จะแพ้แมวมากกว่าสุนัขถึงสองเท่า ทำให้มีคนเข้าใจผิดว่าแพ้ขนสัตว์ แต่ความจริงแล้วสารโปรตีนที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้นั้นพบได้ทั้งใน ขน น้ำลาย สะเก็ดรังแค (pet dander) รวมถึงในปัสสาวะและมูลสัตว์

ซึ่งสารก่อภูมิแพ้นี้มีขนาดเล็กกว่า 10-20 ไมครอนทำให้สามารถลอยอยู่ได้ในอากาศเป็นเวลานาน สามารถหายใจเข้าไปในปอดได้ง่าย และด้วยโครงสร้างของสารก่อภูมิแพ้ที่มีลักษณะขรุขระทำให้สามารถติดตามตัว หรือเสื้อผ้า รวมถึงพื้นห้อง และเฟอร์นิเจอร์ได้

เพราะฉะนั้นบางครั้งเราอาจจะไม่ได้เลี้ยงสัตว์แต่เราสามารถเกิดอาการของภูมิแพ้ขนสัตว์เมื่อเราไปใกล้ชิดกับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ หรือไปในบริเวณที่เคยเลี้ยงสัตว์ชนิดที่เราแพ้ได้

อัลเลอร์นิค ชนิดเม็ด (Allernix™ tablet) ยาบรรเทาอาการแพ้

อาการแพ้ที่พบบ่อยจาก ภูมิแพ้สัตว์เลี้ยง

อาการของแต่ละคนเกิดแตกต่างกันไป โดยอาการแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ๆตามระบบที่มีผลกระทบคือ

1 อาการทางระบบทางเดินหายใจ แบ่งออกเป็น

  • ทางเดินหายใจส่วนบน จะมีอาการ จาม คัดจมูก น้ำมูก มีเสมหะ
  • ทางเดินหายใจส่วนล่าง จะมีอาการหอบ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก และในบางรายอาการอาจรุนแรงถึงขั้นกระตุ้นให้โรคหอบหืดกำเริบ

2 อาการทางระบบผิวหนัง และเยื่อบุตา

ภูมิแพ้สัตว์เลี้ยง

วิธีดูแล รักษา และป้องกันอาการแพ้สัตว์เลี้ยง

เราสามารถป้องกันการแพ้ได้โดยการหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้จากสัตว์ ซึ่งถือเป็นการรักษาที่ดีที่สุด โดย

– เลี้ยงสัตว์นอกบ้านในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเท แต่หากไม่สามารถเลี้ยงนอกบ้านได้ ให้แบ่งเขตที่เลี้ยงให้ชัดเจน จะดีกว่าถ้าสามารถแยกชั้นของสัตว์เลี้ยงออกจากชั้นที่ใช้สำหรับอยู่อาศัย และไม่นำสัตว์เข้าในห้องนอน

– หลีกเลี่ยงการใช้พรม และผ้าบุตามเฟอร์นิเจอร์ เนื่องจากยากต่อการทำความสะอาด แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้แนะนำให้ดูดฝุ่นทุกวัน เพื่อลดสารก่อภูมิแพ้ที่อาจจะเกาะติดอยู่บนพรม หากเป็นเฟอร์นิเจอร์ผ้าควรคลุมด้วยผ้าคลุมกันไรฝุ่น

– จัดระบบระบายอากาศในบ้านให้ไหลเวียน เนื่องจากสารก่อภูมิแพ้สามารถกระจายได้ในอากาศ ดังนั้นการระบายอากาศที่ดีจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง โดยสามารถทำได้โดยการเปิดหน้าต่าง หรือ มีการเติมอากาศชนิด fresh air อีกทั้งยังแนะนำให้มีการใช้เครื่องฟอกอากาศที่มีไส้กรองตั้งแต่ระดับ HEPA ขึ้นไปในห้องที่มีสัตว์เลี้ยง

– หลังจากสัมผัสกับสัตว์ ควรเปลี่ยนเสื้อผ้า และล้างมือ ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเป็นประจำ เพื่อลดการสะสมของสารก่อภูมิแพ้ในจมูก

– อาบน้ำให้สัตว์เลี้ยงเป็นประจำ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง เพื่อลดการสะสมของสารก่อภูมิแพ้

การรักษาอาการภูมิแพ้ด้วยยาแก้แพ้

การใช้ยาแก้แพ้ ถือเป็นการรักษาตามอาการ โดยแพทย์จะสั่งยาต้านฮิสตามีน ปัจจุบันมียาต้านฮิสตามีนที่ไม่ก่อให้เกิดอาการง่วง (Second-Generation Antihistamines) รวมทั้งการใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดพ่นเข้าจมูก หรือเข้าปากตามอวัยวะที่มีอาการแสดง ในรายที่เป็นรุนแรงแพทย์อาจพิจารณาการใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทาน หรือฉีดเข้าเส้นเลือด

หากเป็นรายที่มีอาการแพ้แต่ยังมีความจำเป็น หรือต้องการที่จะเลี้ยงสัตว์ต่อ หลังจากได้ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำเพื่อการหลีกเลี่ยงภาวะภูมิแพ้ดังกล่าวข้างต้นแล้ว แต่ยังมีอาการของภูมิแพ้ สามารถเข้าปรึกษาแพทย์เฉพาะทางโรคภูมิแพ้ เพื่อรับการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด ซึ่งการรักษาวิธีนี้สามารถทำให้หายขาดได้

บทความโดย นพ. ธัญ จันทรมังกร
อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคไต โรงพยาบาลราชเวชเชียงใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close