“โรคเครียดลงกระเพาะ” ภัยใกล้ตัวของมนุษย์เงินเดือน

โรคเครียดลงกระเพาะ

ผ่อนคลายบ้าง… เพราะความเครียดสะสมคือจุดเริ่มต้นของโรคร้ายหลายโรคเลยทีเดียว และหนึ่งในโรคยอดนิยมที่เกิดจากความเครียดสะสมเป็นประจำทุกวันของเหล่ามนุษย์เงินเดือน หรือชาวออฟฟิศนั้น ก็คือ “โรคเครียดลงกระเพาะ” นั่นเอง โรคนี้เป็นตัวจุดชนวนให้เกิดอาการ ปวดท้อง อึดอัดท้อง ระบบการถ่ายอุจจาระเปลี่ยนไป… มาทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้น ว่าจะมีอาการ วิธีดูแลรักษา อย่างไรบ้าง…

กินมื้อดึก

ทำความรู้จักกับ โรคเครียดลงกระเพาะ

โรคเครียดลงกระเพาะ (Nervous stomach) โรคยอดนิยมของคนวัยทำงาน ซึ่งโรคเครียดลงกระเพาะ แท้จริงแล้วก็คือโรคกระเพาะที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการกินอาหารไม่ตรงเวลา (ไม่มีแผลที่กระเพาะอาหาร) แต่เป็นการสั่งการของสมอง ยิ่งเครียดก็ยิ่งกระตุ้นให้กระเพาะเกิดการบิดตัว และหลั่งน้ำย่อยออกมามากกว่าปกติ ทำให้เมือกในกระเพาะอาหารเสียสมดุล และเกิดการระคายเคืองในช่องท้องได้

โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงอายุ กลุ่มเสี่ยงมากที่สุดคือ 18-35 ปี เกิดจากกลุ่มช่วงอายุดังกล่าว จะมีการเปลี่ยนแปลงหลายๆอย่าง เช่น เข้ามหาวิทยาลัย เข้าทำงาน แต่งงาน หรือมีลูก จึงเกิดความเครียด และกระตุ้นให้เกิดอาการลำไส้แปรปรวน และมักจะพบในผู้หญิงมากกว่าที่จะมีอารมณ์แปรปรวนได้มากเสี่ยงต่อโรค

โรคเครียดลงกระเพาะ เกิดจากสาเหตุใด?

“ความเครียดสะสม” คือสาเหตุหลักของโรคเครียดลงกระเพาะ เพราะเมื่อเราเครียดมาก ๆ ฮอร์โมนในร่างกายจะเกิดความแปรปรวน ทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก และกระเพาะอาหารจะหลั่งน้ำย่อยออกมามากกว่าที่ควรจะเป็น ส่งผลทำให้ระบบการทำงานย่อยอาหารแย่ลงได้

ผลกระทบอื่น ๆ ที่อาจเกิดตามมาของผู้ป่วยเครียดลงกระเพาะ ได้แก่

  • ท้องอืด หรือภาวะอาหารไม่ย่อย เกิดจากการหลั่งกรดที่จำเป็นต่อการย่อยน้อยลง
  • แบคทีเรียชนิดไม่ดีเพิ่มขึ้น อาจส่งผลให้ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดี
  • ทำให้เสี่ยงติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารได้ง่าย เพราะระบบภูมิคุ้มกันทำงานน้อยลง
  • ลำไส้ใหญ่ตอบสนองต่อความเครียดที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดอาการท้องผูกหรือท้องเสีย
  • ความเครียดยังกระตุ้นให้อาการของโรคระบบทางเดินอาหารแย่ลงได้ เช่น ลำไส้อักเสบ ลำไส้แปรปรวน เป็นต้น

โรคเครียดลงกระเพาะ มีอาการอะไรบ้าง?

คลื่นไส้อาเจียน เสียดหน้าอกหลังทานอาหาร

• ปวดบริเวณลิ้นปี่ มักปวดเวลาท้องว่าง อาการปวดจะลดลงหรือหายไป เมื่อได้ทานอาหาร

• มีอาการปวดหลัง หลังทานอาหารไปแล้ว 2-3 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลาที่กระเพาะอาหารเริ่มย่อยอาหาร

• รู้สึกแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ รู้สึกว่ามีลมในกระเพาะมาก เรอเหม็นเปรี้ยว ซึ่งมีสาเหตุมาจากกระบวนการย่อยอาหารในกระเพาะแปรปรวน จากการรีบทานอาหาร กลืนอาหารเร็วเกินไป หรือดื่มน้ำมากขณะทานอาหาร

• ปวดท้อง หรือ มวนท้อง โดยอาการจะทุเลาลง หรือหายไปเมื่อถ่ายอุจจาระ

• ถ่ายอุจจาระมากกว่าวันละ 3 ครั้ง หรือน้อยกว่า 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์

• ต้องเบ่งถ่าย กลั้นไม่อยู่ หรือรู้สึกว่าถ่ายไม่สุด

หากมีอาการปวดท้องรุนแรงจนถึงขั้นหายใจแรงก็ปวดท้อง ถ่ายท้อง อาเจียน หรืออุจาระเป็นเลือด และมีสีดำตลอดเวลา ถือว่าอาการอยู่ในขั้นอันตราย ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยด่วน เพราะหากช้าเกินไป อาจทำให้เกิดอาการกระเพาะอาหารทะลุ หรือเลือดออกทางเดินอาหารได้

การรักษาโรคเครียดลงกระเพาะ

โรคเครียดลงกระเพาะสามารถรักษาให้หายขาดได้ วิธีการก็ไม่ได้มีอะไรที่ต้องเสียเงินมากมาย อยู่ที่ใจเราจะปรับอารมณ์ไม่ให้เครียดจนเกินไปได้ไหมเป็นสำคัญที่สุด เช่น หากิจกรรมผ่อนคลาย หัวเราะบ้าง คุยเล่นกับเพื่อนบ้าง ดูรายการตลกบ้าง เป็นต้น ส่วนวิธีอื่น ๆ ที่จะช่วยให้หายจากโรคนี้ ได้แก่

• ทานอาหารให้ตรงเวลาและครบ 3 มื้อ จะช่วยให้กระเพาะอาหารเคยชินกับการย่อย และปล่อยน้ำย่อยออกมาในปริมาณที่พอดี

• เลิกสูบบุหรี่ และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งหมด รวมถึง ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง และน้ำอัดลม เนื่องจากสิ่งเหล่านี้เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดกระเพาะอาหารอักเสบ

• หยุดกินยาแอสไพริน ยาแก้ปวด และยาแก้อักเสบ ที่มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ เพราะยากลุ่มนี้มีฤทธิ์กระตุ้นให้กระเพาะอาหารเกิดการอักเสบมากขึ้น ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ยาบางชนิด ให้สอบถามแพทย์ก่อนใช้ยา

• ออกกำลังกาย ทุกครั้งที่ออกกำลังกาย ร่างกายจะหลั่งสารเอนโดฟินออกมา ทำให้รู้สึกสบายใจ และช่วยลดความวิตกกังวลได้

• ระบายความเครียดออกมาบ้าง การเล่าความเครียดให้ผู้อื่นฟัง หรือจดบันทึกส่วนตัวสามารถช่วยระบายความเครียดได้เป็นอย่างดี

• หากมีความเครียดที่เกิดจากการหมกมุ่นอยู่กับเหตุการณ์ในอดีต หรือเอาแต่คิดถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ให้หมั่นดึงจิตใจให้กลับมาอยู่กับปัจจุบัน มีสติ ยอมรับความจริง และคิดหาทางแก้ปัญหาอย่างรอบคอบ


อ้างอิง : 1. vichaiyut 2. goodlifeupdate

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : gedgoodlife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : gedgoodlife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close