Eatmunity กินอย่างไรให้ห่างไกลภูมิแพ้

หลายคนคงเคยได้ยิน คำว่า อิมมูนิตี Immunity หรืออธิบายให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่า ความสามารถของร่างกายที่จะสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต้านทานโรคต่าง ๆ เพราะร่างกายมนุษย์ประกอบไปด้วยระบบภูมิคุ้มกันมากมาย และหากร่างกายมีภูมิต้านทานต่ำ ก็จะทำให้รับเชื้อที่แพร่มาสู่เราได้ง่าย

ซึ่งสำหรับท่านที่มีอาการภูมิแพ้ต่าง ๆ แล้วละก็ การดูแลระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย Immunity ให้ทำงานเป็นปกติอยู่เสมอเป็นสิ่งสำคัญ และถือเป็นการดูแลอาการภูมิแพ้ที่ต้นเหตุ ทำให้ผู้ที่มีอาการภูมิแพ้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขมากยิ่งขึ้น และนั่นจึงเป็นสาระความรู้ดี ๆ ที่เราจะนำมาฝากกันในวันนี้ ในหัวข้อ Eatmunity กินอย่างไรให้ห่างไกลภูมิแพ้ มาฟังคำแนะนำดี ๆ จากผู้เชี่ยวชาญ เภสัชกร ปรีชญา พันธุ์คำ ไปพร้อม ๆ กัน

อัลเลอร์นิค ชนิดเม็ด (Allernix™ tablet) ยาบรรเทาอาการแพ้

สิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ส่งผลกระทบให้คนเป็นภูมิแพ้มากขึ้น

ปัจจุบัน ปัญหามลภาวะทางสิ่งแวดล้อม กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่อง ฝุ่นควันมลพิษในอากาศอย่างฝุ่น PM 2.5 ที่มีช่วงเวลาการเกิดมากขึ้น มลพิษที่ปนเปื้อนมาทางอาหารที่เรารับประทาน รวมถึงสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการอุตสาหกรรมต่าง ๆ ปัจจัยเหล่านี้เองที่ทำให้คนในปัจจุบัน เกิดอาการแพ้กำเริบง่ายขึ้น และหลีกเลี่ยงได้ยากยิ่งขึ้น เนื่องจากฝุ่นละอองขนาดเล็กเหล่านี้ สามารถกระจายอยู่ทั่วไปในชั้นบรรยากาศ และเมื่อร่างกายของคนเป็นภูมิแพ้ได้รับสารกระตุ้นเหล่านี้ กลไกของร่างกายก็จะหลั่งสารฮิสทามีนออกมา ทำให้เกิดอาการแพ้

3 อาการแพ้ที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน ได้แก่

1. อาการภูมิแพ้ทางเดินหายใจ ไอ จาม น้ำมูกไหล
2. อาการภูมิแพ้ทางตา ตาแดงน้ำตาไหล คันตา
3. อาการภูมิแพ้ทางผิวหนัง ผื่นแดงคันบริเวณลำตัว มักจะเป็นในบริเวณ หน้า คอ ข้อพับ ข้อศอก มือ และเท้า


4 สิ่งสำคัญที่ส่งผลกระทบโดยตรงกับอาการภูมิแพ้คุณ

1. การสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ เช่น สารจากเกสรดอกไม้ ขนสัตว์ นม ไข่ อาหารทะเล เป็นต้น และเมื่อออกไปข้างนอกควรสวมหน้ากากอนามัยใหม่ สะอาด และได้มาตรฐาน เพื่อป้องกันสารก่อภูมิแพ้

2. การพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพราะการอดนอนทำให้ระบบภูมิคุ้มกันแย่ลง

3. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ตามพื้นฐานสุขภาพของแต่ละบุคคล ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง เสริมภูมิคุ้มกัน อย่างน้อยวันละ 30นาที เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย

4. การดูแลโภชนาการอาหาร ตามหลักวิทยาศาสตร์ เพราะสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ เกิดจากการใส่ใจดูแลการรับประทาน ดังนั้นเราจึงควรหันมาใส่ใจดูแล เลือกคุณค่าสารอาหารที่ร่างกายต้องการเพื่อใช้ในการปกป้องระบบภูมิคุ้มกันของเรา

Eatmunity กินอย่างไรให้ห่างไกลภูมิแพ้

เภสัชกรปรีชญา พันธุ์คำ ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร และการเกิดภูมิแพ้ ได้เปิดเผยข้อมูล อันน่าสนใจว่า มีอาหารบางชนิดช่วยเสริมภูมิต้านทานต่อโรคภูมิแพ้ ลดการหลั่งสารฮิสทามีนได้เป็นอย่างดี ซึ่งได้แก่

• วิตามินซี
ที่มักพบในพวกผลไม้รสเปรี้ยวชนิดต่าง ๆ ได้แก่ ส้ม มะนาว สับปะรด และพวกผักใบเขียว ได้แก่ บล็อคโคลี่ ผักขม ตำลึง โดยสรรพคุณของ วิตามินซี จะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานต่อโรคภูมิแพ้ รวมถึงช่วยลด และป้องกันการหลั่งสารฮีสทามีนได้เป็นอย่างดี

• วิตามินเอ
พบในอาหารประเภท น้ำมันตับปลา เครื่องในสัตว์ ไข่แดง นม ผักและผลไม้เช่นกัน โดยเฉพาะผักที่มีสีส้ม สีเหลือง และเขียวเข้ม เช่น แครอท ผักโขม ข้าวโพด มันฝรั่ง ฟักทอง คะน้า เป็นต้น โดย วิตามินเอ ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับเยื่อบุทางเดินหายใจ และทางเดินอาหารของเราให้สมดุล

• โอเมก้า 3
ที่พบมากในกลุ่มปลาทะเลน้ำลึก ได้แก่ ปลาทูน่า ปลาทู ปลาแซลมอล และปลากระพง มีประโยชน์ในการช่วยลดการอักเสบ ปรับภูมิคุ้มกันให้ต่อสู้กับเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาสู่ร่างกายของเราได้เป็นอย่างดี

• ซีลีเนียม
พบมากใน กลุ่มพืชตระกูลหัวหอม ได้แก่ หอมหัวใหญ่ หอมแดง ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ต่อสู้กับเชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามากระตุ้น และก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้

• เควอซิทิน
เควอซิทิน หรือสารต้านฮีสตามีนตามธรรมชาติ พบได้ทั่วไปใน กระเทียม ต้นหอม หอมแดง หอมหัวใหญ่ แอปเปิ้ล ชาเขียว จะช่วยบรรเทาอาการแพ้ตามฤดูกาล ลดการอักเสบเกี่ยวกับภูมิแพ้ รวมถึงต้านอนุมูลอิสระ

และนี่เป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่ช่วยเสริมภูมิต้านทาน ลดและบรรเทาอาการภูมิแพ้ ซึ่งนอกจากการดูแลเรื่องอาหารแล้ว เรายังคงต้องให้ความใส่ใจเรื่องอากาศ โดยหมั่นตรวจวัดคุณภาพของฝุ่นละอองในอากาศ คอยเลี่ยงการเข้าไปในบริเวณที่เกิดสารกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ รวมถึงการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนตามธรรมชาติในการต่อต้านสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ รวมถึงการดูแลอารมณ์ให้แจ่มใส ไม่เครียด ไม่วิตกกังวล ซึ่งก็จะช่วยให้อาการภูมิแพ้ของคุณอยู่ในระดับที่ไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการใช้ชีวิตอีกต่อไป

Eatmunity

อาการภูมิแพ้จะไม่ใช่เรื่องใหญ่อีกต่อไป หากหันมาใส่ใจตั้งแต่วันนี้

คงไม่มีอะไรดีกว่าการดูแลและป้องกัน รวมถึงการให้ความสำคัญในการดูแลรักษาอาการในระยะเริ่มต้น เพื่อตัดไฟแต่ต้นลมไม่ให้ปัญหาต่าง ๆ เหล่านั้นลุกลาม สำหรับในกรณีที่อาการภูมิแพ้ของคุณอยู่ในระดับที่รบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันแล้ว การใช้ยาเพื่อรักษาก็เป็นทางเลือกที่สำคัญ ที่คุณควรเข้าใจ โดยสำหรับการใช้ยารักษาอาการภูมิแพ้ ยาแก้แพ้ นั้น ทาง เภสัชกร ปรีชญา พันธุ์คำ ก็ได้มีคำแนะนำมาฝาก ดังนี้

ยาแก้แพ้หรือยาต้านฮีสตามีน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

1. ยากลุ่มแรก ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มดั้งเดิมซึ่งมักทำให้ง่วงซึม

ยาในกลุ่มนี้สามารถผ่านเข้าสู่สมอง ไปกดระบบประสาทได้ จึงทำให้ผู้ที่ใช้ยามีอาการง่วงซึม แต่ข้อดีคือ สามารถช่วยบรรเทาอาการน้ำมูกที่เกิดจากหวัดได้ดี ยากลุ่มนี้เหมาะกับการรับประทานก่อนนอน และไม่ควรขับรถ

2. ยากลุ่มที่สองที่เป็นกลุ่มใหม่กว่า เป็นยาต้านฮีสตามีนกลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วงซึม

ยาในกลุ่มนี้ผ่านเข้าสมองได้น้อยมากจึงทำให้ง่วงซึมน้อย และรับประทานเพียงแค่วันละ 1 ครั้งเท่านั้น จึงเหมาะสำหรับคนทำงานทั่วไป ยกตัวอย่าง เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของตัวยา Loratadine และ Cetirizine เป็นต้น ซึ่งปัจจุบัน ยาแก้แพ้ชนิดไม่ง่วง มีวางขายจำหน่ายที่ชั้นวางขายยาทั่วไป ซึ่งยา Loratadine นั้นไม่ทําให้ง่วงนอน และสามารถออกฤทธิ์ได้นานถึง 24 ชั่วโมง ใช้ลดอาการที่เกี่ยวข้องกับภูมิแพ้ เช่น คัดจมูก จาม น้ำมูกไหล คันตา บรรเทาอาการน้ำมูกไหล ใช้รักษาลมพิษ และโรคผิวหนังที่เกิดจากภูมิแพ้ มีจําหน่ายทั้งในรูปแบบยาเม็ด ยาแคปซูล และยาน้ำเชื่อม จึงเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องใช้ยาลดอาการแพ้ ที่กำลังได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อย ๆ

ปัจจุบัน ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ทำให้เราค้นพบข้อมูลใหม่ ๆ และมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคต่าง ๆ ได้มากขึ้น สำหรับโรคภูมิแพ้นั้นแม้จะเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่สามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ และมีคุณภาพชีวิตไม่แตกต่างจากคนทั่วไป เพียงเราใส่ใจดูแลตามคำแนะนำที่ให้ไว้ ไม่ว่าจะเป็นการหลีกเลี่ยงสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ การพักผ่อนอย่างเพียงพอ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการดูแลโภชนาการอาหารอย่างถูกวิธี

เพียงเท่านี้เราก็สามารถอยู่ร่วมกับอาการภูมิแพ้ได้อย่างมีความสุข อาการไม่กำเริบ หรือกำเริบน้อยที่สุด และไม่รบกวนชีวิตจิตใจของเราดังอดีตที่ผ่านมา

วันนี้เราก็ได้ความรู้เกี่ยวกับ Eatmunity กินอย่างไรให้ห่างไกลภูมิแพ้ กันแบบกระชับ อัดแน่น ครบทุกประเด็น และต้องขอขอบคุณเภสัชกร ปรีชญา พันธุ์คำ ที่มาไขข้อข้องใจ และให้ความรู้กับพวกเราทุก ๆ คน เพื่อให้ต่อไปนี้ อาการภูมิแพ้จะไม่ทำให้คุณต้องรู้สึกแย่อีกต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close