บทความโดย ดร. ภก. นิติ สันแสนดี อาจารย์พิเศษ
ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ทำความรู้จัก ยาแก้แพ้ คืออะไร
ยาแก้แพ้ (Antihistamines) เป็นยาที่ช่วยบรรเทาอาการแพ้ที่เกิดจากการตอบสนองของร่างกายต่อสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่นละออง ละอองเกสร ขนสัตว์ อาหาร หรือยาบางชนิด ซึ่งสารสำคัญที่เกี่ยวข้องกับอาการแพ้คือ ฮีสตามีน (Histamine) ซึ่งถูกปล่อยออกมาเมื่อร่างกายสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้
การกินยาแก้แพ้ ช่วยลดอาการต่างๆ เช่น จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล ผื่นคัน และตาบวม อย่างไรก็ตาม ควรเลือกใช้ยาแก้แพ้ให้เหมาะสมกับอาการและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียง เช่น อาการง่วงซึมจากยาแก้แพ้บางชนิด
สรรพคุณของยาแก้แพ้
ยาแก้แพ้ (Antihistamines) ช่วยบรรเทาอาการแพ้ที่เกิดจาก ฮีสตามีน (Histamine) โดยมีสรรพคุณหลัก ได้แก่
- บรรเทาอาการแพ้ทางเดินหายใจ เช่น จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล คันตา
- ลดอาการแพ้ทางผิวหนัง เช่น ลมพิษ ผื่นคัน ผิวหนังอักเสบ
- ช่วยบรรเทาอาการแพ้อาหาร และแพ้ยา ที่ทำให้เกิด ผื่นแดง คัน
- ลดอาการเมารถ เมาเรือ ในบางกรณี เช่น การ กินยาแก้แพ้ ชนิด ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine)
- ใช้เป็นยานอนหลับอ่อน ๆ โดยเฉพาะยาแก้แพ้รุ่นที่ 1 ที่ทำให้ง่วง
- ช่วยลดอาการแพ้จากแมลงกัดต่อย เช่น บวม แดง คัน
อาการแพ้แบบไหน ถึงควรกินยาแก้แพ้
ยาแก้แพ้ (Antihistamines) มีบทบาทสำคัญในการบรรเทาอาการแพ้ที่เกิดจากการตอบสนองของร่างกายต่อสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่นละออง ละอองเกสร ขนสัตว์ อาหาร หรือแมลงกัดต่อย อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่อาการแพ้ทุกประเภทที่จำเป็นต้องกินยาแก้แพ้เสมอไป
โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis)
-
- คัดจมูก น้ำมูกไหล
- จามบ่อย โดยเฉพาะในช่วงเช้าหรือเมื่อสัมผัสสารก่อภูมิแพ้
- คันจมูก คันตา แสบตา น้ำตาไหล
อาการเหล่านี้สามารถบรรเทาได้ด้วยยาแก้แพ้รุ่นที่ 2 เช่น ลอราทาดีน (Loratadine) เป็นต้น
ผื่นแดง บวม คันตามร่างกาย
มีอาการคันจากการแพ้สารเคมี เครื่องสำอาง หรืออาการแพ้ที่เกิดจากแมลงกัดต่อยยาแก้แพ้ที่นิยมใช้ เช่น ลอราทาดีน หรือ เซทิริซีน
ภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Atopic Dermatitis)
ผื่นแดง ผื่นแพ้ผิวหนัง คัน ผิวแห้งลอก อาการกำเริบเมื่อสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ อาจใช้ร่วมกับครีมสเตียรอยด์เพื่อลดการอักเสบ
อาการแพ้อาหาร หรือแพ้ยา (Mild Allergic Reactions)
คันในลำคอ ผื่นแดง หรือบวมเล็กน้อย ควรรีบกินยาแก้แพ้ อาการอาหารแพ้ อาหากรุนแรงขึ้น เช่น หายใจติดขัด ให้รีบ ไปพบแพทย์ทันที
อาการเมารถ เมาเรือ
บางครั้งใช้ยาแก้แพ้รุ่นที่ 1 เช่น ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) หรือ เมโคลซีน (Meclizine) ซึ่งช่วยลด อาการ คลื่นไส้และเวียนศีรษะ
การเลือกใช้ยาแก้แพ้
1. ยาแก้แพ้กลุ่มดั้งเดิม (conventional antihistamines)
มีผลข้างเคียงทำให้ ง่วงนอน เนื่องจากสามารถผ่านเข้าสู่สมองและกดระบบประสาทส่วนกลาง
2. ยาแก้แพ้กลุ่มใหม่ (second-generation antihistamines)
หรือเรียกว่า ยาแก้แพ้กลุ่มไม่ทำให้ง่วงนอน (non-sedating antihistamines) โดยจุดแตกต่างที่สำคัญคือ ยาแก้แพ้กลุ่มดั้งเดิมจะผ่านเข้าสู่สมอง ทำให้เกิดอาการง่วงซึม ยาแก้แพ้กลุ่มใหม่จะผ่านเข้าสู่สมองน้อยกว่าเดิม จึงไม่ทำให้เกิดอาการง่วงซึมหรือมีอาการง่วงซึมเพียงเล็กน้อยในผู้ใช้บางราย จึงไม่รบกวนคุณภาพชีวิต และยังออกฤทธิ์ได้ยาวนานกว่ายากลุ่มดั้งเดิม ทำให้สามารถรับประทานยาเพียง 1-2 เม็ดต่อวันได้
ยาแก้แพ้แบบง่วง
ยาแก้แพ้ที่ทำให้ง่วง หรือ Antihistamines รุ่นที่ 1 เป็นยาที่สามารถผ่านเข้าสู่สมองและมีผลข้างเคียงทำให้ ง่วงนอน เนื่องจากมีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง
ตัวอย่างยาแก้แพ้แบบง่วง คลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine) ใช้บรรเทาอาการแพ้ทั่วไป เช่น น้ำมูกไหล จาม
ยาแก้แพ้แบบ ไม่ทำให้ง่วงซึม
ยาแก้แพ้ที่ไม่ทำให้ง่วง หรือ Antihistamines รุ่นที่ 2 ออกฤทธิ์เฉพาะในร่างกาย โดยไม่ผ่านเข้าสู่สมองนักทำให้ไม่มีผลข้างเคียงเรื่องง่วงซึมตัวอย่างยาแก้แพ้แบบไม่ง่วง
วิธีกินยาแก้แพ้ที่ถูกต้อง
- เด็ก อายุ 2-5 ปี: ครั้งละ 5 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง
- เด็ก อายุ 6 ปีขึ้นไป: ครั้งละ 5 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง หรือ ครั้งละ 10 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง
- ผู้ใหญ่และเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป: ครั้งละ 10 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง
กินยาแก้แพ้บ่อย อันตรายไหม
การใช้ยาแก้แพ้บ่อย ๆ อาจมีผลข้างเคียงขึ้นอยู่กับชนิดของยาและระยะเวลาที่ใช้ หากใช้ไม่ถูกต้องหรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลต่อสุขภาพได้
ข้อควรระวังการใช้ยาแก้แพ้
การกินยาแก้แพ้ (Antihistamines) ควรใช้อย่างระมัดระวังเพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่
- ยาแก้แพ้รุ่นที่ 1 (แบบง่วง) หลีกเลี่ยงการ กินยาแก้แพ้ ก่อนขับรถ ทำงาน หรือต้องใช้สมาธิ
- ยาแก้แพ้รุ่นที่ 2 (แบบไม่ง่วง) ปลอดภัยกว่า แต่บางคนอาจมีเวียนศีรษะ ปากแห้ง
- ห้ามใช้ร่วมกับแอลกอฮอล์ การ กินยาแก้แพ้ พร้อมแอลกอฮอล์อาจเพิ่มความง่วงและเป็นอันตรายต่อระบบประสาท
- ควรปรึกษาแพทย์: หากเป็นผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคตับ ไต
- ไม่ควรใช้ต่อเนื่องโดยไม่จำเป็น การ กินยาแก้แพ้ ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้ร่างกายดื้อต่อยาและลดประสิทธิภาพของการรักษา
ผลข้างเคียงของการใช้ยาแก้แพ้
การ กินยาแก้แพ้ อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง อาจทำให้ปากแห้ง คอแห้ง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ และบางรายอาจง่วงนอน หากมีอาการรุนแรง เช่น หายใจลำบาก หน้าบวม ลมพิษ ควรหยุดยาและรีบพบแพทย์ทันที
ข้อควรระวัง
- แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบก่อน กินยาแก้แพ้หากมีประวัติแพ้ยาลอราทาดีน (Loratadine) หรือส่วนประกอบอื่น ๆ ในยา แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบก่อนใช้ยา
- หากมีโรคประจำตัว เช่น โรคตับ โรคไต โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
- ห้ามใช้ยานี้ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน
- หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
- ยานี้อาจทำให้เกิดอาการง่วงนอนได้ ห้ามใช้ยานี้ร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การใช้ยาในผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ
- ผู้ที่มีภาวะการทำงานของตับบกพร่อง: ไม่ต้องปรับขนาดยา
- ผู้ที่มีภาวะการทำงานของไตบกพร่องระยะเริ่มต้นถึงปานกลาง: ไม่ต้องปรับขนาดยา
- ผู้ที่มีภาวะการทำงานของไตบกพร่องระยะรุนแรง (CrCl<30 ml/min): ครั้งละ 10 มิลลิกรัม ทุก 48 ชั่วโมง
ยานี้ถูกจัดอยู่ใน Pregnancy category B ตามระบบการจัดยาตาม Pregnancy category ซึ่งปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์ และเนื่องจากยาผ่านออกทางน้ำนมในปริมาณน้อยมาก จึงสามารถใช้ได้ในหญิงให้นมบุตร อีกทั้งมีข้อมูลการปรับขนาดยาที่ชัดเจนสามารถใช้ได้ในผู้ที่มีภาวะการทำงานของไตบกพร่อ ง จึงเป็นยาแก้แพ้ตัวหนึ่งที่มีความปลอดภัย สามารถใช้บรรเทาอาการเบื้องต้นได้ในผู้ป่วยหลากหลายกลุ่ม
GED ไว้แก้แพ้ สำหรับอาการแพ้ทั่วไปควรใช้ยาตามขนาดที่แนะนำ อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลที่ระบุในฐานข้อมูล UpToDate Drug information. สืบค้นวันที่ 31 มกราคม 2024 ระบุว่า ในข้อบ่งใช้บางอย่าง เช่น ลมพิษเฉียบพลันหรือลมพิษเรื้อรังที่ควบคุมไม่ได้ มีข้อมูลว่าอาจเพิ่มขนาดรับประทานยาลอราทาดีน (Loratadine) เป็น 10 มิลลิกรัมวันละ 2 ครั้ง โดยควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรอย่างเคร่งครัด เนื่องจากยาลอราทาดีน (Loratadine) เป็นยาแก้แพ้ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย