อาการแพ้เครื่องสำอาง มีอะไรบ้าง? และ 6 สารที่ควรเลี่ยง!

อาการแพ้เครื่องสำอาง

สาว ๆ คนไหนที่ไม่เคยแพ้เครื่องสำอาง แสดงว่าเกิดมาพร้อมกับแต้มบุญสูง เพราะ ผู้หญิงมักมีอาการแพ้เครื่องสำอางกันเยอะ มาดูกันว่า อาการแพ้เครื่องสำอาง ที่ผู้หญิงเป็นกันบ่อยมีอะไรบ้าง? และ 6 สารในเครื่องสำอางที่ควรเลี่ยง ถ้าไม่อยากแพ้! GED good life จัดมาให้ครบแล้ว ติดตามกันได้เลย!

อัลเลอร์นิค ชนิดเม็ด (Allernix™ tablet) ยาบรรเทาอาการแพ้

การแพ้เครื่องสำอาง คืออะไร?

การแพ้เครื่องสำอาง เป็นปฏิกิริยาที่ผิวแสดงอาการแพ้สารต่าง ๆ โดยเฉพาะสารเคมีที่เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง เช่น น้ำหอม แอลกอฮอล์ สารกันแดด สารแต่งสี เป็นต้น เป็นต้นเหตุทำให้ผิวที่เรารักและทะนุถนอม เกิดอาการระคายเคืองจนนำไปสู่อาการแพ้ โรคผิวหนัง ติดเชื้อ และลมพิษ เป็นต้น

อาการแพ้เครื่องสำอาง มีอะไรบ้าง?

อาการทางผิวหนัง เป็นอาการข้างเคียงที่พบได้บ่อยที่สุดจากการใช้เครื่องสำอาง โดยอาการที่พบบ่อย ได้แก่

1. อาการระคายเคือง

เป็นอาการที่พบได้บ่อยกว่าการแพ้ เกิดจากการสัมผัสกับสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นกรด หรือด่างสูง เช่น น้ำยาดัดผม ครีมกำจัดขน เป็นต้น ระยะเวลาของการเกิดอาการ อารเกิดได้ภายในเวลาไม่กี่นาที หรือไม่กี่ชั่วโมง หลังจากใช้เครื่องสำอาง

อาการที่มักพบ ได้แก่

  • มีอาการผื่นแดง คัน
  • ปวดแสบปวดร้อน
  • อาจมีตุ่มแดง หรือตุ่มน้ำ

2. อาการแพ้

บริเวณที่แพ้ได้บ่อย คือ ใบหน้า โดยเฉพาะรอบดวงตา เนื่องจากเป็นบริเวณที่ผิวบอบบางที่สุด ผู้ใช้ที่แพ้สารชนิดใดแล้ว หากสัมผัสกับสารนั้นอีกแม้เพียงเล็กน้อยก็เกิดอาการแพ้ได้

อาการที่มักพบ ได้แก่

  • มีอาการคัน บวม แดง
  • อาจเห็นตุ่มน้ำสีแดงเล็ก ๆ หรือเป็นปื้นนูนแบบลมพิษ
  • หากแพ้มาก อาจมีอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก

ผื่นผิวหนัง 2 ประเภท ที่พบบ่อยจากการแพ้เครื่องสำอาง

1. ผื่นระคายเคือง – เกิดจากส่วนประกอบที่เข้มข้น มีความสามารถในการลอกผิวหนังกำพร้าส่วนบน เช่น กรดAHA และBHA เป็นต้น เกิดบ่อยในผู้ใช้ที่สภาพผิวแห้งใช้มานานต่อเนื่องทำให้ผิวบาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผิวหนังบริเวณรอบตา

  • ลักษณะของผื่น ได้แก่ ผิวแสบ ร้อน แดง เริ่มทนแสบจากเหงื่อไม่ได้ ปวดแสบร้อนเวลาถูกแดด หน้าแดงง่าย อาจรุนแรงถึงเป็นหนองหัวเล็ก ๆ เต็มหน้าก็ได้
  • เครื่องสำอางที่พบเป็นเหตุ ได้แก่ สบู่ น้ำยาดับกลิ่น เครื่องสำอางรอบดวงตา ครีมให้ความชุ่มชื้น น้ำยาดัดผม แชมพู

2. ผื่นแพ้สัมผัสจากเครื่องสำอาง – เกิดจากปฏิกิริยาภูมิแพ้ของร่างกายต่อสารประกอบของเครื่องสำอางจริง ๆ

  • ลักษณะของผื่น ได้แก่ ผื่นแดง คัน อาจมีตุ่มใสน้ำเหลืองได้
  • เครื่องสำอางที่พบเป็นเหตุ ได้แก่ น้ำหอม สารกันเสีย น้ำยาย้อมผม
  • สารก่อภูมิแพ้ที่พบได้รอง ๆ ลงมาเช่น แพ้ ester gum ในลิปสติก แพ้ soy bean oil ในแชมพูสระผม แพ้สารทำฟอง ในสบู่เหลว แชมพู

6 สารประกอบในเครื่องสำอางบำรุงผิวที่มักทำให้เกิดอาการแพ้

  • Fragrance – เป็นน้ำหอมที่มักผสมมากับเครื่องสำอาง และเป็นปัจจัยให้เกิดอาการแพ้ได้บ่อย ก่อให้เกิด ผื่นแพ้สัมผัส
  • Propylene Glycol  – ทำให้สารต่าง ๆ รวมตัวกันเป็นเนื้อเดียว American Contact Dermatitis Society ยกให้เป็นสารก่อภูมิแพ้แห่งปี 2018 (อ้างอิง)
  • Glycolic Acid หรือ AHA  – เป็นกรดผลไม้ ช่วยขจัดเซลล์ผิวชั้นนอก อาจทำให้เกิดผื่นสัมผัส (Contact dermatitis) ได้
  • Salicylic Acid หรือ BHA  – เป็นสารช่วยขจัดเซลล์ผิวชั้นนอกเหมือน AHA แต่มีฤทธิ์แรงกว่า
  • Lanolin – เป็นน้ำมันสกัดจากขนแกะ American Contact Dermatitis Society ประกาศให้ “ลาโนลิน” เป็นสารก่อผู้แพ้แห่งปี 2023 (อ้างอิง)
  • PABA – เป็นสารป้องกันแสงแดดที่นิยมใช้ในครีมกันแดดสมัยก่อน แต่ปัจจุบันถูกยกเลิกให้ใช้ เนื่องจากก่ออาการแพ้ได้ง่าย

อย่างไรก็ตาม ยังมีสารอื่น ๆ ที่ผู้ใช้เครื่องสำอางอาจแพ้ได้ ฉะนั้นก่อนใช้แนะนำให้ทดสอบครีมด้วยตัวเองกันก่อนใช้งานจริง

วิธีรักษาเมื่อมีอาการแพ้เครื่องสำอาง

  • หากมีอาการไม่มาก การหยุดใช้เครื่องสำอางที่สงสัย ก็อาจทำให้อาการดีขึ้น
  • หากมีอาการแห้ง ตึง คัน ก็อาจใช้ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหนัง เพื่อลดอาการดังกล่าว
  • ในกรณีที่เป็นมาก อย่างเช่น การใช้ยาย้อมผม ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการบวม แดงลงมาที่บริเวณใบหน้า ลำคอ จนกระทั่งหายใจลำบาก ควรพบแพทย์ ซึ่งแพทย์จะจ่ายยา เช่น ยาสเตียรอยด์ หรือยารับประทาน เช่น ยาแก้แพ้ เพื่อลดอาการอักเสบของผิวหนัง

วิธีป้องกันการแพ้เครื่องสำอาง

  • ทดสอบก่อนใช้งานจริง  ด้วยการทาครีมที่ต้องการทดสอบไว้ที่ใต้ท้องแขนด้านใน หรือข้อพับแขนทาขนาดเท่าเหรียญ 10 บาท ทาเช้า-เย็น ประมาณ 7-10 วัน แล้วสังเกตว่าบริเวณที่ทาเกิดผื่นแดง ตุ่มนูน คัน แห้งสากหรือไม่ ถ้ามีอาการแสดงว่าแพ้ครีมดังกล่าว จึงไม่ควรนำมาใช้
  • ยึดหลักคงความชุ่นชื้นเป็นสำคัญ ด้วยการชโลมมอยส์เจอไรเซอร์บนใบหน้าทันทีหลังล้างหน้า และเช็ดให้หมาด ๆ และควรรักษาความชุ่มชื้นให้ผิวหนังตลอดเวลา แต่ไม่ให้มากจนทำให้ผิวมันเกินไป
  • ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่าน อย. หรือดูแล้วไม่ได้มาตรฐาน เพราะผลิตภัณฑ์เหล่านี้มักมีสารต้องห้ามผสมลงไปด้วย เช่น สารปรอท สเตียรอยด์ เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารที่ระคายเคืองต่อผิว น้ำหอม สารแต่งกลิ่น สี ส่วนผสมที่ไม่จำเป็นอื่น ๆ

 

อ้างอิง : 1. หนังสือ 100 วิธีภูมิแพ้แก้ง่าย 2. สสส. 3. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close