“โรคไอกรน” โรคที่พ่อแม่ต้องรู้ อันตรายถึงชีวิตลูกน้อย!

โรคไอกรน

โรคไอกรน (Pertussis , whooping cough) ชื่อโรคที่ฟังดูเหมือนอาการนอนหลับธรรมดานี้ แท้จริงแล้วเป็นโรคที่มีความเสี่ยงและอันตรายเป็นที่สุด โดยเฉพาะในเด็กเล็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 7 ปี ซึ่งหากรักษาไม่ทันหรือเกิดโรคแทรกซ้อน อาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ทีเดียว เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม วันนี้เราจึงได้นำลักษณะอาการและการป้องกันโรคไอกรน เบื้องต้นมาฝากกัน

ยาละลายเสมหะ

ไอกรน คือโรคอะไร?

ไอกรน คือ โรคที่ผู้ป่วยมีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เยื้อบุทางเดินหายใจอักเสบ และเกิดอาการไอ สามารถติดต่อได้ทาง การหายใจ น้ำมูก และน้ำลาย ลักษณะของโรคนั้นแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
ระยะน้ำมูกไหล อาการแรกเริ่มคล้ายกับโรคหวัด คือ มีน้ำมูกไหล จาม เบื่ออาหาร อาจมีไข้ต่ำ ๆ ร่วมด้วย ระยะนี้จะกินเวลา 10-14 วัน

ระยะไอติดต่อกันเป็นพัก ๆ เป็นระยะที่ต่อเนื่องจากน้ำมูกไหล คือ มีการไอถี่ ๆ ประมาณ 5-15 ครั้ง ต่อเนื่องกันเป็นชุด จนผู้ป่วยหายใจเข้าไม่ทัน จึงตามมาด้วยการหายใจเข้าอย่างแรงจนเกิดเป็นเสียงดัง “วี๊ด” ซึ่งหากเกิดในเด็กเล็กอาจหายใจไม่ทันจนเกิดอาการหน้าเขียวได้ ในระยะนี้กินเวลาประมาณ 10-14 วัน

ระยะฟื้นตัว ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น ไอน้อยลง และเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติ หากไม่เกิดโรคแทรกซ้อน หรืออาการร้ายแรง เช่น การหายใจไม่ออกในทารก โรคปอดบวม โรคถุงลมโป่งพอง อาการทางสมอง และเลือดออกในสมอง เป็นต้น

1299-3

การป้องกันเบื้องต้น

1. ผู้ปกครองควรพาบุตรหลานไปฉีด “วัคซีนป้องกันไอกรน” ให้ครบตามที่แพทย์กำหนด เพราะ การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การฉีดวัคซีนป้องกันไอกรน
2. เมื่อไอ หรือจาม ให้สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีความเสี่ยง
3. ดูและสุขภาพของตนเอง และคนในครอบครัวให้สมบูรณ์แข็งแรง

“โรคไอกรน” สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย นอกจากจะพาลูกน้อยไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคแล้ว คุณพ่อคุณแม่เองก็อย่าลืมดูแลสุขภาพของตัวเองด้วยนะ และหากมีอาการไม่น่าไว้ใจ ให้ รีบไปพบแพทย์จะเป็นการดีที่สุด


ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

Subscription

  • This field is for validation purposes and should be left unchanged.
Ask the Expert Close