เทคโนโลยี AI และ IoT กับก้าวสำคัญในการพิชิตวิกฤตฝุ่น PM 2.5

เทคโนโลยี AI และ IoT

คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ในปัจจุบันเทคโนโลยีอันล้ำสมัยกำลังก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อสื่อสารที่ไร้พรมแดนมีทั้งภาพเสียงและสัมผัสครบ อย่าง 5G การทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ต่าง ๆ การค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ และที่หลายคนจับตามองเป็นอย่างยิ่งนั่นก็คือในเทคโนโลยีด้านสุขภาพ และการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับชีวิต และความสุขของพวกเราโดยตรงนั่นเอง

หากเรายังพอจำได้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยโดยเฉพาะในเขตเมืองสำคัญ ๆ ที่มีประชากร และมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง อย่างกรุงเทพมหานคร ต้องเผชิญกับปัญหาด้านมลภาวะในอากาศที่มาจากฝุ่นพิษขนาดเล็ก หรือที่เราติดปากว่าฝุ่นชนิดว่า PM2.5 (Particle Matter : PM ซึ่งหมายถึง ฝุ่นละออง) จนเป็นข่าวพาดหัวแทบทุกวัน จนเกิดกระแสการพูดถึง และตื่นตัวต่อภัยธรรมชาติในรูปแบบใหม่ที่เกิดจากฝีมือมนุษย์สร้างขึ้นมาเอง

ด้วยขนาดอนุภาคที่เล็กเพียง 1 ใน 25 ของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผม ฝุ่นพวกนี้จึงไม่สามารถตรวจจับได้ด้วยเครื่องมือทั่วไป รวมถึงระบบดักจับของร่างกายมนุษย์ เช่น ขนจมูก พวกมันจึงสามารถแทรกซึมเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ถุงลมปอด จนกระทั่งกระแสเลือดได้โดยตรง และสร้างความกังวลใจให้กับแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจเป็นอันมาก

ฝุ่น PM 2.5 มีผลเสียต่อร่างกายอย่างไรบ้าง?

นอกจากจะก่อให้เกิดอาการผิดปกติต่อร่างกายจนกระทบกระเทือนต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ภูมิแพ้ ระคายเคืองตา แสบจมูก เจ็บคอ ผื่นคันบริเวณผิวหนัง ยังก่อให้เกิด โรคในระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคปอด หอบหืด ถุงลมโป่งพอง ฝุ่นพิษจากภาคอุตสาหกรรม และการใช้ชีวิตของมนุษย์ ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่น ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็ง โรคระบบหัวใจ และหลอดเลือดได้ตามสถิติที่มีการเก็บบันทึกมา

เทคโนโลยี AI และ IoT

เทคโนโลยี AI และ IoT ตัวแปรสำคัญในการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5

แม้ว่าเราจะไม่สามารถกำจัดฝุ่นเหล่านี้ให้หมดไปได้ทั้งหมด เพราะการดำรงชีวิตของมนุษย์ยังก่อให้เกิดมลพิษเหล่านี้อยู่ตลอดเวลา แต่ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างการใช้ AI หรือ Artificial Intelligence ปัญญาประดิษฐ์ ก็สามารถช่วยให้มนุษย์จัดการ และรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ได้ดี และครอบคลุมยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในด้านการพยากรณ์ค่ามลพิษในอากาศ ผ่าน Application ต่าง ๆ เพื่อเตือนภัยให้รู้ได้ทันล่วงหน้าว่าฝุ่นจะมาเมื่อไหร่ และระดับความเป็นพิษมากน้อยเพียงใด

โดยปัจจุบันเราสามารถดูได้ละเอียดเป็นบริเวณพื้นที่เจาะจง และรายงานผลแบบเรียวไทม์ เพื่อที่จะให้เราทุกคนสามารถวางแผนการใช้ชีวิตให้สอดคล้องไปกับสภาพสิ่งแวดล้อมภายนอก ไม่ต่างไปจากการดูพยากรณ์อากาศว่าวันใดจะมีฝน ก็ควรงดออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้งนั้นเอง

โดย หลักการทำงานของแอปฯ เหล่านี้ อาศัยความสามารถของเทคโนโลยี AI ผสานกับเทคโนโลยี Machine Learning และอุปกรณ์ IoT (Internet of things) ที่จะคอยวิเคราะห์ข้อมูล อุณหภูมิ, ความชื้นสัมพัทธ์, ปริมาณน้ำฝน และปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 จากข้อมูลของหลาย ๆ หน่วยงาน เช่น กรมควบคุมมลพิษ กรมอุตุนิยมวิทยา และอื่น ๆ มาทำการวิเคราะห์ และ นำเสนอข้อมูลออกมาให้เราได้รู้แบบเรียลไทม์ ผ่านแอป ที่มีให้เลือกหลายค่ายตามความเชื่อถือของคุณ ไม่ว่าจะเป็น

  1. AirVisual
  2. Air4Thai
  3. Air Quality: Real time AQI
  4. Air Matter

อ่านเพิ่มเติม -> 4 แอปพลิเคชัน วัดค่าฝุ่นละออง โหลดด่วน! รู้ทันมลพิษ PM2.5

โดยจะแสดงผลตามสัญลักษณ์สี เช่น

  • สีเขียว จะบ่งบอกว่าสถานที่ที่เราอยู่ มีระดับค่าฝุ่นมลพิษเล็กน้อย สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ
  • สีเหลือง ระดับค่าฝุ่นที่ปานกลาง สามารถทำกิจกรรมกลางแจ้งทั่วไปได้ แต่ควรใส่หน้ากากป้องกัน
  • สีแดง เตือนให้ทราบว่าระดับค่าฝุ่นมีมากผิดปกติ ควรงดการทำกิจกรรมนอกบ้าน และหากมีความจำเป็นต้องอยู่กลางแจ้งควรใส่หน้ากากป้องกันตลอดเวลา
  • สีม่วง ระดับรุนแรงสุด หมายถึงค่าฝุ่นตอนนี้อยู่ในภาวะวิกฤติ ควรใส่หน้ากากกันฝุ่นแบบพิเศษ และงดทำกิจกรรมนอกบ้านอย่างเด็ดขาด

นอกจากการใช้ AI ในการประมวลข้อมูลจากแหล่งข้อมูลดิบต่าง ๆ แล้ว ในต่างประเทศยังได้คิดค้นที่จะพัฒนาระบบ AI เข้ามาให้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 อย่างจริงจัง ตัวอย่างเช่น ในประเทศจีน ได้คิดค้นวิธีการแก้ปัญหาโดยการใช้โดรนที่พัฒนาโดยสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติที่ประกอบไปด้วยกล้องวิดีโอ และเซนเซอร์ที่สามารถจับ และทำการวัดปริมาณฝุ่น และก๊าซที่เกินมาตรฐาน ขึ้นไปบินเพื่อตรวจวัดปริมาณค่าฝุ่นในบริเวณพื้นที่จริง และส่งสัญญาณข้อมูลมายังระบบ AI เพื่อออกคำพยากรณ์ต่อไป ซึ่งแน่นอนว่าคำตอบที่ได้จะใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด

หรือตัวอย่างในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นชาติมหาอำนาจทางเทคโนโลยีแห่งเอเชียอีกแห่ง ก็ได้คิดต่อยอดให้มีการทำข้อมูล คำพยากรณ์เรื่องคุณภาพของอากาศเหล่านี้ ไปเชื่อมโยงกับระบบอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้ว เช่น ระบบฟอกอากาศ และโรงฟอกอากาศขนาดใหญ่ที่มีการติดตั้งกระจายไปอยู่ทั่วพื้นที่ที่มีความหน้าแน่นของประชากรสูง ให้ระบบดังกล่าวตอบสนองอัตโนมัติเมื่อระดับดัชนีคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI) สูงขึ้นหรือต่ำลง โดยไม่ต้องรอให้มนุษย์เป็นผู้ควบคุม

และแม้แต่บริษัทเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนำของโลกอย่าง Google ก็ยังได้ริเริ่มโครงการเพื่อสะท้อนภาพปัญหามลพิษในอากาศ โดยร่วมมือกับกองทุนการป้องกันสิ่งแวดล้อม และบริษัท Aclima ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตเซนเซอร์ตรวจวัดคุณภาพอากาศ เพื่อทำแผนที่คุณภาพอากาศ (air quality map) ขึ้นมา โดยติดตั้งเซนเซอร์เพื่อเก็บข้อมูลสภาพอากาศไปกับรถถ่ายภาพทำแผนที่เส้นทางถนน “Google Street View Car”

โดยรถที่ถ่ายภาพ Street View ของ Google จะมีเซนเซอร์ในการวัดค่าสิ่งที่เป็นมลพิษต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2), ไนตริกออกไซด์ (NO), โอโซน (O3), ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO), ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และฝุ่นเขม่าดำที่อยู่ในอากาศ (black carbon particles : BC) ไปพร้อมกันในระหว่างที่รถเคลื่อนไปตามท้องถนนต่าง ๆ โดยจะเก็บตัวอย่างในทุก ๆ ระยะทางที่กำหนด เช่น ในทุก ๆ 30 เมตร หรือแต่ละช่วงตึก แล้วนำข้อมูลที่ได้มาแสดงลงในแผนที่เพื่อแสดงดูว่าแต่ละสถานที่ในเมืองมีสภาพอากาศเป็นอย่างไร

จากผลการศึกษาดังกล่าว ที่มีเทคโนโลยี AI ยังช่วยสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมผ่านมลพิษในอากาศ โดยพบว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีความยากจนสูง มีแนวโน้มที่จะมีชีวิตอยู่ร่วมกับมลพิษทางอากาศ และผลกระทบด้านสุขภาพเชิง ซึ่งทางผู้ทำวิจัยยังหวังว่า ข้อมูลเหล่านี้ จะนำมาซึ่งการกำหนดรูปแบบ นโยบาย และวิธีการแก้ปัญหาที่เท่าเทียมกัน

เทคโนโลยี AI กับการพยากรณ์ปัญหาสุขภาพของคนในพื้นที่

ข้อมูลที่รวบรวมโดย Google Street View และ Aclima ผ่านการประมวลผลของระบบ AI ยังสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างคุณภาพอากาศระดับท้องถนน ที่ส่งผลต่ออัตราการเกิดโรคหัวใจ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยพบว่าผู้สูงอายุที่สัมผัสกับมลพิษทางอากาศในบริเวณที่มีการจราจรหน้าแน่น มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยความเสี่ยงนั้น จะแตกต่างกันไปตามบริเวณพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งแน่นอนว่า หากใครคิดที่จะซื้อบ้านอยู่อาศัย อาจนำเอาข้อมูลเหล่านี้มาใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกที่อยู่ในอนาคตก็เป็นได้

อนาคตอันสดใสของสภาพอากาศรอบตัวอยู่ที่ตัวคุณ

ในอนาคต การใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเหล่านี้ในการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ ยังจะคงดำเนินต่อไป โดยนักวิจัยคาดหวังว่าจะสามารถระบุถึงตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดปริมาณความเปลี่ยนแปลงของค่าฝุ่นที่มีนัยสำคัญได้แบบเรียวไทม์ อันจะนำมาซึ่งความตระหนักรู้ให้กับผู้ใช้ปลายทางว่าพฤติกรรมที่พวกเราคุ้นเคย เช่น การสตาร์เครื่องยนต์รถทิ้งไว้นาน ๆ การเผาเศษขยะเหลือใช้ และอื่น ๆ ส่งผลเสียต่ออากาศที่เราหายใจอยู่มากเพียงใด รวมถึงเพื่อเป็นข้อมูลสำคัญให้กับ ผู้กำหนดนโยบาย และนักวิทยาศาสตร์ ได้เข้าใจสาเหตุที่เกี่ยวข้องของ PM2.5 ได้ดีขึ้น และสามารถวางแผนกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดยิ่งกว่าเดิมในอนาคต

แม้ว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก อาจจะไม่สามารถย้อนกลับไปสู่ในจุดเดิมได้ แต่เราทุกคนสามารถช่วยกันดูแล และหยุดยั้งปัญหาไม่ได้ลุกลาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหามลพิษในชั้นบรรยากาศที่ยังไม่มีการเก็บข้อมูลที่ดี และมากพอที่จะบอกได้ว่าความรุนแรงของปัญหาอยู่ในระดับใด และการก้าวเข้ามามีบทบาทของ AI เทคโนโลยี AI และ IoT ในวันนี้ถือได้ว่าเป็นอีกก้าวสำคัญในการแก้ปัญหามลพิษ เพื่อพิชิตวิกฤตฝุ่น PM 2.5 ให้ได้จบสิ้นภายในชั่วอายุขัยของพวกเรา


ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close