GEDไว้ไม่คัน ผดร้อน ผื่นตัวร้ายคนเจ้าเนื้อดูแลอย่างไร| GED

3 ก.ค. 24

 

ผื่นผิวหนังอักเสบ

หรือเรียกว่า eczema เป็นโรคผิวหนัง อักเสบที่พบบ่อยเชื่อว่าพบถึง 10% ถึง 20% ทั้งผู้ใหญ่และเด็กอาการมักปรากฏตั้งแต่ในวัยเด็กและ อาจเป็นต่อเนื่องไปจนถึงวัยรุ่นถึงวัยผู้ใหญ่ และยังพบโรคภูมิแพ้อื่นๆ ร่วมด้วยเช่น โรคภูมิแพ้จมูกอักเสบ โรคหอบ แพ้อากาศ แพ้ขนแมว หรือโรคแพ้อาหาร อีกด้วย

โรคผิวหนังอักเสบ

นี้ มักก่อให้เกิดอาการคันเด่น ผิวหนังจะแห้งตกสะเก็ด หากมีการเห่ออักเสบอาจมีน้ำเหลืองมีแผลเปิดด้านบน  เมื่อผื่นหายแล้วอาการเป็นๆ หายๆ ของตัวโรคอาจทำให้ผิวหนังเปลี่ยนสีหมองคล้ำขึ้น นอกจากนั้นยังเกิดลักษณะคล้ายสิวอุดตันหรือขนคุดโดยมักเกิดบริเวณท่อนแขนส่วนบนด้านนอก การดำเนินโรคมักเป็นเรื้อรังมีอาการขึ้นลง เมื่อสัมผัสสิ่งกระตุ้น โดยนอกจากสารที่เราแพ้แล้ว สิ่งกระตุ้นผื่นให้กำเริบที่พบบ่อยอื่นๆ ได้แก่ อากาศร้อน, ฝุ่นละออง, สารเคมี หรือ เหงื่อหลังการออกกำลังกาย เป็นต้น ตำแหน่งของรอยโรคจะจำเพาะตามวัยของผู้ป่วย ในวัยเด็กมักขึ้นที่บริเวณแก้ม ,ใบหน้าและซอกคอ ในวัยเด็กโตและผู้ใหญ่ มักพบผื่นคัน ที่ข้อพับแขนขาข้อศอก หัวเข่า หรือก้น

สาเหตุของโรคผิวหนังอักเสบ

มักสัมพันธ์กับปัจจัยทางพันธุกรรม เช่น การมีผิวแห้งไวมากกว่าคนปกติ  ผิวหนังที่สูญเสียน้ำได้ง่าย รวมไปถึงปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ได้แก่ แพ้สารก่อภูมิแพ้อาหารในเด็ก หรือการแพ้สารก่อภูมิแพ้ในธรรมชาติ ได้แก่ ไรฝุ่น แมลงสาบ ขนแมว ละอองเกสรหญ้า หรือเชื้อรา ในเด็กโตและผู้ใหญ่ รวมไปถึงปัจจัยจากการติดเชื้อผ่านทางผิวหนังที่เกิดจากการเกา การแตกร่องของผิวหนังที่อักเสบ โดยเชื้อโรคที่สำคัญได้แก่เชื้อ เชื้อแบคทีเรียสเตปไฟโรคอคคัส เชื้อรา หรือ เชื้อไวรัสหูด เป็นต้น ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่ทำให้ผิวหนังยิ่งเกิดการอักเสบได้

ดังนั้นในการรักษาโรคผิวหนังชนิดนี้ความสำคัญต้องหยุด วงจรที่เรียกว่า itch-scratch cycle ดังรูปที่ 1  เพื่อทำให้ผิวหนังสงบไม่อักเสบ สามารถฟื้นฟูกับเป็นปกติได้

การตรวจพิเศษเพิ่มเติม

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการผื่นรุนแรง กำเริบบ่อย หรือสัมพันธ์กับสิ่งกระตุ้นบางชนิด เช่น สารก่อภูมิแพ้อาหารหรือในอากาศ พิจารณาทำการทดสอบภูมิแพ้ โดยการทดสอบทางผิวหนัง หรือการเจาะเลือดเพื่อหาแอนติบอดีชนิดอีต่อสารก่อภูมิแพ้ชนิดนั้นๆ สุดท้ายคือ การยืนยันการแพ้อาหารโดยการทดสอบการรับประทานอาหารที่แพ้เป็นขั้นตอน และสังเกตการเห่อกลับของผื่น

GEDไว้ไม่แพ้การรักษาผิวหนังอักเสบภูมิแพ้

1.สารให้ความชุ่มชื้นทางผิวหนัง

การให้สารชุ่มชื้นทางผิวหนังถือเป็นหัวใจสำคัญ ควรทาสารให้ความชุ่มชื้นผิวหนังทันทีหลังจาก หลังอาบน้ำไม่ควรอาบน้ำอุ่น หรือมีการสครัปขัดถูผิวหนังมากเกินไป หลังอาบน้ำให้ซับตัวหมาดหมาดและเติมสารให้ความชุ่มชื้นทันที  โดยสารให้ความชุ่มชื้นที่มีคุณสมบัติในการดื่มน้ำเข้าสู่ผิวได้แก่  humectant, สารให้ความชุ่มชื้นที่ป้องกันการระเหยของน้ำจากผิวหนัง ได้แก่ occlusive และสารที่ให้เความเรียบลื่นของผิวหนัง ได้แก่ emollient ควรทาสารให้ความชุ่มชื้นดังกล่าวอย่างน้อยสองครั้งต่อวันและสามารถเติมบ่อยๆ ระหว่างวัน

2.ยาทาลดการอักเสบสเตียรอยด์

ยาทาสเตียรอยด์ ถือเป็นยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาการกำเริบของผื่น แนะนำให้ทาสเตียรอยด์ที่มีฤทธิ์เหมาะสมต่อตำแหน่งของผื่น เช่น  ฤทธิ์อ่อนบริเวณใบหน้า  ฤทธิ์ปานกลางบริเวณลำตัว ฤทธิ์เข้มข้นบริเวณส้นเท้า เป็นต้น เมื่อควบคุมอาการได้ควรลดการใช้ยาลงหรือหยุดยา  ในปัจจุบันยังมีคำแนะนำให้ใช้ยาสเตียรอยด์ทาบริเวณรอยโรค สัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพื่อป้องกันการกำเริบของโรคหรือเรียกว่า proactive therapy

3.ยาทาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์

ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ ยาที่ไปยับยั้งโปรตีน calcineurin ใช้เป็น second -line treatment ได้ในการรักษา รวมถึงใช้ในการป้องกันการกำเริบกลับของโรคหรือ proactive therapy สามารถใช้ในเด็กตั้งแต่อายุ 2 ขวบขึ้นไป ยาที่ไปยับยั้งเอนไซม์ phosphodiesterase 4 ได้แก่ crisaborole สามารถนำมาใช้ในการรักษาผื่นภูมิแพ้ที่มีความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง ใช้ได้ในเด็กอายุตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไป

4.ยาลดอาการแพ้คัน  (antihistamine)

มีประโยชน์มากแนะนำใช้ในกรณีที่มีอาการคันมาก เพื่อยับยั้งการเกาและติดเชื้อซ้ำบนผิวหนัง หรือ itch-scratch cycle ปัจจุบันแนะนำให้ใช้เป็นยาแก้แพ้รุ่นใหม่ที่ไม่เข้าสู่ระบบประสาท และไม่ทำให้เกิดผิวแห้งเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ loratadine, desloratadine, fexofenadine เป็นต้น

5.ยาปฏิชีวนะ ในกรณีที่มีการติดเชื้อร่วมด้วย

6.ยา biologic และ small molecule

เป็นกลุ่มยารุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถยับยั้งที่กลไกของภาวะภูมิคุ้มกันภูมิแพ้ตั้งแต่ตั้งต้น พิจารณาใช้แก้ภูมิแพ้ผิวหนังที่มีอาการรุนแรงไม่ตอบสนองต่อยาอื่นๆ

7.การรักษาด้วยแสงแดดเทียมหรือ phototherapy

สามารถลดและเปลี่ยนภูมิคุ้มกัน ลดการอักเสบบนผิวหนังได้แนะนำให้ใช้ในเด็กอายุมากกว่า 12 ปี

8.การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดต่อสิ่งที่กระตุ้นให้แพ้ (immunotherapy)

มีประโยชน์ในผู้ป่วยที่มีปฏิกิริยาการแพ้ชัดเจนมีการตรวจเลือดหรือทดสอบผิวหนังพบการแพ้สูง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภูมิแพ้ระบบอื่น เช่น จมูก ตา หรือทางเดินหายใจร่วมด้วย

พบว่าการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด จะสามารถลดทั้งปริมาณผื่นและความรุนแรงของผื่น และการใช้ยาสเตียรอยด์ลงได้

9.การดูแลปฏิบัติและป้องกันตนเอง

ถือเป็นส่วนสำคัญมากที่สุดส่วนหนึ่ง โดยไม่ควรเพิ่มความเครียดการอดนอน ที่มักจะทำให้ผื่นกำเริบขึ้น หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอทำจิตใจให้แจ่ม รับประทานอาหารที่มีประโยชน์มีสารต้านอนุมูลอิสระที่เพียงพอ หากมีอาการผื่น ภูมิแพ้ กำเริบไม่ควรเกาจนเกิดแผลถลอกขึ้นเอง แต่ควรมีการรักษาผิวหนังให้เหมาะสมถูกวิธี

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้ที่จำเป็น

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

Save