“ถึงป่วยก็เที่ยวเมืองนอกได้” จะ เตรียมยา อย่างไร ไม่ให้โดนจับ!

เตรียมยา

คุณเตรียมทุกอย่างไว้พร้อมหมดแล้ว ซื้อตั๋วเครื่องบิน จองโรงแรม ลิสต์รายการสถานที่ที่อยากไป รวมถึงอาหารที่ต้องชิม แล้วสุขภาพของคุณล่ะ ได้เตรียมหรือยัง? การ เตรียมยา ติดตัวไปต่างประเทศจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ทั้งยาประจำตัว เช่น ยารักษาโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง หรือเบาหวาน และยาสามัญทั่วไป เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ปวด แต่ยาเหล่านี้ก็อาจสร้างปัญหาให้กับการเดินทางของคุณได้อย่างไม่คาดฝันเช่นกัน

decolgen ดีคอลเจน

มาดูกันดีกว่า เตรียมยา ไปเที่ยวแบบไหนให้ปลอดภัยไร้ปัญหา

1. ตรวจสอบกฎหมายระหว่างประเทศในการนำเข้ายา
แต่ละประเทศมีกฎหมายในการใช้ยาที่แตกต่างกัน ยาที่ถูกกฎหมายในบ้านเราอาจจะเป็นสิ่งผิดกฎหมายในประเทศที่คุณกำลังจะเดินทางไปก็ได้ คุณจึงควรตรวจสอบข้อมูลจากเว็บไซต์ หรือโทรไปสอบถามกับทางสถานทูตให้แน่ใจตั้งแต่ก่อนเดินทางว่า ยาที่คุณจำเป็นต้องใช้ หรือกำลังจะพกไปด้วย จัดอยู่ในกลุ่มสารต้องห้ามของประเทศนั้นหรือไม่ ถ้าคุณคงไม่อยากมีปัญหาที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง เพราะยาแค่ไม่กี่เม็ดหรอก จริงมั้ย?

704-Medical-certificate

2. พกใบรับรองแพทย์เป็นภาษาอังกฤษไปด้วยทุกครั้ง
หากคุณป่วย หรือมีโรคประจำตัวที่ต้องกินยาอยู่เสมอ การพกใบรับรองแพทย์ติดตัวไปเที่ยวด้วย ก็จะช่วยลดความกังวลเรื่องการพกยาได้มากทีเดียว อย่าลืมว่าใบรับรองแพทย์นี้ต้องเป็นภาษาอังกฤษด้วยนะ

3. ห้ามแกะยาออกจากฉลากหรือซองยาเด็ดขาด!
คนที่ต้องทานยาอยู่เป็นประจำอาจจะเคยชินกับการแกะยาออกจากแผงมาจัดเป็นชุดเองเพื่อความสะดวกในการทานยาแต่ละครั้ง แต่ถ้าหากคุณกำลังจะเดินทางไปเมืองนอกแล้วละก็ เราขอแนะนำว่าอย่าทำดีกว่า เพราะเมื่อแกะยาออกจากแผงแล้ว คุณก็จะไม่มีหลักฐานที่ช่วยระบุว่ายาที่คุณนำไปนั้นเป็นยาชนิดใดอีกต่อไป

4. ตรวจดูวันหมดอายุของยา
การกินยาหมดอายุไม่ช่วยให้หายป่วย และยังอาจมีอันตรายร้ายแรงต่อร่างกายได้อีกด้วย นอกจากนี้ การซื้อยาที่ต่างประเทศก็ยุ่งยากกว่าการซื้อยาในบ้านเรามาก คุณจึงควรตรวจวันหมดอายุขอยาไว้เสียแต่เนิ่น ๆ จะดีกว่า

704-drug

5. เตรียมยาไปมากกว่าปกติเล็กน้อย
การเดินทางระหว่างประเทศนั้นสามารถเกิดเหตุผิดพลาดได้เสมอ เช่น กระเป๋าเดินทางของคุณอาจจะมาช้า หรือไปส่งผิดที่ หรือเที่ยวบินดีเลย์ คุณจึงควรเตรียมยาไปมากกว่าปริมาณที่คุณใช้ตามปกติเล็กน้อย และแยกเก็บยาบางส่วนติดตัวเอาไว้ เผื่อสำหรับรับมือกับเหตุฉุกเฉินเหล่านี้

ถามหมอออนไลน์ ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close